Thursday, November 1, 2012

งานลากพระระโนด

 งานลากพระระโนด
เป็นประเพณีเนื่องในพุทธศาสนา กระทำกันหลังวันมหาปวารณาหรือวันออกพรรษา ๑ วัน คือตรงกับวัน
แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่วางอยู่เหนือเรือ รถ หรือล้อเลื่อนที่ชาวบ้านเรียกว่า "พนมพระ" แล้วแห่แหนชักลากไปตามถนนหนทาง หรือในลำน้ำ

 งานลากพระระโนด
 งานลากพระระโนด
 งานลากพระระโนด
 งานลากพระระโนด
งานลากพระระโนด
 งานลากพระระโนด
 งานลากพระระโนด
 งานลากพระระโนด

งานลากพระระโนด


แล้วแต่สภาพภูมิประเทศจะเหมาะสม ซึ่งชาวใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมาหลายจังหวัดจะมีประเพณีนี้  ประเพณีลากพระของชาวใต้มีมาแต่โบราณและก่อให้เกิดวัฒนธรรมอื่น ๆ สืบเนื่องหลายอย่าง เช่น ประเพณีการแข่งขันเรือพาย การประชันโพนหรือแข่งโพน กีฬาซัดต้ม การทำต้มย่าง การเล่นเพลงเรือ เป็นต้น นอกจากนั้นประเพณีชักพระยังก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันทำคุณงามความดี ก่อให้เกิดความสามัคคีธรรมของหมู่คณะนำความสุขสงบมาให้สังคม

http://download.clib.psu.ac.th/datawebclib/exhonline/larkphra/images/p1.jpg
ขบวนแห่พระบกอันยาวเหยียดที่ตลาดบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานี มีประชาชนมาร่วมประเพณี อย่างมากมาย




 ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการวั่ฒนธรรมแห่งชาติ.2537,30



             ขบวนแแห่เรือพระบกที่จังหวัดสงขลา
 http://download.clib.psu.ac.th/datawebclib/exhonline/larkphra/images/pra7_resize.jpg




ประเพณีชักพระ(ลากพระ) สงขลา

ประเพณีชักพระ(ลากพระ)

http://student.swu.ac.th/hm471010485/images/%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%994.gif
                ประเพณีชักพระเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จมายังโลกมนุษย์  พุทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธ เจ้าขึ้นประทับบน บุษบกแล้วแห่ไปรอบเมือง

                                ประวัติความเป็นมา

                                ประเพณีชักพระเป็นประเพณีทพราหมณ์ศาสนิกชนและพุทธศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมา  สันนิษฐานว่าประเพณีนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดีย ที่นิยมเอา เทวรูปออกแห่ในโอกาสต่าง ๆ  ต่อมาพุทธศาสนิกชนได้นำเอาคติความเชื่อดังกล่าวมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา  ประเพณีชักพระเล่ากันเป็นเชิงพุทธตำนาน ว่า หลังจากพระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหารย์ปราบเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถี แล้วได้เสร็จไปจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา ซึ่งขณะนั้นทรงจุติเป็นมหามายาเทพ สถิตอยู่ ณ ดุสิตเทพพิภพตลอดพรรษา พระพุทธองค์ทรงประกาศพระคุณของมารดาแก่เทวสมาคมและแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา 7 คัมภีร์ จนพระมหามายาเทพและเทพยดา ในเทวสมาคมบรรลุโสดาบันหมด ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันสุดท้ายของพรรษา พระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมนุษยโลกทางบันได ทิพย์ที่พระอินทร์นิมิตถวาย บันไดนี้ทอดจากภูเขาสิเนนุราชที่ตั้งสวรรค์ ชั้นดุสิตมายังประตูนครสังกัสสะ ประกอบด้วยบันไดทอง บันไดเงินและบันไดแก้ว บันไดทองนั้นสำหรับเทพยดา มาส่งเสด็จอยู่เบื้องขวาของพระพุทธองค์ บันไดเงินสำหรับพรหมมาส่งเสด็จอยู่เบื้องซ้ายของพระพุทธองค์ และบันไดแก้วสำหรับพระพุทธองค์อยู่ตรงกลาง เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึง ประตูนครสังกัสสะตอนเช้าตรู่ของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนที่ทราบกำหนดการเสด็จกลับของพระพุทธองค์จากพระโมคคัลลานได้มารอรับเสด็จ อย่างเนืองแน่นพร้อมกับเตรียมภัตตาหารไปถวายด้วย แต่เนื่องจากพุทธศาสนิกชนที่มารอรับเสด็จมีเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถจะเข้าไปถวายภัตตาหารถึงพระพุทธองค์ได้ทั่วทุกคน จึงจำเป็นที่ต้องเอาภัตตาหารห่อใบไม้ส่งต่อ ๆ กันเข้าไปถวายส่วนคนที่อยู่ไกลออกไปมาก ๆ จะส่งต่อ ๆ กันก็ไม่ทันใจ จึงใช้วิธีห่อภัตตาหารด้วยใบไม้โยนไปบ้าง ปาบ้าง ข้าไปถวายเป็น ที่โกลาหล โดยถือว่าเป็นการถวายที่ตั้งใจด้วยความบริสุทธิ์ด้วยแรงอธิษฐานและอภินิหารแห่งพระพุทธองค์ ภัตตาหารเหล่านั้นไปตกในบาตรของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น เหตุนี้จึงเกิด ประเพณี "ห่อต้ม" "ห่อปัด" ขึ้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความปิติยินดีที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชน ได้อัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้ แล้วแห่แหนกันไปยังที่ประทับของพระพุทธองค์ ครั้นเลยพุทธกาลมาแล้วและเมื่อมีพระพุทธรูปขึ้น พุทธศาสนิกชนจึงนำเอาพระพุทธรูปยกแห่แหนสมมติแทนพระพุทธองค์
http://student.swu.ac.th/hm471010485/images/%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99.jpg
                                  เรือพระ

