ทะเลน้อย เป็นทะเลสาบน้ำจืด มีพื้นที่ประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในตำบลนางตุงและตำบล
ทะเลน้อย
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีคลองนางเรียมยาว 2 กิโลเมตรเชื่อมระหว่างทะเลน้อย
กับทะเล
สาบสงขลา ทางฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชุมชนทะเลน้อยประมาณ 2,000
ครัวเรือน
ทางฝั่งตะวันออก
ฝั่งเหนือ
ฝั่งใต้ เป็นป่าพรุและพงหญ้า
|
ชุมชนรอบๆ ทะเลน้อย วิถีชีวิตชาวประมงน้ำจืด
|
ทะเลน้อยมีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร เป็นแหล่งน้ำที่มีปลาน้ำจืดชุกชุมหลายชนิด เดิมชาวทะเลน้อย
ทำการประมงเป็นอาชีพหลัก ขายปลาสด ปลาเค็ม ปลาย่าง ปลาร้า ทำรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ดี เมื่อมีผู้คน
มากขึ้น จำนวนกุ้งปลาน้อยลง ชาวทะเลน้อยต้องเบนไปทำอาชีพอื่นแทน เช่น ค้าขาย ขับรถโดยสารประจำ
ทางมีรถยนต์วิ่งรับผู้โดยสารประจำวัน ระหว่างตัวเมืองพัทลุงกับทะเลน้อยจำนวน 70 คัน รถจักรยานยนต์
วิ่งรับส่งทั่วไปจำนวน 200 คัน อาชัพหลักของชาวทะเลน้อยในปัจจุบัน คือ ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากกระจูด
มีสื่อ หมวก พัด กระเป๋า รองเท้า แฟ้มเอกสาร ชาวทะเลน้อยสานเสื่อชำนาญมาก มีลวดลายสีสันงดงามสามารถ
ส่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปขายยังจังหวัดใกล้เคียง ทำรายได้ปีละประมาณ 60 ล้านบาท
กระจูดที่ปลูกเองไม่พอ
ต้องซื้อมาจากตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
ทางฝั่งตะวันออก เหนือ ใต้ เป็นป่าดงดิบขึ้นหรือป่าพรุ มีไม้หลายชนิด เช่น ไม้เสม็ดขาว จิก หว้า
กระทุ่มหมู่ ทองหลาง
ตีนเป็ด เตียว เนียน เมา เตยน้ำ ที่ใดมีไม้ขึ้นห่างๆ จะมีลาโพ
หญ้าปล้อง กระจูดหนู
ขึ้นแทนเต็มไปหมด จึงเป็นที่อาศัยของลิงแสม
ลิงลม ชะมดน้ำ ชะมดเช็ด นาก เสือปลา นกนานาชนิด
เมื่อประมาณ
50 ปี มาแล้ว มีช้างป่านับ 100 ตัว จระเข้ชุกชุมมาก ปัจจุบัน
นี้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว
|
ดอกบัวบานสะพรั่งทั่วทะเลน้อย สมญาทะเลล้านบัว
|
ในทะเลน้อย อุดมด้วยพืชน้ำ เช่น บัว ผักตบชวา จอกหูหนู สาหร่าย กุ้งและปลา เป็นอาหารของนก
อย่างสมบูรณ์ ประกอบกับบริเวณรอบ ๆ มีพงหญ้า
มีป่าหนาแน่นนกขนาดใหญ่ทำรังหลบซ่อนได้อย่างปลอดภัย
จึงอุดมไปด้วยนกชนิดต่าง ๆ ถึง 187 ชนิด
ทั้งนกประจำถิ่นและนกที่อพยพมาจากที่อื่นตามฤดูกาล
ได้แก่
นกเป็ดน้ำ นกกาบบัว นกกระทุง นกกาน้ำ นกนางนวล นกกระเด็น
นกกระสาแดง นกเจา นกคับแค นกแขวก
นกอีลุ้ม
นกตีนเทียน นกพริก นกอีโก้ง นกกวัก นกกะปูด นกอัญชัน นกเหยี่ยว นกยางขาว
นกยางกรอก นกยาง
แดง
นกยางควาย นกยางหัวเปีย นกจะชุกชุมมากที่สุดในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน มีจำนวนเป็นแสนๆ
ตัวที่เดียว
|
|
|
ทะเลน้อย แหล่งรวมนกน้ำหลากชนิด ประชากรนกที่อาศัยอยู่ นับได้เป็นแสนๆ ตัว
|
ป่าไม้แหล่งที่อยู่ของนกถูกทำลายไปมาก ผู้คนจับนกกินเป็นอาหาร เกิดอาชีพเก็บไข่นกขาย ปล่อยฝูง
ควายเหยียบย่ำรังและไข่นกเสียหาย หากปล่อยไว้เช่นนี้นกจะสูญพันธุ์เหมือนกับช้างและจระเข้
ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
นายผ่อง เล่งอี้ อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายจัดการสัตว์ป่า เห็นความสำคัญของ
แหล่งนกน้ำทะเลน้อย จึงดำเนินการให้จัดตั้งเป็นอุทยานนกน้ำ
เมื่อให้มีการสำรวจเห็นว่ามีความเหมาะสม
จึงได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
พร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่
มาปฏิบัติการรวมพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทั้งหมด 457 ตารางกิโลเมตร
ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นลำดับที่ 110 ซึ่งพันธกรณีของอนุ
สัญญาฯ
มีผลบังคับเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำควนขี้เสียน เขตห้ามล่าสัตว์ป่า
ทะเลน้อย
จังหวัดพัทลุง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) แห่งแรกของ
ประเทศไทย
ซึ่งเป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญา
เริ่มแต่ทะเลน้อยเป็นอุทยานนกน้ำ ทะเลน้อยกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของภาคใต้ มีผู้คนต่าง
จังหวัดและชาวต่างประเทศมาเยือนมิได้ขาด สิ่งก่อสร้างมีเพิ่มขึ้น มีศาลาพัก เรือนรับรอง พระตำหนัก
