Wednesday, June 19, 2013

unseen ภาคใต้ ล่องแก่งหนานท่าส้าน วันที่ 8-9 มิถุนายน 2556

สัมผัสธรรมชาติทรหดโหดสะใจ

ศาลจังหวัดสงขลาล่องแก่งหนานมดแดง เพิ่มความสามัคคี บรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนาน แต่หมดแรง
กิจกรรมล่องแก่งที่ท้าทายและการพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ ที่ตั้ง ม.3 ต.ลานข่อย อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง

 การพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติพร้อมกิจกรรมล่องแก่งสุดมัน

ล่องแก่งหนานท่าส้าน  ต.ลานข่อย อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 93110
ล่องแก่งหนานท่าส้าน 2 วัน 1 คืน 8-9 มิถุนายน 2556 ไป กัน กับทีม ศาลจังหวัดสงขลา ..
เส้นทาง .. ตื้นเต้น ตลอด ทั้ง เส้นทาง..
บรรยากาศดีมาก อาหารอร่อย มี คาราโอเกะ ให้ร้องเพลง ตอน ค่ำคืน  อัตราค่าบริการ บ้านพักหลังละ 500 บาทล่องแก่งคนละ 200 บาทอาหารมื้อละ 80 บาท ต่อคนฟรีอาหารเช้าhttps://www.facebook.com/LxngKaengHnaNthasanPhathlung







ล่องแก่งหนานมดแดง
ล่องแก่งหนานมดแดง ตั้งอยู่ที่ ม.1 ต.ลานข่อย อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง เป็นทุนเดิม

ทางธรรมชาติที่มีอยู่แล้วนำมาประยุกต์กับแนวคิดที่ตกผลึกจากการที่ได้ไปสัมผัส

กับแหล่งท่องเที่ยวล่องแก่งในพื้นที่อื่นๆ แล้วนำกลับมาปรับใช้กับหนานมดแดง

จนก่อเกิด "ล่องแก่งหนานมดแดง" ขึ้นในปัจจุบันhttps://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc1/p480x480/253043_471112502919218_1393305387_n.jpg

อุทยานนกน้ำทะเลน้อย Thale Noi Waterfowls Park

           เมืองไทยไม่ไปไม่รู้  อุทยานนกน้ำทะเลน้อย Thale Noi Waterfowls Park บ่ายวันอาทิตย์ ไม่รู้ไปไหนขับรถขับลงเรือเรื่อยเปื่อย ชมบัวชมนก ทะเลน้อย 1 ชม.ที่ดู ธรรมชาติช่างปลึกแต่ง แบ่งโชนบัวออกเป็นบัวชมพู บัวหลวง บัวนา กระจูด กระเฉด แม้ไม่ใช่เวลาบัวบานสะพรั่ง แต่นึกถึงความงามได้ไม่ยาก กับบัวที่เห็นสุดลูกหูลูกตา ประทับใจก็บัวกลีบขาว กลิ่นหอมไปทั้งทุ่ง คนนำทางเขาว่าเป็นบัวเผื่อน คนโบราณเอาไว้ทัดหู คราวหน้าครั้งที่3 จะมาแต่เช้ามืด อยากเห็นบัวบานสะพรั่งไปทั้งทะเล และบัวหอม อาจเป็นเวลาที่หอมยิ่งกว่า

อุทยานนกน้ำทะเลน้อย

อุทยานนกน้ำทะเลน้อย เป็นอุทยานนกน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4048 จากอำเภอเมืองพัทลุง-อำเภอควนขนุน ไปสุดที่ทะเลน้อย ระยะทาง 32 กม. ทางราดยางตลอดทั้งสาย เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีพื้นที่ประมาณ 281,250 ไร่ โดยมีพื้นน้ำประมาณ 17,500 ไร่ อยู่บริเวณเหนือสุดของทะเลสาบสงขลา

ทะเลน้อยเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีนกอยู่มากมายกว่า 150 ชนิด จำนวนไม่ต่ำกว่า 100,000 ตัวนกที่มีมากได้แก่ นกอีโก้ง นกพริก นกเป็ดแดง นกเป็ดคับแค นกเป็ดผี นกกาบบัว นกอีล้ำ นกอีลุ้ม นกกะปูด นกนางนวล นกนางแอ่น นกยางเฟีย นกอัญชัญ นกกระสาแดง นกกระสานวล อีกา เหยี่ยวต่างๆ ฤดูกาลที่เหมาะที่สุดสำหรับการไปดูนก คือช่วงเดือนธันวาคมถึงเมษายน

นอกจากนกน้ำต่างๆ แล้ว ในทะเลน้อยยังมีพันธุ์ไม้หลายชนิด เช่น ย่านลิเภา จูดหนู แขม กก สามเหลี่ยม กง ลาโพ จูด บัวหลวง บัวสายแดง บา จอกหูหนู ผักตบชวา และสาหร่ายต่างๆ นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือไปชมนกได้จากท่าเรือทะเลน้อยและใกล้ที่ทำการอุทยาน มีเรือนพัก ไว้บริการนักท่องเที่ยวด้วย โดยอยู่ในความดูแลของอุทยาน ติดต่อสอบถามรายละเอียด ได้ที่ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 579-7223, 579-5734 หรือ โทร. (074) 614865

นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางไปได้โดยทางเรือและทางรถไฟอีกด้วย โดยทางเรือนั้นสามารถเดินทางจากอำเภอต่างๆ ซึ่งอยู่ริมทะเลสาบ เช่น อำเภอระโนด อำเภอสะทิงพระ และอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา อำเภอปากพะยูน อำเภอควนขนุนและอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ส่วนทางรถไฟไปลงรถไฟที่สถานีปากคลอง จากนั้นต่อรถยนต์ไปทะเลน้อยอีก 8 กม. อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่าตั้งอยู่ที่บ้านในวัง ตำบลเขาปู่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 37 กม. โดยใช้เส้นทางหมายเลข 41 ไปอำเภอควนขนุน แล้วไปแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4164 สู่อำเภอศรีบรรพต เข้าไปประมาณ 17 กม. แล้วแยกซ้ายไปอีก 4 กม. ก็ถึงที่ทำการอุทยาน ซึ่งมีสภาพเป็นป่าร่มรื่น มีเนื้อที่ 433,750 ไร่ หรือ 694 ตรกม.


ทะเลน้อย เป็นทะเลสาบน้ำจืด


 
          ทะเลน้อย เป็นทะเลสาบน้ำจืด มีพื้นที่ประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในตำบลนางตุงและตำบล
ทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีคลองนางเรียมยาว 2 กิโลเมตรเชื่อมระหว่างทะเลน้อย กับทะเล
สาบสงขลา ทางฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชุมชนทะเลน้อยประมาณ 2,000 ครัวเรือน ทางฝั่งตะวันออก
ฝั่งเหนือ ฝั่งใต้ เป็นป่าพรุและพงหญ้า

ชุมชนทะเลน้อย
ชุมชนรอบๆ ทะเลน้อย วิถีชีวิตชาวประมงน้ำจืด

ทะเลน้อยมีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร เป็นแหล่งน้ำที่มีปลาน้ำจืดชุกชุมหลายชนิด เดิมชาวทะเลน้อย
ทำการประมงเป็นอาชีพหลัก ขายปลาสด ปลาเค็ม ปลาย่าง ปลาร้า ทำรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ดี เมื่อมีผู้คน
มากขึ้น จำนวนกุ้งปลาน้อยลง ชาวทะเลน้อยต้องเบนไปทำอาชีพอื่นแทน เช่น ค้าขาย ขับรถโดยสารประจำ
ทางมีรถยนต์วิ่งรับผู้โดยสารประจำวัน ระหว่างตัวเมืองพัทลุงกับทะเลน้อยจำนวน 70 คัน รถจักรยานยนต์
วิ่งรับส่งทั่วไปจำนวน 200 คัน อาชัพหลักของชาวทะเลน้อยในปัจจุบัน คือ ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากกระจูด
มีสื่อ หมวก พัด กระเป๋า รองเท้า แฟ้มเอกสาร ชาวทะเลน้อยสานเสื่อชำนาญมาก มีลวดลายสีสันงดงามสามารถ
ส่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปขายยังจังหวัดใกล้เคียง ทำรายได้ปีละประมาณ 60 ล้านบาท กระจูดที่ปลูกเองไม่พอ
ต้องซื้อมาจากตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทางฝั่งตะวันออก เหนือ ใต้ เป็นป่าดงดิบขึ้นหรือป่าพรุ มีไม้หลายชนิด เช่น ไม้เสม็ดขาว จิก หว้า
กระทุ่มหมู่ ทองหลาง ตีนเป็ด เตียว เนียน เมา เตยน้ำ ที่ใดมีไม้ขึ้นห่างๆ จะมีลาโพ หญ้าปล้อง กระจูดหนู
ขึ้นแทนเต็มไปหมด จึงเป็นที่อาศัยของลิงแสม ลิงลม ชะมดน้ำ ชะมดเช็ด นาก เสือปลา นกนานาชนิด
เมื่อประมาณ 50 ปี มาแล้ว มีช้างป่านับ 100 ตัว จระเข้ชุกชุมมาก ปัจจุบัน นี้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว

ทะเลน้อย
ดอกบัวบานสะพรั่งทั่วทะเลน้อย สมญาทะเลล้านบัว

ในทะเลน้อย อุดมด้วยพืชน้ำ เช่น บัว ผักตบชวา จอกหูหนู สาหร่าย กุ้งและปลา เป็นอาหารของนก
อย่างสมบูรณ์ ประกอบกับบริเวณรอบ ๆ มีพงหญ้า มีป่าหนาแน่นนกขนาดใหญ่ทำรังหลบซ่อนได้อย่างปลอดภัย จึงอุดมไปด้วยนกชนิดต่าง ๆ ถึง 187 ชนิด ทั้งนกประจำถิ่นและนกที่อพยพมาจากที่อื่นตามฤดูกาล ได้แก่
นกเป็ดน้ำ นกกาบบัว นกกระทุง นกกาน้ำ นกนางนวล นกกระเด็น นกกระสาแดง นกเจา นกคับแค นกแขวก
นกอีลุ้ม นกตีนเทียน นกพริก นกอีโก้ง นกกวัก นกกะปูด นกอัญชัน นกเหยี่ยว นกยางขาว นกยางกรอก นกยาง
แดง นกยางควาย นกยางหัวเปีย นกจะชุกชุมมากที่สุดในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน มีจำนวนเป็นแสนๆ
ตัวที่เดียว

นกน้ำทะเลน้อย  
นกน้ำทะเลน้อย
ทะเลน้อย แหล่งรวมนกน้ำหลากชนิด ประชากรนกที่อาศัยอยู่ นับได้เป็นแสนๆ ตัว

ป่าไม้แหล่งที่อยู่ของนกถูกทำลายไปมาก ผู้คนจับนกกินเป็นอาหาร เกิดอาชีพเก็บไข่นกขาย ปล่อยฝูง
ควายเหยียบย่ำรังและไข่นกเสียหาย หากปล่อยไว้เช่นนี้นกจะสูญพันธุ์เหมือนกับช้างและจระเข้ ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
นายผ่อง เล่งอี้ อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายจัดการสัตว์ป่า เห็นความสำคัญของ
แหล่งนกน้ำทะเลน้อย จึงดำเนินการให้จัดตั้งเป็นอุทยานนกน้ำ เมื่อให้มีการสำรวจเห็นว่ามีความเหมาะสม
จึงได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 พร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่
มาปฏิบัติการรวมพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทั้งหมด 457 ตารางกิโลเมตร

ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นลำดับที่ 110 ซึ่งพันธกรณีของอนุ
สัญญาฯ มีผลบังคับเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำควนขี้เสียน เขตห้ามล่าสัตว์ป่า
ทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) แห่งแรกของ
ประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญา

เริ่มแต่ทะเลน้อยเป็นอุทยานนกน้ำ ทะเลน้อยกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของภาคใต้ มีผู้คนต่าง
จังหวัดและชาวต่างประเทศมาเยือนมิได้ขาด สิ่งก่อสร้างมีเพิ่มขึ้น มีศาลาพัก เรือนรับรอง พระตำหนัก
อาคารที่ทำการของเจ้าหน้าที่ตั้งเรียงรายอยู่ในน้ำ ห่างฝั่งออกไปทางตะวันออกมีชื่อเรียกอย่างไพเราะ
เช่น ศาลาบัวหลวง ศาลาบัวแดง เรือนกาบบัว เรือนนางนวล เรือนอัญชั่น เป็นต้น อาคารทุกหลังมีสะพานถาวร
เชื่อมถึงกันโดยตลอด

โดยทะเลน้อยมีอากาศดี มีทิวทัศน์งดงาม ขณะที่เดินผ่านสะพานเหมือนเดินอยู่เหนือทะเล ดอกบัวชูดอก
สีขาว ม่วง แดง โอนเอนไปมาตามสายลม หากต้องการชมนกจำนวนมาก ๆ ควรลงเรือหางยาวออกชมในยามเย็น
เป็นเวลาที่ฝูงนกพากันบินกลับรวงรัง ส่งเสียงร้องประสานกันเหมือนเสียงดนตรีธรรมชาติ มีเรือหางยาวจอดรอ
รับบริการในอัตราลำละ 200 บาท(พ.ศ. 2546) นั่งได้ 12 คน ไม่กำหนดเวลาลอยเรือท่องเที่ยวไปจนผู้ไปชมจุใจ

ทะเลน้อยเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ เป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดพัทลุง เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ระดับประเทศ เป็นอุทยานนกน้ำที่มีนกหลายชนิด และมีนกจำนวนมากที่สุดของไทย ทะเลน้อยอยู่ห่างจากตัวเมือง
35 กิโลเมตร หนทางไปมาสะดวกสบาย มีรถประจำทางวิ่งรับคนโดยสารตลอดวัน

พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพัทลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา
เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง อันมีคุณค่ายิ่งต่อระบบนิเวศ และการดำรงชีวิตของประชาชน
รอบพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ เป็นแหล่งความรู้ทางธรรมชาติวิทยา วัฒนธรรม และมีความสวยงามของทิวทัศน์
ในการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางภาคใต้ สมควรแก่การอนุรักษ์ให้เกิดประโยชน์แก่มวลชีวิต
ที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืนตลอดไป รัฐบาลจึงจำเป็นต้องดำเนินการจัดการอนุรักษ์พื้นที่ให้ เหมาะสมกับสถานภาพ
ควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศและความจำเป็นทาง เศรษฐกิจของประชาชนโดยเฉพาะจำเป็นต้องส่งเสริม
รายได้ของชุมชนท้องถิ่น ให้มีรายได้โดยไม่เข้าไปใช้ทรัพยากกรในทะเลน้อยโดยตรง และจากข้อมูลนักท่องเที่ยว
ในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา มีผู้เข้าไปชมทะเลน้อยแต่ละปีประมาณ กว่าสามแสนคน จึงจำเป็นต้องมีการให้ความรู้
ความตระหนักถึงคุณค่าทรัพยากรและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้เข้าไปใช้สถานที่

กรมป่าไม้เดิมจึงมีโครงการร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดให้มีโครงการ “ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ
ทะเลน้อย” ขึ้นเพื่อดำเนินกระบวนการให้ความรู้ สร้างจิตสำนึก จัดค่ายฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นสถาน
ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับ นานาชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งแรกของ
ประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติในทะเลน้อยจากการใช้ประโยชน์โดยตรง
ของประชาชน และส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชนในท้องถิ่น จากการท่องเที่ยว เพื่อรักษาทรัพยากรเหล่านี้ไว้
ให้คงอยู่อำนวยประโยชน์อย่างยั่งยืน

โครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติทะเลน้อย จึงได้จัดตั้งขึ้นโดยกรมป่าไม้และการสนับสนุนของการท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย ทำการศึกษา สำรวจ ออกแบบ เพื่อก่อสร้าง จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
เพื่อเป็นแหล่งสำหรับศึกษาหาความรู้ ฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมุ่งเน้นพื้นที่ชุ่มน้ำ
(Wetland) เป็นสำคัญ และ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้ความสุขด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติแก่ประชาชน
ซึ่งได้รับการจัดให้อยู่ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ โดยเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ.2545
และเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2546 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ออกคำสั่งเปลี่ยนชื่อหน่วยงานจาก
“ศูนย์ศึกษาธรรมชาติทะเลน้อย” เป็น “สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลน้อย”

ภูมิศาสตร์  
          ทะเลน้อย คือ แหล่งน้ำอันต่อเนื่องกับทะเลสาบสงขลา ตั้งอยู่เหนือสุด โดยมีทะเลหลวงในเขตจังหวัด
พัทลุงกั้นกลาง และ ทะเลสาบคูขุด อยู่ทางใต้ในเขตจังหวัดสงขลา มีอาณาเขตดังนี้ คือ ทิศเหนือ จดคลองชะอวด
อำเภอชะอวด และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออก จดทะเลหลวง ทางหลวงหมายเลข 4083
อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ทิศใต้ จดคลองปากประ อำเภอควนขนุน
จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันตก จดฝั่งทะเลน้อยด้านตะวันตก อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และอำเภอชะอวด จังหวัด
นครศรีธรรมราช

          สภาพพื้นที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยทั้งหมด 450 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยส่วนที่เป็นพื้นดิน
และพื้นน้ำ ส่วนพื้นดินมีเนื้อที่ 422 ตารางกิโลเมตร หรือ ร้อยละ 94 ของพื้นที่ทั้งหมด ลักษณภูมิประเทศส่วนใหญ่
เป็นที่ราบชายทะเลสาบ ประกอบด้วยนาข้าวและป่าหญ้า ป่าพรุและป่าเสม็ด เป็นแอ่งน้ำมีพืชปกคลุม และที่ราบ
เชิงเทือกเขาบรรทัด มีเนินเขาสูงราว 100 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนพื้นน้ำมีเนื้อที่ 28 ตารางกิโลเมตร หรือ
ร้อยละ 6 ของพื้นที่ทั้งหมด คือ ตัวทะเลน้อยนั่นเอง มีความกว้างราว 5 กิโลเมตร และยาว 6 กิโลเมตร ความลึก
โดยเฉลี่ยราว 1.5 เมตร ปกคลุมด้วยพืชน้ำต่างๆ เช่น บัว กระจูด หญ้าน้ำกก ปรือ และ กง กระจัดกระจายอยู่
ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณน้ำตื้นและค่อนข้างนิ่ง

พรุควนขี้เสียน
พรุควนขี้เสียน... ที่ราบริมทะเลสาบเป็นป่าพรุและป่าเสม็ด
ภูมิอากาศ
          ภูมิอากาศโดยทั่วไปในภาคใต้ส่วนใหญ่จะมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝนกับฤดูร้อนเท่านั้น ฝนจะเริ่มตกราว ๆ
เดือนสิงหาคม แต่ฤดูฝนจริงๆ จะเริ่มในเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ส่วนทีเหลือจะเป็นช่วงฤดูร้อนที่มีฝนตกบ้าง
ประปราย เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมบก และลมทะเล จึงทำให้อากาศในเขตทะเลน้อยสดชื่นและเย็นสบาย
ตลอดปี เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ

พืชพรรณ  
          พื้นที่ป่าในทะเลน้อยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ ป่าพรุ ซึ่งมีพรรณไม้เด่นคือต้นเสม็ด อันเป็นแหล่งทำรัง
ของนกน้ำขนาดใหญ่ เช่น นกกระสาแดงและนกกาบบัว ทุ่งหญ้า ประกอบด้วยต้นกกหรือลาโพและหญ้าชนิดต่างๆ
ป่าดิบชื้น จะพบบนที่ดอน เช่น ควนขี้เสียน ควนเคร็ง เป็นต้น พื้นที่นาข้าว จะเป็นแหล่งหากินของนกน้ำต่างๆ
บริเวณพื้นน้ำ จะเป็นแหล่งรวมพืชพรรณไม้น้ำที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น กง สาหร่าย กระจูด ผักตบ และบัวชนิด
ต่างๆ โดยเฉพาะบัวสายจะขึ้นเต็มพื้นน้ำเป็นทะเลบัวที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย

สัตว์ป่า  
          สัตว์ป่าที่มีรายงานในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยมีไม่ต่ำกว่า 250 ชนิด โดยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 13
ชนิด เช่น ลิงแสม เสือปลา และลิงลม เป็นต้น สัตว์เลื้อยคลานอย่างน้อย 25 ชนิด เช่น เต่า ตะพาบน้ำ จิ้งแหลน
และงูชนิดต่างๆ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก กุ้ง ปู หอย และสัตว์น้ำอื่นอีกเป็นจำนวนมาก ส่วนพวกปลาน้ำจืดพบ
ไม่ต่ำกว่า 45 ชนิด ปลาที่น่าสนใจและพบได้ไม่ยาก เช่น ปลาช่อน ปลากระดี่ ปลาซิว ส่วนปลาที่น่าสนใจแต่พบ
ตัวได้ยากกว่า เช่น ปลาปักเป้าน้ำจืด และปลาเสือพ่นน้ำ เป็นต้น

นกในทะเลน้อย  
          จากสภาพพื้นน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณไม้น้ำ และสัตว์น้ำต่างๆ ทะเลน้อยจึงมีความเหมาะสม
เป็นแหล่งอาศัยหากินทำรังและวางไข่ของนกนานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนกน้ำ จากการสำรวจพบนกราว 187
ชนิด แยกออกเป็นนกประจำถิ่นอาศัยอยู่ประจำตลอดปี และนกอพยพย้ายถิ่น โดยจะอพยพมาในช่วงฤดูหนาว
ระหว่างเดือนตุลาคม-มีนาคม ซึ่งเป็นช่วงที่นกมีประชากรมากที่สุดถึงราว 43,000 ตัว ส่วนช่วงที่มีนกน้อยที่สุด
อยู่ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน อันเป็นช่วงที่นกน้ำทำรัง นกต่างๆที่น่าสนใจในทะเลน้อยมีดังนี้