                                 เรือพระ คือ รถหรือล้อเลื่อนที่ประดับตกแต่งให้เป็นรูปเรือแล้ววางบุษบก ซึ่งภาษาพื้นเมืองของภาคใต้เรียกว่า "นม" หรือ "นมพระ" ยอดบุษบก เรียกว่า "ยอดนม" ใช้สำหรับอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานแล้วลากในวันออกพรรษา  ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระน้ำ" ส่วนลากพระทางบก เรียกว่า "เรือพระบก" สมัยก่อนจะทำเป็นรูปเรือ ให้คล้ายเรือจริง ๆ และต้องทำให้มีน้ำหนักน้อยที่สุด จึงใช้ไม้ไผ่สานมาตกแต่งส่วนที่เป็นแคมเรือและหัวท้ายเรือคงทำให้แน่นหนา ทางด้านหัวและท้ายทำงอนคล้ายหัวและท้ายเรือ   แล้วตกแต่งเป็นรูปพญานาค ใช้กระดาษสีเงินสีทองทำเป็นเกล็ดนาค กลางลำตัวพญานาคทำเป็นร้านสูงราว 1.50 เมตร เรียกว่า "ร้านม้า"  ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ บุษบก ซึ่งแต่ละที่จะมีเทคนิคการออกแบบบุษบก  มีการประดิษประดอยอย่างมาก หลังคาบุษบกนิยมทำเป็นรูปจตุรมุข  ตกแต่งด้วยหางหงส์ ช่อฟ้า ใบระกา และทุกครอบครัวต้องเตรียม "แทงต้ม" เตรียมหาในกระพ้อ และข้าวสารข้าวเหนียวเพื่อนำไปทำขนมต้ม "แขวนเรือพระ"

                                                       
                                  การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนบุษบก

                                 พระลาก คือ พระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยม คือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระและเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นบนบุษบก แล้วพระสงฆ์จะ เทศนา เรื่อง การเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า  ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ในตอนเช้ามืด ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า "ตักบาตรหน้าล้อ" แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน บนนมพระ


http://student.swu.ac.th/hm471010485/images/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B01.jpg
พระพุทธรูปยืน

                                ลากพระบก

                                ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น 2 สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย  ใช้โพน ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะในการลากพระ  คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสาน เสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง  ตัวอย่างบทร้องที่ใช้ลากพระ คือ  อี้สาระพา เฮโล เฮโล ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ

การลากพระบก
http://student.swu.ac.th/hm471010485/images/%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%992.jpg
                                ลากพระน้ำ
http://student.swu.ac.th/hm471010485/images/%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%993.jpg
                                การลากพระทางน้ำจะสนุกกว่าการลากพระทางบก เพราะสภาพการเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมอื่น ๆ เช่น สะดวกในการลากพระ  ง่ายแก่การรวมกลุ่มกันจัดเรือพาย แหล่งลากพระน้ำที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่ง คือ ที่อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร อำเภอพุนพินและ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช รองลงมาอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โดยเฉพาะอำเภอหลังสวนและที่บ้านแหลมโพธิ์ อำเภอหาดใหญ่ จะมีการเล่นเพลงเรือ ที่ขึ้นชื่อ ส่วนที่อำเภอปากพนังมีการเล่น "ซัดหลุม" (ซัดโคลน) กันสนุกสนานเพราะที่ปากพนังมีโคลนตมมาก การลากพระทางน้ำของเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แปลกกว่าที่อื่น คือ จะลากกัน 3 วัน ระหว่างแรม 8 ค่ำถึงแรม 10 ค่ำ เดือน 11 มีการปาสาหร่ายโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาว มีการเล่นเพลงเรือ และที่แปลกพิเศษ คือ มีการทอดผ้าป่าสามัคคีในวันเริ่มงาน

                           



แหล่งที่มา : http://www.prapayneethai.com/th/tradition/south/view.asp?id=0675#

Wednesday, October 17, 2012

ถนนเฉลิมพระเกียรติ์ ๘๐ พรรษา(ชาวบ้านเรียกว่าสะพานเอกชัย)



สะพานเอกชัย ที่อยู่ไม่ไกล เป็นสะพานเชื่อม ระหว่างฝั่ง อ.ควนขนุน จ.พัทลุงกับ อ.ระโนด จ.สงขลา มีความยาวหลายกิโลเมตร

 

ถนนเฉลิมพระเกียรติ์ ๘๐ พรรษา(ชาวบ้านเรียกว่าสะพานเอกชัย)เป็นต้นทางของสะพานที่จะข้ามไป
อ.ระโนด จ.สงขลา ซึ่งมองเห็นลิบๆ อยู่ทางทิศตะวันออก
 

ถนนยกระดับ-ข้ามทะเลสาบ

ถนนยกระดับ-ข้ามทะเลสาบจากทะเลน้อย อ.ควนขนุน พัทลุง-อ.ระโนด สงขลา
เพิ่งผ่านเมื่อวานครับ...สวยครับ
มีที่พักจอดให้ดูนกด้วย อากาศดีมาก


 






พายเรือจะเจ็บ ข้อมืออีกมั้ยเนี่ย เออ พอนึกถึงเรือและดอกบัว ก้ออยากจะเล่าใบพายและคนอาภัพฟังนะ วันก่อนพรานไพร ขับรถ จยย. จากหาดใหญ่ไปพัทลุง และไปทะเลน้อย มีดอกบัวสวยมากเลย เขาว่ากันว่าช่วงเดือนกุมภาจะสวยกว่านี้ เมื่อก่อนจะดูวิวในทะเลต้องนั่งเรือครับ แต่ตอนนี้ขับรถผ่านถนนยกระดับจากฝั่งทะเลด้านนึง ไปอีกด้านสบายมาเลย วันนั้นพรานไพรขับรถ จยย. ออกจากหาดใหญ่เช้า ทานข้าวที่ป่าบอน-พัทลุง-เขาปู่-ทะเลน้อย(นอนเล่นที่ศาลา สบายมากเลย)-ระโนต-สทิงพระ(ทานอาหารเย็นที่นี่)-สงขลา- แล้ววกมาหาดใหญ่อีกครั้ง ร่วม 300 กม.มั้ง สนุกครับ อย่าตาร้อนนะ อิอิ / และนี่คือต้นเหตุของการเจ็บข้อมือ