อาคารที่ทำการของเจ้าหน้าที่ตั้งเรียงรายอยู่ในน้ำ ห่างฝั่งออกไปทางตะวันออกมีชื่อเรียกอย่างไพเราะ
เช่น ศาลาบัวหลวง ศาลาบัวแดง
เรือนกาบบัว เรือนนางนวล
เรือนอัญชั่น เป็นต้น อาคารทุกหลังมีสะพานถาวร
เชื่อมถึงกันโดยตลอด
โดยทะเลน้อยมีอากาศดี มีทิวทัศน์งดงาม ขณะที่เดินผ่านสะพานเหมือนเดินอยู่เหนือทะเล ดอกบัวชูดอก
สีขาว ม่วง แดง
โอนเอนไปมาตามสายลม หากต้องการชมนกจำนวนมาก ๆ ควรลงเรือหางยาวออกชมในยามเย็น
เป็นเวลาที่ฝูงนกพากันบินกลับรวงรัง ส่งเสียงร้องประสานกันเหมือนเสียงดนตรีธรรมชาติ มีเรือหางยาวจอดรอ
รับบริการในอัตราลำละ 200 บาท(พ.ศ. 2546)
นั่งได้ 12 คน ไม่กำหนดเวลาลอยเรือท่องเที่ยวไปจนผู้ไปชมจุใจ
ทะเลน้อยเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ เป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดพัทลุง เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ระดับประเทศ
เป็นอุทยานนกน้ำที่มีนกหลายชนิด และมีนกจำนวนมากที่สุดของไทย ทะเลน้อยอยู่ห่างจากตัวเมือง
35 กิโลเมตร หนทางไปมาสะดวกสบาย มีรถประจำทางวิ่งรับคนโดยสารตลอดวัน
พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพัทลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา
เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง อันมีคุณค่ายิ่งต่อระบบนิเวศ และการดำรงชีวิตของประชาชน
รอบพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ เป็นแหล่งความรู้ทางธรรมชาติวิทยา วัฒนธรรม และมีความสวยงามของทิวทัศน์
ในการพักผ่อนหย่อนใจ
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางภาคใต้ สมควรแก่การอนุรักษ์ให้เกิดประโยชน์แก่มวลชีวิต
ที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืนตลอดไป รัฐบาลจึงจำเป็นต้องดำเนินการจัดการอนุรักษ์พื้นที่ให้
เหมาะสมกับสถานภาพ
ควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศและความจำเป็นทาง
เศรษฐกิจของประชาชนโดยเฉพาะจำเป็นต้องส่งเสริม
รายได้ของชุมชนท้องถิ่น
ให้มีรายได้โดยไม่เข้าไปใช้ทรัพยากกรในทะเลน้อยโดยตรง และจากข้อมูลนักท่องเที่ยว
ในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา
มีผู้เข้าไปชมทะเลน้อยแต่ละปีประมาณ กว่าสามแสนคน จึงจำเป็นต้องมีการให้ความรู้
ความตระหนักถึงคุณค่าทรัพยากรและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้เข้าไปใช้สถานที่
กรมป่าไม้เดิมจึงมีโครงการร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดให้มีโครงการ “ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ
ทะเลน้อย” ขึ้นเพื่อดำเนินกระบวนการให้ความรู้
สร้างจิตสำนึก จัดค่ายฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นสถาน
ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับ
นานาชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งแรกของ
ประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติในทะเลน้อยจากการใช้ประโยชน์โดยตรง
ของประชาชน และส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชนในท้องถิ่น
จากการท่องเที่ยว เพื่อรักษาทรัพยากรเหล่านี้ไว้
ให้คงอยู่อำนวยประโยชน์อย่างยั่งยืน
โครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติทะเลน้อย จึงได้จัดตั้งขึ้นโดยกรมป่าไม้และการสนับสนุนของการท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย
ทำการศึกษา สำรวจ ออกแบบ เพื่อก่อสร้าง จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
เพื่อเป็นแหล่งสำหรับศึกษาหาความรู้
ฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมุ่งเน้นพื้นที่ชุ่มน้ำ
(Wetland) เป็นสำคัญ และ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้ความสุขด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติแก่ประชาชน
ซึ่งได้รับการจัดให้อยู่ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง
อนุรักษ์ โดยเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ.2545
และเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2546 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ได้ออกคำสั่งเปลี่ยนชื่อหน่วยงานจาก
“ศูนย์ศึกษาธรรมชาติทะเลน้อย” เป็น “สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลน้อย”