      วงศ์นกยาง (Heron) นกน้ำในวงศ์นี้มีลักษณะขายาว คอขาว กินปลาและสัตว์น้ำเล็กๆ มีขนาดกลางถึง
ขนาดใหญ่ พบในทะเลน้อยราว 15 ชนิด เช่น นกยางไฟหัวดำ(Yellow Bittern) นกยางโทนใหญ่(Great Egret)
นกกาบบัว (Painted Stork) นกกระสาแดง (Purple Heron) เป็นต้น โดยเฉพาะนกยางและนกกระสาแดง จะทำรังและอาศัยอยู่ในทะเลน้อยตลอดทั้งปีเป็นจำนวนมาก
วงศ์นกเป็ดน้ำ (Duck and Geese) นกน้ำคล้ายเป็ดซึ่งมีปากแบน แต่มีขนาดเล็กกว่า สามารถว่ายน้ำและ
ดำน้ำหาปลาได้ดี ส่วนใหญ่อยู่รวมกันเป็นฝูง อพยพมาในฤดูหนาว นกเป็ดน้ำที่พบในทะเลน้อย เช่น นกเป็ดแดง
(Lesser Whistling-Duck) เป็ดคับแค (Cotton Pygmy-Goose) เป็ดลาย (Garganey)
นอกจากนี้ยังมี นกเป็ดผี (Little Grebe) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Grebes มีลักษณะคล้ายนกเป็ดน้ำ ต่างกันตรงปลาย
ปากแหลม ว่ายน้ำและดำน้ำเก่งมาก
วงศ์นกอัญชัญ (Rails) นกน้ำวงศ์นี้จะมีขาและนิ้วยาว สามารถเดินหากินบนกอไม้น้ำได้เป็นอย่างดี นกวงศ์นี้
พบได้ง่ายในบริเวณรอบๆ ที่ทำการเขตฯนั่นเอง ส่วนใหญ่เป็นนกประจำถิ่น เช่น นกอัญชัญคิ้วขาว (White-
browed Crake) นกกวัก(White-Breasted Waterhen) นกอีลุ้ม(Waterhen) นกอีล้ำ(Common Moorhen)
นกคู๊ท (Coot)
     วงศ์นกพริก (Jacana) นกน้ำวงศ์นี้มีนิ้วที่ยาวมาก สามารถเดินข้ามบนกอไม้น้ำได้ดี ลักษณะเด่นตัวผู้จะทำ
หน้าพี่ฟักไข่เลี้ยงลูก ตัวเมียจับคู่ครั้งละหลายตัว พบที่ทะเลน้อย 2 ชนิด คือ นกอีแจว(Pheasant-tailed Jacana)
นกพริก (Bronzewinged Jacana)
วงศ์นกกาน้ำ (Cormorant) นกน้ำสีดำรูปร่างคล้ายกา นิ้วเท้ามีพังผืดดำน้ำเก่งมาก มีทั้ง กาน้ำเล็ก(Little-
Cormorant) และ กาน้ำใหญ่ (Great Cormorant)
วงศ์นกตีนเทียน (Stilts) นกชายเลนชนิดนี้มีขายาวปากยาว มีสีเป็นขาวดำ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง
เมืองไทยมีชนิดเดียว คือ นกตีนเทียน (Blackwinged Stilt)
นอกจากนี้แล้วยังมีนกที่พบเสมอ เช่น เหยี่ยวแดง (Brahminy Kite) นกกระแตแต้แว๊ด (Redwattled -
Lapwing) นกนางนวลแกรบเคราขาว (Wiskered Tern) นกกระเต็นน้อยธรรมดา (Common Kingfisher)
นกนางแอ่นบ้าน (Barn Swallow) เป็นต้น

นกในทะเลน้อย

นกในทะเลน้อย
 

ท่องธรรมชาติทะเลน้อย  
          นักท่องเที่ยวที่เดินทาง มาถึงทะเลน้อยจะมองเห็นตัวทะเลน้อยได้ส่วนหนึ่ง หลังจากเดินเข้าไปภายในเขตฯ แนะนำว่านักท่องเที่ยวที่เพิ่งเดินทางมาทะเลน้อยเป็นครั้งแรกควรจะเข้าไปหา ข้อมูลของพื้นที่ใน ศูนย์บริการ
นักท่องเที่ยว ที่อยู่ริมตลิ่งใกล้ๆ กับประตูทางเข้าเขตฯ จากนั้นจึงเริ่มไปพักผ่อนที่ศาลาท่าเรือหรือลงเรือชม
ธรรมชาติ เส้นทางศึกษาธรรมชาติของทะเลน้อยแบ่งออกเป็นหลายจุด จากที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเที่ยวชมได้ดังนี้

1.สะพานไม้รอบที่ทำการฯ สิ่งที่น่าสนใจตามทางเดินเท้าในบริเวณที่ทำการฯ มีดังนี้ นกอีโก้ง นกพริก นกอีล้ำ นกยางควาย จอกหูหนู บัวสาย ปลากระดี่ ปลาช่อน สำหรับต้นกระจูดที่ใช้สำหรับทำหัตถกรรม ทางเขตฯ ได้นำมาปลูกแสดงไว้ใกล้ๆ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้ชมลักษณะดั้งเดิมของต้น
กระจูด ก่อนนำไปผ่านขบวนการผลิต ขณะที่ท่านเดินผ่านไปตามเสาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสาไม้หรือเสาปูน ลอง
สังเกตดูว่าท่านเห็นวัตถุก้อนสีขาวหรือก้อนสีชมพูบ้างไหม ท่านทราบไหมว่ามันคืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร
ระหว่างทางเดินท่านจะพบผักตบชวาที่ถูกกั้นอยู่ในกรอบและอาจพบนกอีโก้งหาอาหารกินอยู่ใกล้ๆ กอผักตบชวา
เหล่านั้นคือ แหล่งสร้างรังวางไข่ของนกน้ำที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น คือ นกอีโก้ง และ นกพริก และยังเป็นที่หลบภัย
ของสัตว์น้ำอื่นๆ ด้วย
ศาลากลางน้ำ เป็นจูดที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่นำอาหารกลางวันมารับ ประทาน ด้วยบรรยากาศที่แวดล้อมไปด้วยความชุ่มฉ่ำของสายลมเย็นท่ามกลางกลุ่มบัวสาย และจอกหูหนู มีเสียงกบ เขียด
ขับกล่อมพร้อมกับได้เห็นนกนานาพันธุ์ต่างสีต่างท่าทาง ต่างก็หากินอย่างอิสระ นับเป็นบรรยากาศที่หาได้ยากขึ้นๆ
ทุกวัน หากท่านมีเวลามาก ขอแนะนำให้ท่านลงเรือไปชมความงามของทะเลน้อยในจุดอื่นๆ บ้าง

สะพานไม้รอบที่ทำการ   สะพานไม้รอบที่ทำการฯ
มุมหนึ่งของสะพานไม้ มีนกอีโก้งคอยรับแขกที่มาเยือน
 
สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด กับบรรยากาศที่สบายๆ ณ ทะเลน้อย

      2.หมู่บ้านทะเลน้อย เดิมชาวบ้านมีอาชีพทำนาและทำประมงเป็นหลัก ปัจจุบันชาวบ้านส่วนหนึ่ง(อาจจะถึง
1 ใน 3) เดินทางออกไปหางานทำในต่างถิ่น ชาวบ้านที่เหลือก็ยังทำนา ทำประมง ทำหัตถกรรม (เสื่อกระจูด) ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป แต่ที่น่าประทับใจก็คือท่านจะพบกับรอยยิ้มและอัธยาศัยไมตรีของชาวบ้านที่มี ต่อ
นักนักท่องเที่ยว
      ของฝากจากทะเลน้อย คงหนีไม่พ้นผลิตภัณฑ์จากต้นกระจูดที่เกิดจากฝีมือและความวิริยะอุตสาหะของ
แม่บ้านชาวทะเลน้อย ไม่ว่าจะเป็น เสื่อ หมวก แผ่นรองจาน แผ่นรองแก้ว กระเป๋า ฯลฯ และของฝากที่ขึ้นชื่ออีก
อย่างหนึ่งของทะเลน้อยก็คือปลาดุกร้าที่อร่อยแบบสุดจะบรรยาย ต้นตำรับของปลาดุกร้าของแท้ต้องที่ทะเลน้อย
เท่านั้น

      3.ดงนกนางนวล ในช่วงเดือนตุลาคม-เดือนเมษายน เมื่อเรือออกจากท่าได้ราว 150 เมตร ท่านจะพบฝูงนก
นางนวลเกาะอยู่ตามหลักไม้ที่ปักไว้ตามทางเข้าออกของเรือ นกนางนวลที่พบบ่อยในทะเลน้อยมี 2 ชนิด คือ
นกนางนวลแกลบดำปีกขาว (Whitewinged Tern) และ นกนางนวลแกลบเคราขาว (Whiskered Tern)
ท่านจะพบนกนางนวลแกลบเหล่านี้เกาะพักรวมกันตามไม้ที่ปักไว้ดังกล่าว นกทั้ง 2 ชนิดจะย้ายไปหาอาหารกิน
ที่อื่นนอกช่วงเวลาที่กล่าวไว้ข้างต้น

นกนางนวล - ทะเลน้อย
ฝูงนกนางนวลอพยพ

      4.ดงบัวสาย ผ่านจากนกนางนวลเรือจะพาท่านวนไปตามเข็มนาฬิกา จะผ่านไปในดงบัวสาย ดงบัวที่มีสีชมพู
บ้านสะพรั่งในช่วงเวลา 8 โมงเช้า เมื่อแดดร้อนแรงขึ้น บัวสายจะเริ่มหุบ และจะบานเต็มที่อีกครั้งหนึ่งในวันรุ่งขึ้น
บัวสายเป็นบัวพันธุ์พื้นเมืองที่แพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย ก้านใบสามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่น
แกงส้ม ต้มกระทิ ผัดน้ำมัน หรือ ต้มจิ้มน้ำพริกได้ ในบริเวณดงบัวสายท่านอาจพบ นกยางกรอก นกอัญชันคิ้วขาว
นกพริก หรือ นกอีแจว เดินหากินอยู่บนใบบัว ท่านสงสัยไหมว่าทำไมนกเหล่านั้นจึงเดินบนใบบัว หรือพืชน้ำ เช่น
จอก แหนได้ ลองสังเกตดูความยาวของนิ้วเท้าของนกเหล่านั้นให้ดี

นกน้ำทะเลน้อย
นกยางหากินตามดงบัว

      5.ดงนกเป็ดน้ำ นกเป็ดน้ำเป็นนกมีปีก มันบินได้และเคลื่อนย้ายที่อยู่เสมอ ส่วนมากจะพบได้ตามดงกระจูด
หนูที่ไม่หนาแน่น ตามดงบัวสาย หรือ บัวหลวง นกเป็ดน้ำที่พบได้ตลอดปี คือ นกเป็ดแดง และ เป็ดคับแค
(ยกเว้นเดือนสิงหาคม-ต้นเดือนตุลาคม จะเป็นช่วงที่นกเป็ดน้ำผลัดเปลี่ยนขนจะพบได้ยาก) ส่วนเป็ดลาย และเป็ด
ชนิดอื่นๆ จะเป็นเป็ดที่อพยพมาจากทางตอนเหนือของทวีปเอเชียพบได้เฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-ต้นเดือน
มีนาคม ส่วนมากเราจะเข้าใกล้ฝูงนกเป็ดน้ำได้ไม่มากนัก นกจะบินหนีขึ้นพร้อมๆกันครั้งละเป็นพันๆตัว พร้อมกับ
เสียงกระพือปีกพรึบพรับเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก ส่วนใหญ่คนขับเรือจะรู้ว่าจะพบนกเป็ดน้ำได้ที่ไหน