การเดินทาง
เริ่มต้นจากหาดใหญ่ออกสายลพบุรี-ราเมศร์ -> เที่ยวเกาะยอ
ตรงไปสะทิ้งพระ -> นมัสการพ่อทวดวัดพะโค๊ะ
เดินทางต่อไปอำเภอระโนด ให้เลี้ยวซ้ายตรงสี่แยก(สี่แยกหัวไทร?) เข้าตัวอำเภอ ตรงไปเรื่อยๆ จนสุดถนน (หน้าที่ทำการอำเภอ) เลี้ยวขวาข้ามสะพาน เดินทางต่อไปต.ตะเครียะ
................ระยะทางจากหาดใหญ่ถึงตรงนี้ประมาณ 100 กม......................
ตรงไปเรี่อยจะถึงทางยกระดับยาวประมาณ 1 กม. ชมวิวข้างทาง 5-6 โมงเย็นจะสวยกว่าเวลาอื่น
ลงจากทางยกระดับเข้าพัทลุง เจอทางแยก ซ้ายไปหาดลำปำ (น่าเที่ยว สถานที่สวย ร่มรื่น) ขวาไปทะเลน้อย (ควรไปทะเลน้อยก่อน ค่อยวกกลับไปหาดลำปำ จากหาดลำปำเข้าตัวจังหวัดพัทลุง กลับหาดใหญ่)
ถ้าจะเที่ยวให้จุใจใช้เวลา 1 วันเต็ม เที่ยวสบายๆเหมาะสำหรับครอบครัว ความปลอดภัยสูง
ใช้เวลาที่ทะเลน้อย 1-2 ชม. นั่งเรือดูนก ดอกบัว พันธุ์ไม้น้ำ แล้วค่อยมาพักหายเหนื่อยที่หาดลำปำ
........................ รวมระยะทางทั้งหมดประมาณ 250 กม...(พัทลุง-หาดใหญ่ 90 กม.)..............................

ทริบนี้คุ้ม ... รับประกัน
 


 ..กุ้งแม่น้ำ อบเกลือ ที่"ลำปำ"..หรอยจังฮู้

บอกบังสะหม้อนะ คนเท่เริ่นพี่พรานไม่มีปัญหา เรื่องแผลไม่มี เรื่องเอดส์ก้าป้องกันได้ แตแหลงแล้วเจ็บในหัวใจบังสะหม้อเหอ ของพวกนั้นหมันแหลงลม พี่พรานละกลัวจริงๆ กลัวแพ้น็อคคาอกน้อง ไม่อยากเป็นข่าวขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์เลย เลยได้แค่ซ้อนท้ายไป แล้วก้าซ้อนท้ายมา ฮือ ฮือ อยากร้องไห้ อิอิ

บอกบังสะหม้ออีกที วันนั้น ที่พี่พรานขับรถทางไกล ต้องการทดสอบรถ และคนขับว่าไหวหรือไม่ ปรากฏว่าผ่าน แต่คนซ้อนท้ายไม่ผ่าน มีอาการเมื่อยหลังและเจ็บเอว ต้องหยุดพักเกือบทุก 50 กม. คราวหน้าตั้งใจขับรถเครื่องคันนี้ละ ไปภูเก็ต แต่คงบินเดี่ยวมากกว่า เพราะตั้งใจว่าจะหยุดรถในระยะขับ 3-4 ชั่วโมง

บอกทุกท่านที่จะไปเที่ยวทะเลน้อยและผ่านถนนยกระดับ เส้นทางแถวอำเภอสทิงพระ จากสี่แยกม่วงงาม ถึง ตัวอำเภอกำลังมีการปรับปรุงถนนใหม่ เส้นทางไม่ค่อยดีนัก ต้องระมัดระวังในการขับขี่ พรานไพรเจ็บข้อมือแถวๆ นี้ เพราะใช้ความเร็วสูงเกินไป ให้ทุกท่านมีความสุขในการท่องเที่ยวนะครับ