      6.ดงกระจูดหนู เป็นพืชน้ำที่พบได้มาก มักขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นกลุ่มใหญ่ๆ เป็นที่หลบภัยของนกและสัตว์น้ำ
กระจูดหนูเป็นพืชที่มีลำต้นเปราะบาง ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุในการทำเครื่องใช้ การจับต้นกระจูดหนู
ควรระมัดระวัง ต้นเปราะและคมอาจบาดมือท่านได้ ต้นอ่อนของกระจูดหนูเป็นอาหารของนกอีโก้งและปลาบางชนิด
ที่ว่างๆในดงกระจูดหนูท่านอาจพบเป็ดคับแค หรือ สาหร่ายข้าวเหนียว พืชมีดอกไม่ใช่สาหร่ายแต่เราไปเรียก
มันว่าสาหร่าย สาหร่ายข้าวเหนียวมีดอกเล็กๆสีเหลือง เป็นพืชพิเศษชนิดหนึ่งที่สามารถจับสัตว์น้ำขนาดเล็ก
กินเป็นอาหารได้ โดยใช้กระเปาะเล็กๆที่มีอยู่มากมายใต้น้ำเป็นกับดักจับ ลองหยุดเรือแล้วพิจารณาดูลักษณะ
ของกระเปาะดังกล่าว

      7.ศาลานางเรียม ตั้งอยู่ในบริเวณปากคลองนางเรียม เป็นศาลาที่ปลูกสร้างขึ้นกลางน้ำขนาดกลาง
รับน้ำหนักได้ราว 30 คน ศาลาน้ำเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมารับประทานอาหารกลางวัน ด้วยว่ามีบรรยากาศ
ร่มรื่น ลมเย็นสบาย (ที่สำคัญมีห้องสุขาไว้บริการ) รอบๆบริเวณศาลามีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น บัวหลวง
ที่อยู่ทางด้านทิศเหนือจะมีสีขาว ส่วนทางทิศใต้จะมีสีชมพู ทางทิศตะวันตกจะพบต้นเตยน้ำหลายต้นขึ้นรวมกลุ่ม
กันเป็นดงใหญ่ ในตอนใกล้ค่ำนกกระยางควายจะมาอาศัยนอนและถ่ายมูลทิ้งไว้เป็นหลักฐาน

      8.คลองนางเรียม เป็นคลองดั้งเดิม 1 ใน 3 คลองสำคัญและเป็นคลองสุดท้ายที่ยังมีน้ำไหลสะดวกไม่ตื้น
เขิน เช่น คลองดั้งเดิมอื่นๆ แต่เดิมทะเลน้อยเคยมีจระเข้อาศัยอยู่ค่อนข้างชุกชุม และคลองนางเรียมก็เป็นคลอง
ที่มีจระเข้ชุกชุมเช่นกัน เป็นที่น่าสนใจว่าปัจจุบันจระเข้เหลือเป็นเพียงตำนานให้เล่าขานกับเท่านั้น คลองนางเรียม
มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ ไหลไปออกทะเลสาบสงขลา ชาวบ้านใช้คลองนี้เป็นทางสัญจรระหว่าง
ทะเลน้อยกับหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมทะเล สองฝั่งคลองนางเรียมยังมีพันธุ์ไม้หลายชนิดปรากฏให้เห็น เช่น ต้นลำพู
ต้นกุ่มน้ำ จิกพรุ เสม็ดขาว บัวสาย บัวลินจง

      9.แหลมดิน เมื่อจะพ้นคลองนางเรียมทางขวามือเป็นทุ่งโล่งมีหญ้าสั้นๆขึ้นเขียวขจี โดยเฉพาะในฤดูฝน
ก่อนที่น้ำจะหลากท่วมราว 1-2 เดือน เมื่อพ้นคลองนางเรียมมาแล้วจะออกสู่ทะเลสาบ เราสามารถหาที่จอดเรือ
แล้วขึ้นฝั่งไปเดินบนดินได้ แหลมดินเป็นจุดดูนกน้ำและนกชายเลนได้เป็นอย่างดี มีนกเด่นๆ เช่น นกตีนเทียน
นกช้อนหอยขาว นกหัวโตหลังจุดสีทอง และ นกแอ่นทุ่งใหญ่ เป็นต้น ถ้าโชคดีอาจได้พบนกกาบบัว หรือ
นกตะกรุม เดินหากินอยู่บ้างก็ได้

นกน้ำทะเลน้อย
มุมหนึ่งในทะเลน้อย

      10.ดงบัวบา จากแหลมดินคนขับเรือจะนำท่านเข้าสู่คลองบ้านกลางและกลับเข้าสู่ตัวทะเลน้อยอีกครั้งหนึ่ง
ถ้าท่านสังเกตสักนิด ขณะที่เรือแล่นผ่านดงกระจูดหนูหรือที่ว่างๆท่านอาจจะเห็นบัวชนิดหนึ่งที่ มีดอกสีขาวเล็กๆ
มีเกสรสีเหลือง นั่นแหละ บัวบา หรือ ชบาน้ำ บัวที่แปลกไปจากบัวชนิดอื่นที่ท่านเคยรู้จักมา ลองบอกให้คน
ขับเรือหยุดเรือ แล้วพิจารณาดูการเกิดดอก การแตกใบว่าแตกต่างจากบัวสายหรือบัวหลวงที่ท่านรู้จักมาก่อน
หรือไม่

      11.ผืนน้ำกว้าง หลังจากหาคำตอบจากบัวบาได้แล้วก็ถึงเวลาที่จะกลับที่ทำการฯ (ท่าเรือ) ทะเลน้อย
ช่วงนี้จะเป็นผืนน้ำกว้างและค่อนข้างลึก (1-2 เมตร) ไม่ค่อยมีพืชน้ำ ถ้าดูให้ดีจะเห็นเป็ดผีว่ายน้ำดำผุดดำว่าย
หาอาหารกินอยู่ไม่ไกลนัก ตามหลักไม้ที่มีผู้ปักทิ้งไว้มักจะพบนกกาน้ำเล็ก (ตัวสีดำ) เกาะกางปีกผึ่งแดดหลัง
จากดำน้ำหาปลากินจนอิ่มแล้ว ถ้าท่านเหนื่อยแล้วก็ลองนั่งหลับตานึกดูซิว่าการนั่งเรือเที่ยวในครั้งนี้
ท่านได้ความรู้อะไรบ้าง หรือถ้าเหนื่อยนักก็นั่งหลับได้เลย หลับสักงีบเล็กๆแต่ระวังอย่าลืมตัวตกน้ำไปก็แล้วกัน

ข้อปฏิบัติในการเที่ยวทะเลน้อย  
          เส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ทะเลน้อย ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางที่ต้องใช้เรือเป็นพาหนะหลักในการชมธรรมชาติ
การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของนักท่องเที่ยวย่อมนำมาซึ่งความปลอดภัย ความสะดวกและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ของแหล่งท่องเที่ยวควรปฏิบัติตัวดังนี้

1.ศึกษาข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับนกน้ำและธรรมชาติของทะเลน้อยล่วงหน้า
2.ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของกรมป่าไม้
3.ลงเรือด้วยความระมัดระวัง และพยายามนั่งให้น้ำหนักของผู้โดยสารกระจายอยู่กลางๆลำเรือ          ขณะเรือแล่นไม่ควรยื่นมือหรือเท้าออกไปนอกเรือ หรือ ทำให้เรือเสียการทรงตัว
4.ขยะทุกชิ้นควรนำกลับมาทิ้งในถังขยะบนฝั่ง ถ้าพบขยะกรุณาเก็บมาทิ้งด้วย
5.ไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนขณะชมธรรมชาติ
6.ไม่เก็บดอกไม้ หรือ ทำลายพืชพันธุ์ตามธรรมชาติที่ปรากฏตามทางศึกษาธรรมชาติ

ติดต่อขอข้อมูลการท่องเที่ยว / ที่พัก  
     - เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย โทร.0 7468 5230
- สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลน้อย โทร.0 7468 5599
- สำนักงาน ททท.ภาคใต้ เขต 2 โทร.0 7434 6514-6 
- บ้านพักตากอากาศ "พรมเงิน" ริมทะเลน้อย โทร.0 7468 5225, 0 7468 5330
- บ้านพักในอุทยานกน้ำทะเลน้อย โทร.0 7468 5230
- สวนพฤกษศาสตร์ ถนนสายลำปำ-ทะเลน้อย โทร.0 7461 4224
 

การเดินทาง  
  • การเดินทางไปทะเลน้อย หากจะเริ่มจากกรุงเทพฯก็สามารถไปได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และเครื่องบิน โดยจุดหมายปลายทางอยู่ที่จังหวัดพัทลุง
  • เครื่องบินต้องบินไปลงหาดใหญ่ หรือตรังแล้วนั่งรถยนต์มาที่พัทลุงและทะเลน้อยตามลำดับ
  • รถไฟ มีรถผ่านสถานีพัทลุงทุกวัน ติดต่อสถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร.0-2223-7010,0-2223-7020
  • รถยนต์ มีรถประจำทางแบบธรรมดาและปรับอากาศ ออกเดินทางจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ (กรุงเทพฯ)ทุกวัน จากพัทลุงจะต้องนั่งรถสองแถวไปยังทะเลน้อย (มีคิวรถสองแถว พัทลุง-ทะเลน้อยอยู่ใกล้สถานีรถไฟ)โดยใช้เส้นทางหลวงสาย 4048 ผ่านอำเภอควนขนุน ตลาดปากคลอง สุดปลายทางที่ทะเลน้อย เป็นระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร
 
แผนที่สู่ทะเลน้อย
 

ภาพและข้อมูลโดย
- สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลน้อย
- สำนักงาน ททท.ภาคใต้ เขต 2
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง
 

Friday, May 17, 2013

ปีนบันใด 1200 ขั้น ที่วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่

ปีนบันใด 1200 ขั้น ที่วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่

 
           บันได 1,200 ขั้น ที่ลัดเลาะผ่านซอกเขาไปตามหน้าผาจนถึงยอด มันคงสูงและเหนื่อยไม่ใช่เล่น เพียงแค่แหงนหน้าขึ้นไปมองคนที่กำลังไต่บันใดอยู่ข้างบนอันสูงลิบก็ดูน่า หวาดเสียว   ขึ้นไปแล้วจะสูงแค่ไหน ข้างบนนั้นมีอะไร จะขึ้นไปไหวหรือไม่ ดูเป็นสิ่งที่ท้าทายและชวนหาคำตอบยิ่งนัก ที่ยิ่งไปกว่านั้นมันเป็นการพิสูจน์ร่างกายและจิตใจได้เป็นอย่างดี
หลายปีมาแล้วผมเคยแวะมาเที่ยววัดนี้ซึ่งเป็นที่รู้จัก ของคนทั่วไป จะเรียกว่าเป็นวัดดังที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคใต้ก็คงไม่ผิดนัก เคยได้ยินชื่อ “หลวงพ่อจำเนียร” เจ้าอาวาสวัดถ้ำเสือที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนในจังหวัดกระบี่และ จังหวัดใกล้เคียงมานาน
ผมรู้จักวัดนี้ในฐานะที่เป็นสถานที่ฝึกสมาธิและเจริญภาวนา ซึ่งแต่ละปีจะมีทั้งหญิงและชายจำนวนมากมาบวชชี - พราหมณ์ นุ่งขาวห่มขาว และถือศีล 8 กันเป็นเวลาหลายวัน โดยวัดได้จัดสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆไว้รองรับอย่างครบครัน
วัดถ้ำเสืออยู่ห่างจากตัวเมืองกระบี่มาไม่ไกลนัก คงไม่เกิน 5 กิโลเมตร ตามเส้นทางสาย กระบี่ – ตรัง ทางเข้าวัดสังเกตง่าย จะเห็นก้อนหินก้อนใหญ่สูงราว 10 เมตร ตั้งโดดเด่นอยู่ตรงสามแยกปากทางเข้าวัดพอดี ซึ่งผมก็จะใช้เป็นจุด จุดสังเกตทุกครั้ง  ก่อนที่จะเลี้ยวรถเข้ามาตามถนนสายเล็กๆ ผ่านสวนของชาวบ้านต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นวัด
อยู่ด้านใน
ลานจอดรถที่กว้างขวางใหญ่โตอาจดูคับแคบหากเดินทางมาในวันหยุดหรือช่วงเทศกาล วัดนี้เป็นจุดแวะเที่ยวของนักทัศนาจร หลายระดับ ทั้งฉิ่งฉับทัวร์ ทัวร์ระดับ VIP รวมไปถึงกรุ๊ปทัวร์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ผ่านมายังเส้นทางนี้

                                            

 " รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม"  สูงราวๆ 5 เมตร ดูใหญ่โตกว่าที่เคยเห็นมาจากที่อื่นๆ   ในแต่ละวันจะมีผู้คนมาบูชาไม่ขาดสาย จุดธูปจุดเทียนกันจนควันโขมง และเป็นจุดเด่นที่ใครมาวัดนี้แล้วคงต้องเจอ
ผมเคยมาเที่ยววัดนี้ตอนที่รูปปั้นพึ่งจะสร้างเสร็จใหม่ๆ เห็นสีทองเหลืองอร่ามแวววาวสวยงามมาก ใบหน้าเจ้าแม่กวนอิมดูสง่า มีราศรี หน้าขาวนวลออกชมภูเหมือนผู้หญิงสวยที่มีใบหน้าเกลี้ยงเกลา ซึ่งแสดงถึงฝีมืออันประณีตของช่างปั้น
ด้านข้างของวัดเป็นหน้าผาที่ใหญ่โตและสูงชันมาก มีบันไดปูนซิเมนต์ให้เดินไต่ผ่านซอกเขาข้ามไปอีกฝากหนึ่งได้ เมื่อข้ามไปแล้ว จะเห็นเป็นป่ามีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น บางชนิดเป็นไม้ใหญ่ที่หาดูได้ยาก ดูลักษณะแล้วน่าจะมีอายุเป็นร้อยๆปี   ถ้าเดินลึกเข้าไป ตามแนวทางเดินริมเขาจะเห็นถ้ำเล็กๆ มีค้างคาวหลายสิบตัวที่เกาะนิ่งอยู่ตามเพดานถ้ำ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในตอนกลางวัน
ภายในบริเวณวัดที่อยู่ด้านหลังเขา   ดูเหมือนเป็นป่า มากกว่าจะเป็นที่ดินเขตของวัด แต่จากสอบถามคนแถวนั้นแล้วทราบว่าเป็น พื้นที่ของวัด อกว่าเดิมทีวัดนี้ตั้งโดดเดี่ยวอยู่ในป่าต่อมามีชาวบ้านมาทำสวนทำไร่และ อาศัยอยู่ใกล้ๆวัดทำให้พื้นที่ของวัดถูกโอบ
ล้อมไปด้วยที่ดินของชาวบ้าน
ชื่อ วัด" ถ้าเสือ "  ในอดีตนั้นน่าจะมีเสืออาศัยอยู่ตามถ้ำต่างๆภายในวัด นึกไปแล้วก็น่าเป็นจริง เพราะสภาพทั่วไปเหมาะที่จะ เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า มีถ้ำอยู่หลายแห่ง มีต้นไม้ใหญ่ และห่างไกลจากผู้คน
แรกเริ่มเดิมทีของวัดนี้น่าจะมาจากพระป่าหรือพระธุดงค์มาอาศัยอยู่ตามถ้ำ และมีชาวบ้านที่ศรัทธาตามมากราบไหว้ จนกลาย เป็นวัดในเวลาต่อมา ซึ่งวัดถ้ำต่างๆในต่างจังหวัด ส่วนใหญ่แล้วจุดเริ่มต้นจนเป็นที่รู้จัก ก็ล้วนมาจากพระธุดงค์ที่จาริกไปเพื่อหา สถานที่วิเวกในการปฏิบัติธรรม จนมีผู้เลื่อมใสเดินทางมากราบไหว้กันเป็นจำนวนมาก
จะว่าไปแล้วการค้นพบถ้ำต่างๆที่มีชื่อและเป็นแหล่งท่อง เที่ยวที่สำคัญในเวลาต่อมา ก็มาจากพระธุดงค์นี้แหละที่เป็นนักสำรวจ และเป็นผู้ค้นพบที่แท้จริง ต่ก็อาจมีบางส่วนที่เข้าไปอาศัยและสร้างศาสนวัตถุต่างๆขึ้นจนเป็นการทำลาย สภาพแวดล้อมไปอย่าง
น่าเสียดายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
...ทั้งหมดนั้นเป็นความทรงจำที่ผมเคยมาเที่ยววัดนี้ถึง 2 ครั้งเมื่อหลายปีก่อน แต่ก็ยังไม่มีโอกาสไต่บันได 1,200 ขั้นแม้แต่ครั้ง
เดียว ทั้งนี้เป็นเพราะมีเวลาค่อนข้างจำกัดและยังต้องเดินทางต่อไปยังที่อื่นอีก ถึงกระนั้นก็ตั้งความหวังไว้ในใจว่าคงต้องหา โอกาสมาพิชิตให้ได้

9 เมษายน 2542

ผมมีโอกาสมาเยือนวัดนี้อีกครั้งหนึ่งตามที่ตั้งใจไว้ เกือบสี่โมงเย็นผมก็ขับรถมาถึงวัดหลังจากแวะเที่ยวจังหวัดตรังและทะเลตรัง กับครอบครัวมาแล้วสองวัน ครั้งนี้ตั้งใจเต็มที่ ที่จะต้องพิชิตให้ได้ หากพลาดครั้งนี้ไปแล้วก็ไม่ทราบว่าจะมีโอกาสมาอีกหรือไม่ เพราะการจัดโปรแกรมเดินทางไกล มันไม่ง่ายนักที่จะจัดเวลาและสถานที่ได้อย่างลงตัวตามแผนที่วางไว้
ผมเตรียมกล้องและอุปกรณ์เพื่อนำติดตัวขึ้นเขาไปไม่มากนัก นำไปเท่าที่จำเป็นและให้มีน้ำหนักเบาที่สุด จะได้ไม่เป็นภาระต่อ การขึ้นบันไดที่ดูออกจะโหดพอสมควร
 " 1,200 ขั้น" คิดไปก็หวั่นใจไม่น้อย  กลัวขึ้นไปแล้วจะลิ้นห้อยหอบแฮกๆ จนหมดรูปเสียฟอร์มกันเลยทีเดียว ที่ผ่านมาก็เคย ไปเที่ยวอยู่หลายวัด แต่ยังไม่เห็นวัดไหนที่มีบันไดสูงและชันมากขนาดนี้ เทียบไม่ได้เลยกับบันใดนาคทีวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีขั้นบันใดเพียงไม่กี่ร้อยขั้นเท่านั้นเอง
“เป็นไงเป็นกัน มาแล้วก็ต้องลุย”

่แต่ก็พออุ่นใจได้บ้าง ที่ไม่กี่วันนี้ก็ได้ทดสอบตัวเองมาแล้วจากการปีนเขาขึ้นไปชมหมู่เกาะอ่างทอง ที่เกาะสมุย ซึ่งเรียกเหงื่อได้ไม่ น้อยทีเดียว 1,200 ขั้นที่วัดนี้ ไม่น่าจะหนักหนาเกินกว่าปีนเขาที่หมู่เกาะอ่างทองเป็นแน่

จากนั้นก็ทำการรีดน้ำหนักตามธรรมเนียมแล้วก็มุ่งสู่ประตูทางเดินขึ้นเขาทันที
เมื่อมาถึงบันไดทางขึ้นก็รู้สึกแปลกตาอยู่บ้างเพราะเห็นธงทิวประดับกันเป็นแถว ตรงราวบันไดทางขึ้นก็มีผ้าแพรสีเหลืองสีแดง แต่งประดับจนสวยงามเหมือนกับจะมีงานอะไรสักอย่าง ใกล้ๆกันนั้นก็มีตำรวจนั่งอยู่ในเต้นปรำพิธีกันหลายคน ดูผิดสังเกตกว่าทุก ครั้งที่เคยมา
" มีงานอะไรหรือ…หรือมีใครเสด็จมา" ผมสอบถามเจ้าหน้าที่คนหนึ่งเพื่อให้หายสงสัย เพราะเกรงว่าจะถูกห้ามขึ้นไปข้างบน
" ข้างบนโน้นเค้ากำลังทำพิธีบวงสรวงพระพุทธบาทจำลอง….ขึ้นไปได้ครับ..." เจ้าหน้าที่คนหนึ่งอธิบายให้ฟัง
หลังจากเดินขึ้นบันใดไปได้ไม่นานก็สวนทางกับนักท่องเที่ยวที่เดินลงมา จึงได้ทราบว่า นาย อาคม เอ่งฉ้วน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่า การกระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้น) และเป็น ส.ส.ของจังหวัดกระบี่ อยู่ข้างบนนั้นด้วย
มิน่าละวันนี้ทางวัดจึงดูคึกคัก ผู้หลักผู้ใหญ่ระดับรัฐมนตรีไปที่ไหนก็มักจะเห็นผู้ติดตามผู้ดูแลความ ปลอดภัยมากันมากมาย ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เห็นกันเป็นประจำในต่างจังหวัด
ทุก 100 ขั้นของบันไดจะเขียนตัวเลขบอกไว้ ทำให้ทราบว่าผ่านมาแล้วกี่ขั้นและยังเหลือข้างหน้าอีกเท่าได  ยิ่งสูงก็ยิ่งเหนื่อย และเรียกเหงื่อเต็มใบหน้าจนต้องปาดเช็ดกันอยู่บ่อยๆ ทั้งเหนื่อย ทั้งเมื่อยขา จนต้องหยุดตามจุดพักกันบ่อยครั้ง ต่น่าแปลกใจที่
เมื่ออยู่ข้างล่างแหงนมองขึ้นมาแล้วมันดูสูงชันจนน่าหวาดเสียว ต่พอขึ้นมาข้างบนแล้วกลับไม่เห็นว่ามันจะน่าหวาดเสียวตรงไหน
เมื่อขึ้นมาแล้วจึงรู้คำตอบว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น .....
เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าทางขึ้นเขา จะเป็นทางเดินที่วนเลาะไปหลืบเขา ซ้ายที ขวาที จนมองไม่ค่อยเห็นความชันของขั้นบัน ใด นอกจากนี้ต้นไม้กิ่งไม้ที่ขึ้นตามซอกเขาช่วยบดบังและลดความเสียวใส้จากมุมมองไปได้แยะทีเดียว
" เผลอแพลบเดียวขึ้นมาสูงถึงขนาดนี้แล้วหรือ " กล้ามเนื้อขาเริ่มตึงจนออกอาการสั่น ไม่ว่าจะนั่งหรือยืนดูมันเกร็งไปหมด เห็นสภาพตนเองขณะนั้นแล้วอดก็ขำไม่ได้ ขาสั่นกระตุกเป็นจังหวะๆโดยอัตโนมัติ  ยังแปลกใจว่าทำไมจึงต้องสั่นด้วย ดูเหมือนว่าอาการสั่นนี้มันอยู่นอกเหนือการควบคุมของสมองด้วยซ้ำไป