ล่องเรือ แลนก ทะเลน้อยยย

อยากจะพาทู๊กกกคนน   ไปเที่ยวทะเลดอกบัวจังเลยค่ะ  หรือที่รู้จักกันว่า  "ทะเลน้อย"  นั่นเอง
มันอยุ่ไม่ใกล้ไม่ไกลนะค่ะ  ที่พัทลุงบ้านนู๋เอง
มันเป็นทะเลที่ไม่เหมือนใคร  แล้วก็ไม่มีใครเหมือนนด้วย  
และยังเป็นอุทยานนกน้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศสยามเลยก็ว่าได้
มันสวยมว๊ากกกก  สวยมากจิงๆนะค่ะ  ใครไม่เชื่อ  สงสัยต้องมาพิสูจน์แล้วแหละค่ะ
สถานที่ตั้งของมันอยู่ในอำเภอควนขนุน หุนหุนหุนหุน  (แฮะๆ  แฮกโก้  เยอะไปปปปอินู๋)  
ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไป  32  กม.เท่านั้นเอง  
ทะเลน้อย  อย่าเข้าใจว่ามันเป็นทะเลน้ำเค็มนะค่ะ  ปล่าวเลยค่ะมันเป็นทะเลน้ำจืด  
ที่เต็มไปด้วยดอกบัวชูหน้าสล่อนไปสุดลูกหูลูกตา  
เดี๋ยวจะหาว่าโม้  งั้นเราไปดูกันให้เห็นกับตาดีกว่าค่ะว่ามันสวดดยอดแค่ไหนนนนนน  
ไปเลยค่ะ
ตะวันตกดิน  น่าพาหนุ่มๆมานั่งชมวิวแฮะ  ฮิ้วๆ

แดดร่มๆก็มาล่องเรือชมนกเก็บบัว  
นี่เป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านแถบนี้
"ออกเรือหาปลา  ใช้ชีวิตแบบพอเพียง"
สะพานทอดยาวไปในทะเล  โอ๊ย..สุดแสนจะ romance
มาแล้วก้ไม่ต้องกลัวว่าไม่รู้จะไปพักที่ไหน เรามีบ้านพักกลางทะเลไว้สำหรับท่าน  Sealed
ไม่ต้องแปลกใจค่ะ  ที่เห็นดำๆนั่น  เค้าเรียกว่า  "ควายน้ำ"  ค่ะ
มีที่เดียวในประเทศสยามแห่งนี้  
บอกแล้วว่าพัทลุงเราไม่เหมือนใคร  แล้วก็ไม่มีใครเหมือนนน  
ควายน้ำ  เคยเห็นกันมั๊ยค่ะ  
ไม่ช่ายพัดลุงหาแลไม่ได้นะนิ
อันนี้เป็นสะพานชื่อว่า  "สะพานเอกชัยค่ะ"
ใครมาเลน้อยแล้วไม่ได้มาสะพานนี้  จะบอกว่าคุณพลาดแล้ว
สุดยอดจุดชมวิวมันอยุ่ีที่นี้
ที่เป็นเนินๆนั่นอย่าเข้าใจผิดนะค่ะ  ไม่ใช่เกาะ เกอะอะไรหรอกค่ะ  
มันคือที่อยู่ควายน้ำดีๆนี่เอง
อันนี้เป็นของฝากจากทะเลน้อยค่ะ   "เสื่อกระจูด" 
และที่ขาดไม่ได้  มาเลน้อยต้องซื้อนี่ติดไม้ติดมือกลับบ้านไปด้วยทุกที
เห็นแล้วอดใจม่ายไหว  น้ำลายสอกันเลยทีเดียว
มันเป็นปลาสลิดตากแห้ง  ที่อร่อยมว๊ากกกกกก  หอมกำลังดี
หาที่ใหนไม่ได้อีกแล้วมีที่นี่ที่เดียวค่ะที่  "Phatthalung city"
ส่วนอันนี่เรียกว่า  "ปลาเฉ๊งฉ๊าง"  ฮ่าๆๆๆ
ชื่อแอบพิลึกไปนิดแต่ความอร่อยไม่เป็นสองรองใครแน่นอน
สิ้นสุดดทริปนี้ต้องขอตัวไปหาอะไรกระแทกปากก่อนนะค่ะ  หิวมากกก
มาเที่ยวกันเยอะๆนะค่ะ  มาแลควายน้ำ กินหญ้า ขาชี้ฟ้า หน้ามุดน้ำ  แฮะๆๆ
ขี่รถเล่นบรรยากาศน่าชม ลมพัดเย็นๆ ที่สะพานเอกชัย
สุดท้ายแวะซื้อเคย ปลาดุกร้า ปลาแห้ง ที่หลาดเลน้อยนะ
ของเขาหรอยจริง ลองแลต๊ะมาแล้วไม่เสียเที่ยว
ไปก่อนนะค่ะ  ท้องร้องจ๊อกๆแล้วค่ะ  ราตรีสวัสค่ะ  จุ๊ฟๆ