                                       
ระหว่างทางขณะกำลังเดินขึ้นบันใดมานั้น ได้พบกับพระภิกษุรูปหนึ่งเดินลงบันไดมาอย่างคล่องแคล่ว จึงได้สอบถามพิธีข้างบน ทำให้ทราบว่าวันนี้เป็นวันแรกที่ทำพิธีบวงสรวงพระพุทธบาทจำลองที่พึ่งสร้างเสร็จใหม่ๆโดยพิธีนี้จะมีไปจนครบ 7 วัน ปกติในช่วงเวลานี้ทางวัดจะจัดพิธีบนเขาและถือเป็นงานประจำปีของวัดถ้ำเสือ แต่ปีนี้พิเศษที่มีการสร้างพระพุทธบาทจำลอง ไว้บนยอดเขา  เพื่อให้ประชาชนขึ้นมากราบไหว้
ก่อนที่พระรูปนั้นจะเดินลงบันไดไปยังบอกกับผมว่ารีบๆขึ้นไป ข้างบนนั้นกำลังทำพิธีและมีคนเป็นร้อยๆเลย
ผมต้องเร่งตัวเองให้เร็วขึ้นเพราะเกรงว่าไม่ทันพิธี
ขณะที่เดินขึ้นไปนั้นก็พยายามนึกภาพงานพิธีไปด้วยว่าคนมากมายบนนั้นบรรยากาศจะเป็นอย่างไร มีพื้นที่กว้างขวางพอที่จะรอง รับคนเป็นร้อยๆได้หรือ ขึ้นไปแล้วจะเห็นอะไร ที่จะคับแคบเกินไปพอจะถ่ายภาพได้หรือไม่
ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นมากทีเดียว เห็นแสงแดดอ่อนๆพอประมาณ จนหวั่นใจว่าเมื่อขึ้นไปแล้วจะมีแสงพอที่จะถ่ายภาพด้วยแสง ธรรมชาติได้หรือไม่ เมฆขาวบางๆยังเต็มท้องฟ้า ดูแล้วน่าจะเป็นอุปสรรคไม่น้อยเลยทีเดียว
  " ถ้าหากไม่สามารถถ่ายภาพได้ดีนักก็ถือว่าขึ้นมาเที่ยวก็แล้วกัน "

มันเป็นสิ่งปลอบใจทุกครั้งที่ไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เพราะคิดว่าสิ่งที่ตั้งใจ บางครั้งอาจไม่เป็นไปตามคาด การถ่ายภาพจากการเดินทางท่องเที่ยว คงไม่สามารถไปจัดวางหรือเลือกเวลาได้ตามใจนึก  ต้องปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติของมันถ่ายได้ก็ถือว่า “เฮง” ถ่ายไม่ได้ก็ถือว่า ได้มาเที่ยว โดยไม่มีคำว่า “ซวย” อยู่ในใจ
แสงเริ่มอ่อนตัวลงมากขึ้นแม้จะเป็นเวลาแค่ 5 โมงเศษๆเท่านั้น

" อ้า...เหลืออีกไม่ถึง 100 ขั้นก็จะถึงยอดแล้ว......"  ความรู้สึกดีใจ ที่ใกล้จะถึงเส้นชัยมาถึงแล้ว แต่แปลก....ทำไมไม่ได้ยินเสียงพระสวดเลย ไหนว่าคนเยอะแยะแต่ดูเงียบๆพิกล พิธีการแบบนี้น่าจะมีเสียงผ่านเครื่องกระจาย เสียงดังทั่วทั้งเขาแล้ว
ผมคงไม่ได้สนใจอะไรมากนักได้แต่ก้มหน้าก้มตารีบขึ้นไปให้เร็วที่สุด ทั้งๆที่เมื่อยล้าทั้งตัว เสื้อผ้าที่สวมใส่ชุ่มฉ่ำไปด้วยเหงื่อ ที่สำคัญ " หิวน้ำแทบตาย "

                                                                  
ในที่สุดผมก็ขึ้นมาถึงยอดเขาซึ่งเป็นจุดสูงสุดที่กำลังทำพิธีกันอยู่ ข้างบนนี้มีลานซีเมนต์ค่อนข้างกว้างขวาง มีสายสิญจน์ ระโยงระยางเต็มไปหมดและมีผู้คนเป็นร้อยร่วมในพิธี
เมื่อขึ้นมาถึงบนนี้แล้วก็ต้องล้มเลิกความตั้งใจที่จะนั่งพักให้หายเหนื่อยกันเลย เพราะบรรยากาศของพิธีที่เห็นขณะนั้น มีอะไรดีๆ น่าสนใจไม่น้อยจนต้องรีบเอากล้องออกจากกระเป๋าโดยไม่รอช้า แสงแดดที่คิดว่าจะมีปัญหาก็ยังเห็นจางๆ พอที่จะเก็บภาพ สวยๆได้บ้าง ขืนชักช้ากว่านี้อาจพลาดโอกาสดีๆก็เป็นได้

                                  
พิธียังดำเนินอยู่ ผู้คนที่อยู่ตามจุดต่างๆนั่งพนมมือฟังเสียงสวดอย่างสงบจากต้นเสียงที่ผ่าน เครื่องกระจายเสียงที่ไม่ดังนัก ผมจึง ต้องระมัดระวังในการถ่ายภาพไม่ให้การเคลื่อนไหวของตนเองไปรบกวนสมาธิของคน อื่น  ซึ่งขณะนั้นมีแต่ผมคนเดียวที่เป็นตากล้อง อยู่กลางงานและเป็นจุดสนใจของคนที่ร่วมพิธี   ยังแปลกใจเหมือนกันว่าไม่เห็นมีช่างภาพคนอื่นบ้างเลยทั้งๆที่ดูเป็นงานสำคัญ ที่มีผู้ หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองและพระเกจิหลายองค์มาร่วมพิธี
" เค้าคงคิดว่าเป็นช่างภาพหนังสือพิมพ์ เพื่อถ่ายภาพไปทำข่าว...."  ผมนึกในใจ และต่างก็มองมาที่ผมเป็นจุดเดียว
สาระรูปผมขณะนั้นก็อาจดูคล้ายช่างภาพหนังสือพิมพ์   ที่มีทั้งกล้องและกระเป๋าสัมภาระ  แถมยังดูหน้าเก๋าออกแก่ๆอีกต่างหาก

                                   
บนยอดเขานี้มีลมกรรโชกมาเป็นระยะๆกระทบใบหน้าตลอดเวลา ทำให้หน้าตาที่ชุ่มไปด้วยเหงื่อเหือดแห้งไปได้ ความเหนื่อยล้า ที่สะสมมาแต่แรกก็หายไปเกือบหมด แถมได้น้ำได้ท่าจากผู้มาร่วมงานหยิบยื่นให้ด้วยน้ำใจไมตรี ทำให้มีเรี่ยวมีแรงถ่ายภาพต่อได้อย่างไม่ย่อท้อ
ผมเก็บภาพไปเรื่อยๆ โดยเดินตามต้นเสียงที่เป็นจุดศูนย์กลางของพิธั้ตั้งอยู่บนแท่งหินสูง มีประชาชนรายล้อมนั่งอยู่ข้างล่างเป็นจุดๆตามลานซีเมนต์และตามโขดหิน
พิธีดำเนินไปนานพอสมควรทำให้ผมมีเวลาถ่ายภาพบริเวณงานอย่างเต็มที่

                                  
ผมเล็งที่จะขึ้นไปอยู่บนศาลาเล็กๆหลังหนึ่งซึ่งสร้างบน โขดหินสูงใกล้ๆกับพิธี เพื่อเก็บภาพในมุมสูง จะได้เห็นบรรยากาศบริเวณงานนี้ได้ทั้งหมด แต่บันไดทางขึ้นมีคนนั่งอยู่เต็มและไม่สามารถขึ้นไปได้ จึงต้องเลี่ยงไปขึ้นทางด้านข้างโดยปีนขึ้นจากโขดหินก้อนใหญ่ใกล้ๆกับบันได แต่กว่าจะขึ้นไปได้ก็ทุลักทุเล เพราะบนบ่าก็มีกระเป๋ากล้องสะพายอยู่ ที่คอก็มีกล้องห้อยกระเตงอยู่ด้วย ดีที่คนที่นั่งอยู่แถวนั้นก็ช่วยกันดึงมือผมขึ้นไปได้ ไม่งั้นคงตะเกียกตะกายกันลำบากแน่          
           ขึ้นมาข้างบนนี้แล้วก็ได้มุมที่ดีๆหลายภาพ มองเห็นทิวทัศน์ได้รอบทิศ เห็นพิธีการกำลังดำเนินอยู่ซึ่งไม่ห่างจากที่ผมยืนเท่าใดนัก พระพุทธบาทจำลองที่เป็นศูนย์กลางของงานกำลังทำพิธีพุทธาภิเษก โดยมีเจ้าอาวาสวัดถ้ำเสือและพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ของจังหวัดอีกหลายรูปร่วมทำพิธี ส่วนฝ่ายฆราวาสมีนายอาคม เอ่งฉ่วน เป็นประธาน นอกจากนี้ก็มีผู้หลักผู้ใหญ่อีกหลายคนของจังหวัดมาร่วมในพิธีครั้งนี้ด้วย (นายอาคม เอ่งฉ่วน ในฐานะที่ดูแลกรมศาสนาในขณะนั้น และเป็นข่าวให้สัมภาษณ์อยู่บ่อยๆในกรณี ”วัดธรรมกาย “ )
ไม่นานนักพิธีเสร็จสิ้น ผู้คนที่อยู่ข้างล่างตรงบันไดเริ่มขยับตัวและยืนขึ้น ครั้นพระสงฆ์ทยอยลงมาจากพิธีข้างบน ผู้คนที่มาร่วม งานต่างก็กรูมาที่บันใดทางลง ยื่นมือยื่นไม้เบียดเสียดกันรับแจกพระเครื่องซึ่งเข้าใจว่าพึ่งผ่านพิธีปลุก เสกมาใหม่ๆ ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ที่อยู่ข้างบนก็โปรยเงินเหรียญซึ่งคงผ่านพิธีปลุกเสกมาแล้วเช่น กัน ความชุลมุนจึงเกิดขึ้นต่างคนก็ยื้อแย่งไล่ตะครุบ เหรียญจนเป็นที่สนุกสนาน

                                  
ผมเดินลงมาจากศาลาเพื่อมาถ่ายภาพข้างล่างเมื่อเห็นรัฐมนตรี อาคม กำลังเดินลงบันไดมา คิดว่าจะถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกเพื่อ ประกอบเรื่องราวที่มาเยือนวัดถ้ำเสือในครั้งนี้
ขณะที่รอถ่ายภาพรัฐมนตรี อาคม อยู่นั้นก็เห็นพระรูปหนึ่งถือไม้เท้าค่อยๆก้าวลงบันไดมา ที่น่าสนใจก็คือมีพระเครื่องแขวนห้อย ตามจีวรเต็มไปหมด ซึ่งไม่เคยเห็นพระรูปไหนทำแบบนี้มาก่อน ดูๆก็แปลกดี

                                                         
เมื่อพระท่านลงมาใกล้จะถึงข้างล่างผมก็เบียดคนเข้าไปยืน ตรงหน้าได้ บอกว่าขอถ่ายภาพท่านด้วย ท่านก็ยิ้มและหยุดให้ถ่าย ภาพ ผมได้ถ่ายไปได้แค่รูปเดียวเท่านั้นเพราะโดนเบียดจากคนใกล้ๆที่มารับแจกพระจน กดชัตเตอร์ไม่ได้ จากนั้นไม่นาน รัฐมนตรี อาคม ก็เดินลงมา พร้อมกับแจกพระเครื่องไปตลอดทาง ผู้คนก็เข้ามาใกล้ๆยื่นมือยื้อแย่งกันจนเป็นที่สนุกสนานเฮฮา คนที่ได้ก็ดีใจ  คนที่ไม่ได้ก็ต้องรอรับจากคนอื่นที่กำลังทยอยเดินลง มา                                                                 
หลังจากที่ผู้คนทยอยกันกลับ ผมก็ยืนชมวิวข้างบนนั้นอีกสักพักเพราะยังไม่อยากเบียดเสียดกันลงบันได   คนเป็นร้อยลงเขาพร้อม กันในทางลงแคบๆที่สูงชันมันคงยุ่งยากไม่น้อย รอสักพักฆ่าเวลาด้วยการหามุมถ่ายภาพไปพลางๆก่อน น่าจะดี

                                    
ระหว่างที่ลงบันใดมาเห็นคุณลุงคนหนึ่งค่อยๆเกาะราวบันไดลงมาที่ละก้าวๆอย่างช้าๆ ความสูงของภูเขา และจำนวนขั้นบันใด 1,200 ขั้น ดูเป็นเรื่องน่าแปลกไม่น้อย ที่ผู้สูงวัยเช่นคุณลุงนี้จะทำได้สำเร็จถ้าไม่แข็งแรงพอ
ผมเห็นคุณลุงเดินลงมาช้าๆอย่างยากลำบาก มือทั้งสองเกาะราวบันไดแน่นและยังมีขวดน้ำมนต์ในมือด้วย ดูท่าทางแล้วกลัว จะไม่ค่อยไหว เพราะมือที่ถือขวดน้ำมนต์นั้นอาจจะพลาดได้ จึงขันอาสาช่วยถือให้ คุณลุงขอบอกขอบใจด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ เหมือนจะเหนื่อยมาก จากนั้นก็เดินลงมาพร้อมๆกัน แต่ก็พยายามเหลือบตามองเพราะเกรงว่าจะช่วยตัวเองไม่ได้
ทุกก้าวที่ค่อยๆย่างเท้าลงมาดูกวัดแกว่งไม่ค่อยมั่นคงนัก ตามใบหน้าก็เต็มไปด้วยเม็ดเหงื่อ แรกๆผมเดินไปคุยไปด้วย  คุณลุง บอกว่าขึ้นมาข้างบนนี้ทุกปีแหละ มาเอาน้ำมนต์ไปบูชาและฝากลูกฝากหลานด้วย และบอกผมไม่ต้องคอยหรอก ไปถึงข้างล่างก็
เอาขวดนี้ไปฝากไว้ที่ศาลาร้านขายของข้างเจ้าแม่กวนอิมให้ด้วย ลุงจะตามไปเอาเอง ผมเดินล้ำหน้าคุณลุงลงมาเพราะเห็นว่าไม่ น่ามีปัญหาอะไร

                                                     
                                                       
และเมื่อใกล้จะถึงข้างล่างก็เห็นแม่ชีหลังค่อมคนหนึ่งค่อยๆก้าวลงมาช้าๆเช่นกัน

" คุณยายอายุมากแล้วแต่ก็เก่งและยังแข็งแรงอยู่นะ……." ผมทักทายแม่ชี ขณะเดินตามลงมาได้ทัน

"  ยายอายุ หกสิบกว่าแล้ว แก่แล้วต้องค่อยๆเดิน " คุณยายพูดคุยกับผมด้วยท่าทางที่ไม่สู้เหน็ดเหนื่อยนัก

" คุณยายขึ้นไปถึงข้างบนเขาไม่เหนื่อยหรือครับ" ผมถาม เพราะท่าทางแล้วไม่น่าจะขึ้นไปถึงข้างบนนั้นได้

" ก่อนขึ้นก็อธิษฐานขอให้หลวงพ่อ (จำเนียร)ท่านช่วย และเดินตามหลวงพ่อมาขึ้นมาพร้อมกับอีกหลายๆคน"
คุณยายนิ่งไปสักพักก่อนที่จะพูดประโยคนี้ว่า

" หลวงพ่อท่านช่วยยาย ยายจึงขึ้นมาทำบุญกะเค้าได้แหละหลาน"

คำพูดที่คุณยายบอกผม ออกจะเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ และมีความภูมิใจที่ปีนี้ได้มีโอกาสขึ้นมาทำบุญอีกครั้งหนึ่ง
คงจะเป็นเพราะศรัทธาอันแรงกล้าที่มีต่อหลวงพ่อจำเนียร ที่ทำให้คุณลุงและแม่ชี ต่างก็ฝ่าความสูงขึ้นมาทำบุญบนยอดเขาแห่งนี้
ได้ตามที่ตั้งใจไว้ อานิสสงฆ์แห่งศรัทธาคงจะทำให้ผู้สูงวัยทั้งสองต่างอิ่มบุญไปไม่ไช่น้อย
ผมลงมาถึงข้างล่างก็เกือบจะมืดเอาพอดี หลังจากที่ดื่มน้ำและพักผ่อนกันไม่นานนัก ก็ต้องออกเดินทางต่อไปยังจังหวัดพังงา   ซึ่งไม่ไกลจากจังหวัดกระบี่นี้เท่าใดนัก และเป็นจุดหมายปลายทางของการเดินทางในวันนี้
 " วัดถ้าเสือ"  วันนี้เป็นวันที่ผมได้ทำตามที่ตั้งใจไว้ด้วยการพิชิตบันใด 1,200 ขั้น แม้อาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนบางคน แต่สำหรับผมและครอบครัวที่มีโอกาสขึ้นไปถึงยอดเขาแล้ว ดูเป็นสิ่งที่มีคุณค่าแก่การมาเยือน และสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง ได้ไม่น้อย หากผมมีโอกาสมาวัดนี้อีกก็คงแหงนมองขึ้นไปบนเขาอย่างไม่รู้สึกเสียวใส้และหวั่นไหวอีกต่อไป

วันนี้ผมได้มาถึงวัดถ้ำเสืออย่างภาคภูมิใจ และคำกล่าวที่ว่า" ใครที่มาเที่ยววัดถ้ำเสือแล้วยังไม่ได้ขึ้นเขาพิชิตบันได 1,200 ขั้น ถือว่ายังมาไม่ถึงวัด " ก็ยังเป็นจริงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

สิ่งที่อดดีใจไม่ได้ในการมาเยือนวัดครั้งนี้ก็คือ การได้มีโอกาสถ่ายภาพเหตุการณ์สำคัญแห่งปีของวัด “ ถ้ำเสือ “ บนยอดเขาสูง โดยบังเอิญ ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ดูน่าแปลกสำหรับนักท่องเที่ยวต่างถิ่น
ผมโชคดีได้ถ่ายภาพในช่วงเวลาที่เห็นว่าเหมาะสมและลงตัวสำหรับงานพิธีครั้งนี้ ฟิล์มสีโกดัก PRN 100 ที่เตรียมมาก็มากพอที่ จะบันทึกเหตุการณ์อย่างเหลือเฟือ ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงชัตเตอร์ทำงาน มันเป็นทั้งความสุข ความดีใจ ระคนเคล้ากันไป เพราะนั่น
หมายความว่าผมได้ภาพดีๆนั้นแล้วอย่างมั่นใจ โอกาสดีๆแบบนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนักในการถ่ายภาพ
กล้องคู่ใจกับเลนส์อีกสองตัวรับใช้ผมอย่างซื่อสัตย์ตลอดทั้งงาน ทำให้การมาเยือนวัดถ้ำเสือครั้งนี้ถูกบันทึกภาพไว้บนแผ่นฟิล์ม และคิดว่าเหตุการณ์ที่พบเห็นในวันนี้ยังคงอยู่ในความทรงจำอีกนานแสนนาน

เที่ยว วัดถ้ำเสือ น้ำตกร้อน วัดคลองท่อม จังหวัดกระบี่ วันที่ 24 มีนาคม - 25 มีนาคม 2555

เที่ยว วัดถ้ำเสือ น้ำตกร้อน วัดคลองท่อม จังหวัดกระบี่ วันที่ 24 มีนาคม - 25 มีนาคม 2555

          วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่ ปีนบันใด 1200 ขั้น

 บันได 1,200 ขั้น ที่ลัดเลาะผ่านซอกเขาไปตามหน้าผาจนถึงยอด มันคงสูงและเหนื่อยไม่ใช่เล่น เพียงแค่แหงนหน้าขึ้นไปมองคนที่กำลังไต่บันใดอยู่ข้างบนอันสูงลิบก็ดูน่า หวาดเสียว   ขึ้นไปแล้วจะสูงแค่ไหน ข้างบนนั้นมีอะไร จะขึ้นไปไหวหรือไม่ ดูเป็นสิ่งที่ท้าทายและชวนหาคำตอบยิ่งนัก ที่ยิ่งไปกว่านั้นมันเป็นการพิสูจน์ร่างกายและจิตใจได้เป็นอย่างดี 
นอนแช่น้ำตกร้อน ..น้ำตกร้อน คลองท่อม จ.กระบี่ นับเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยว unseen ของเมืองไทยอีกแห่งหนึ่ง หลายคนอาจจะเคยไป หรืออาจจะเคยผ่านไปบ้าง เพราะทางไปน้ำตกร้อนคลองท่อม เป็นทางเดียวกับสระมรกต Unseen เมืองไทยอีกแห่งหนึ่ง

               ก่อนจะได้ชมความสวยงามของน้ำตกร้อน ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามระเบียบค่ะ (ค่าเข้าชม เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท) และต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 200 เมตร ก็จะถึงตัวน้ำตก ทางเดินเป็นคอนกรีตสะดวกสบาย คล้าย ๆการเดินชมธรรมชาติ ในระหว่างทางจะเป็นลำธารและน้ำตกเล็ก ๆ และป่าไม้ขนาบข้าง ชมพืชพรรณธรรมชาติ เห็นความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้,,

               น้ำตกร้อน คลองท่อม จ.กระบี่ เป็นน้ำพุร้อนแห่งหนึ่ง ในบรรดาน้ำพุร้อนอีกหลายแห่งที่กระจัดกระจายอยู่ในบริเวณนี้ น้ำจะไม่ร้อนมาก มีอุณหภูมิประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส เป็นน้ำร้อนที่ซึมขึ้นมาจากผิวดิน ซึ่งมีป่าละเมาะปกคลุมร่มรื่น สายน้ำไหลไปรวมกันตามความลาดเอียงของพื้นที่ บางช่วงมีควันกรุ่นและคราบหินปูนธรรมชาติพอกอยู่เป็นชั้นหนา ทำให้เกิดทัศนียภาพสวยงามแปลกตา โดยเฉพาะบริเวณที่ธารน้ำร้อนไหลลงสู่คลองท่อมลดระดับเกิดเป็นลักษณะคล้าย ชั้นน้ำตกเล็ก ๆ

ร่วมกัน ปิ้งย่าง ปลา สดๆ


         ก่อนกลับสงขลา แวะเที่ยว ชม  พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม
อยู่บริเวณวัดคลองท่อม บนนถนนเพชรเกษม หลัก กม.ที่ 69-70 ห่างจากที่ว่าการอำเภอคลองท่อมประมาณ 1 กม. นับเป็นสถานที่หนึ่งที่น่าสนใจแก่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักสะสมของเก่า วัตถุโบราณ เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้เก็บสะสมสิ่งของวัตถุโบราณจำนวนมากมายที่ขุดพบได้ ในบริเวณที่เรียกว่า "ควนลูกปัด" อันเป็นเนินดินหลังวัดคลองท่อม อาทิเช่น เครื่องมือหิน เครืองประดับซึ่งทำจากหิน และดินเผา รูปสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกปัดอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ของมนุษย์สมัย เมื่อ 5,000 ปีเศษมาแล้ว
ประวัติความเป็นมาและการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ คลองท่อมเป็นชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และสมัยประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งในคาบสมุทรภาคใต้ฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 มีการขุดขโมยโบราณวัตถุจากควนลูกปัด ในอำเภอคลองท่อมกันมาก พระครูอาทรสังวรกิจ(สวาท กนตสงโธ)เจ้าอาวาสวัดคลองท่อมเกรงว่าสมบัติของชาติจะสูญหาย จึงพยายามเก็บรวบรวมโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่พบจากควนลูกปัดไว้ตั้งแต่บัดนั้น และนำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ภายในวัดคลองท่อม โดยเปิดให้ประชาชนชมเพื่อศึกษาหาความรู้และเกิดความภาคภูมิใจในประวัติ ศาสตร์ของท้องถิ่น ต่อมาในปี พ.ศ. 2535สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯได้เสด็จเป็นประธานในการเปิดพิพิธภัณฑ์อย่าง เป็นทางการ
การจัดแสดง ตัวพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่าง จัดแสดงโบราณวัตถุบนชั้นเหล็ก ของส่วนใหญ่เป็นเศษโบราณวัตถุ เช่น เศษแก้ว เศษถ้วยชาม ครกหิน หินบดยา หินลับ และเครื่องมือเครื่องใช้สมัยก่อนชั้นบน แบ่งเป็นปีกขวาและซ้าย แสดงของจำพวกกำไล แหวน ขวานหินขนาดและรูปร่างต่าง ๆ ของแสดงอยู่ในตู้กระจกมีป้ายเล็ก ๆ บอกชื่อสิ่งของ ปีกซ้ายเป็นส่วนที่จัดแสดงได้น่าสนใจและเป็นระบบกว่าส่วนอื่น โบราณวัตถุชั้นสำคัญ เช่น ลูกปัดหน้าคน สันนิษฐานว่าเป็นรูป “พระสุริยเทพ” แก้วหลอมและเศษแก้วหลายสี บางก้อนมีเศษลูกปัดติดอยู่ในเนื้อแก้ว จึงสันนิษฐานว่าควนลูกปัดเคยเป็นแหล่งผลิตแก้วและลูกปัด ตราประทับที่จารึกด้วยอักษรปัลลวะ อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10–12ทั้งนี้มีพระภิกษุเป็นผู้นำชมทั้งภายในตัวอาคารพิพิธภัณฑ์เอง และนำชมบริเวณสถานที่จริงที่ขุดพบลูกปัด หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ควนลูกปัด นอกเหนือจากการจัดแสดงโบราณวัตถุแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ยังจัดนิทรรศการนอกสถานที่และทำกิจกรรมต่าง ๆเพื่อให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัตถุโบราณในชุมชน

Wednesday, May 15, 2013

นั่งเรือคายัก..ลอดถ้ำเจ็ดคต

 นั่งเรือคายัก..ลอดถ้ำเจ็ดคต


• ถ้ำเจ็ดคต เป็นถ้ำที่มีความคดเคี้ยวและทะลุผ่านภูเขา มีลำธารคดเคี้ยวแต่สามารถพายเรือลัดเลาะผ่านได้ตลอด ระหว่างทางจะต้องใช้ไฟฉายส่องเพื่อชมเพชรที่โปรยปรายบนหินงอกหินย้อยรูปร่างละม้ายคล้ายคลึงดอกบัว บางจุดมีหาดทรายขาวโปรยด้วยเพชรแปลกพิสดารสวยงาม

• ถ้ำเจ็ดคตหรือ “ถ้ำสัตคูหา” ถ้ำเจ็ดคตมีความกว้าง 70 – 80 เมตร ยาวประมาณ 600 เมตร แบ่งออกเป็น 7 ช่วงหรือคูหา บางช่วงมีความสูงของเพดานถ้ำ 100 – 200 เมตร มีลำคลองไหลผ่านในถ้ำ คือ คลองมะนัง ต้นน้ำเกิดจากถ้ำโตน อยู่ทางเหนือของถ้ำป่าพน อำเภอมะนัง คลองมะนังไหลออกปากถ้ำไปบรรจบกับคลองละงู ซึ่งมีต้นน้ำเกิดจากภูเขาในจังหวัดตรัง ภายในถ้ำซึ่งแบ่งเป็น 7 ช่วง มีบรรยากาศแตกต่างกัน ลำคลองไหลไปตามความคดเคี้ยวของตัวถ้ำ สายน้ำจึงมีความตื้นลึกไม่เท่ากัน ในช่วงหน้าแล้ง น้ำลึกแค่ท่วมข้อเท้า เดินลุยไปได้อย่างสบาย บางตอนอาจลึกเกิน 5 เมตร ช่วงหน้าฝน น้ำหลาก จะเดินทางเข้าไปได้ค่อนข้างยาก นักท่องเที่ยวต้องเดินลัดเลาะไปตามริมผนังถ้ำ เดินลุยน้ำ บางตอนเป็นหาดทรายผสมกรวดบ้าง บางคูหามีพื้นที่เป็นโคลนเลน ต้องระมัดระวังในการเดินเป็นพิเศษควรมีไฟฉายติดตัวไปด้วย บรรยากาศในถ้ำเงียบสงัด แทรกด้วยเสียงน้ำไหลสลับกับเสียงลุยน้ำและเสียงสนทนาจากผู้มาเยือนเป็นระยะ ๆ สิ่งที่เรียกเสียงอุทานด้วยความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยวทั่วหน้าก็คือ ดวงตาวาววับล้อแสงไฟที่ส่องไปกระทบของกลุ่มค้างคาวที่เกาะตัวอยู่บนเพดานถ้ำ ดูราวกับกลุ่มดาวเคราะห์บนฟากฟ้าอันไกลโพ้น มีหินงอกหินย้อยอยู่ทั่วไป ก่อเกิดจินตนาการที่กว้างไกลแก่ผู้พบเห็น เมื่อเดินทางถึงคดสุดท้ายหรือคดที่เจ็ด มีลำแสงส่องจากปากถ้ำ เหมือนแสงแห่งชัยชนะมอบให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางถึงคูหาสุดท้ายใช้เวลาในการลัดเลาะไปตามผนังถ้ำลุยน้ำ ชมธรรมชาติประมาณ 30 นาที


• ถ้ำเจ็ดคต หมู่ที่ 6 ต.ปาล์มพัฒนา กิ่งอ.มะนัง

• ถ้ำเจ็ดคตมีลักษณะพิเศษ แตกต่างจากถ้ำอื่น ๆ มีลำคลองลอดถ้ำ คดเคี้ยวไปตามลักษณะธรรมชาติของตัวถ้ำมีถึง 7 คูหา เป็นที่มาของชื่อถ้ำแห่งนี้ มีผู้ตั้งชื่อใหม่ว่า “ถ้ำสัตคูหา” พร้อมตั้งชื่อของแต่ละคูหา

คูหาที่ 1 เรียกว่า “สาวยิ้ม” ผนังถ้ำมีสีเขียวมรกตมีหินงอกหินย้อยอยู่หน้าถ้ำ
คูหาที่ 2 เรียกว่า “นางคอย” มีหินงอก หินย้อย สวยงาม และฝูงค้างคาวจำนวนมาก
คูหาที่ 3 เรียกว่า “เพชรร่วง” ส่วนบนของผนังถ้ำมีช่อง ให้แสงอาทิตย์ส่องลอดลงมาได้ เมื่อแสงอาทิตย์กระทบกับผนังถ้ำจึงเกิดประกายแวววาวเหมือนเพชร
คูหาที่ 4 เรียกว่า “เจดีย์สามยอด” พื้นทางเดินเป็นหิน ลักษณะคล้ายดอกกุหลาบ
คูหาที่ 5 เรียกว่า “ น้ำทิพย์” ตามผนังถ้ำเป็นหินย้อยสีขาว และน้ำตาล เป็นหลืบซ้อนกันมองดูคล้ายผ้าม่าน
คูหาที่ 6 เรียกว่า “ ฉัตรทอง” มีหินงอก หินย้อยซ้อนเหลื่อมกันเป็นชั้นเสมือนฉัตร
คูหาที่ 7 เรียกว่า “ ส่องนภา” ภายในมีหินงอก หินย้อย รูปทรงคล้ายดอกบัวคว่ำ


• กิจกรรม : ล่องเรือคายัคลอดถ้ำ ล่องหินงอกหินย้อยประดับดับเพชร

• การเดินทาง : ใช้เส้นทางเดียวกับการเดินทางไปถ้ำภูผาเพชร เมื่อถึงแยกบ้านป่าพนเลี้ยวซ้าย ไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงจุดเริ่มต้นของการล่องแก่ง หรือใช้วิธีการติดต่อบริษัทนำเที่ยว ในพื้นที่อำเภอมะนัง ที่สำคัญ ควรเลือกใช้บริการของบริษัทที่ได้รับการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย

• สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อที่ ททท.สำนักงานตรัง โทร. 075 211 085