Friday, May 17, 2013

ปีนบันใด 1200 ขั้น ที่วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่

ปีนบันใด 1200 ขั้น ที่วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่

 
           บันได 1,200 ขั้น ที่ลัดเลาะผ่านซอกเขาไปตามหน้าผาจนถึงยอด มันคงสูงและเหนื่อยไม่ใช่เล่น เพียงแค่แหงนหน้าขึ้นไปมองคนที่กำลังไต่บันใดอยู่ข้างบนอันสูงลิบก็ดูน่า หวาดเสียว   ขึ้นไปแล้วจะสูงแค่ไหน ข้างบนนั้นมีอะไร จะขึ้นไปไหวหรือไม่ ดูเป็นสิ่งที่ท้าทายและชวนหาคำตอบยิ่งนัก ที่ยิ่งไปกว่านั้นมันเป็นการพิสูจน์ร่างกายและจิตใจได้เป็นอย่างดี
หลายปีมาแล้วผมเคยแวะมาเที่ยววัดนี้ซึ่งเป็นที่รู้จัก ของคนทั่วไป จะเรียกว่าเป็นวัดดังที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคใต้ก็คงไม่ผิดนัก เคยได้ยินชื่อ “หลวงพ่อจำเนียร” เจ้าอาวาสวัดถ้ำเสือที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนในจังหวัดกระบี่และ จังหวัดใกล้เคียงมานาน
ผมรู้จักวัดนี้ในฐานะที่เป็นสถานที่ฝึกสมาธิและเจริญภาวนา ซึ่งแต่ละปีจะมีทั้งหญิงและชายจำนวนมากมาบวชชี - พราหมณ์ นุ่งขาวห่มขาว และถือศีล 8 กันเป็นเวลาหลายวัน โดยวัดได้จัดสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆไว้รองรับอย่างครบครัน
วัดถ้ำเสืออยู่ห่างจากตัวเมืองกระบี่มาไม่ไกลนัก คงไม่เกิน 5 กิโลเมตร ตามเส้นทางสาย กระบี่ – ตรัง ทางเข้าวัดสังเกตง่าย จะเห็นก้อนหินก้อนใหญ่สูงราว 10 เมตร ตั้งโดดเด่นอยู่ตรงสามแยกปากทางเข้าวัดพอดี ซึ่งผมก็จะใช้เป็นจุด จุดสังเกตทุกครั้ง  ก่อนที่จะเลี้ยวรถเข้ามาตามถนนสายเล็กๆ ผ่านสวนของชาวบ้านต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นวัด
อยู่ด้านใน
ลานจอดรถที่กว้างขวางใหญ่โตอาจดูคับแคบหากเดินทางมาในวันหยุดหรือช่วงเทศกาล วัดนี้เป็นจุดแวะเที่ยวของนักทัศนาจร หลายระดับ ทั้งฉิ่งฉับทัวร์ ทัวร์ระดับ VIP รวมไปถึงกรุ๊ปทัวร์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ผ่านมายังเส้นทางนี้

                                            

 " รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม"  สูงราวๆ 5 เมตร ดูใหญ่โตกว่าที่เคยเห็นมาจากที่อื่นๆ   ในแต่ละวันจะมีผู้คนมาบูชาไม่ขาดสาย จุดธูปจุดเทียนกันจนควันโขมง และเป็นจุดเด่นที่ใครมาวัดนี้แล้วคงต้องเจอ
ผมเคยมาเที่ยววัดนี้ตอนที่รูปปั้นพึ่งจะสร้างเสร็จใหม่ๆ เห็นสีทองเหลืองอร่ามแวววาวสวยงามมาก ใบหน้าเจ้าแม่กวนอิมดูสง่า มีราศรี หน้าขาวนวลออกชมภูเหมือนผู้หญิงสวยที่มีใบหน้าเกลี้ยงเกลา ซึ่งแสดงถึงฝีมืออันประณีตของช่างปั้น
ด้านข้างของวัดเป็นหน้าผาที่ใหญ่โตและสูงชันมาก มีบันไดปูนซิเมนต์ให้เดินไต่ผ่านซอกเขาข้ามไปอีกฝากหนึ่งได้ เมื่อข้ามไปแล้ว จะเห็นเป็นป่ามีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น บางชนิดเป็นไม้ใหญ่ที่หาดูได้ยาก ดูลักษณะแล้วน่าจะมีอายุเป็นร้อยๆปี   ถ้าเดินลึกเข้าไป ตามแนวทางเดินริมเขาจะเห็นถ้ำเล็กๆ มีค้างคาวหลายสิบตัวที่เกาะนิ่งอยู่ตามเพดานถ้ำ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในตอนกลางวัน
ภายในบริเวณวัดที่อยู่ด้านหลังเขา   ดูเหมือนเป็นป่า มากกว่าจะเป็นที่ดินเขตของวัด แต่จากสอบถามคนแถวนั้นแล้วทราบว่าเป็น พื้นที่ของวัด อกว่าเดิมทีวัดนี้ตั้งโดดเดี่ยวอยู่ในป่าต่อมามีชาวบ้านมาทำสวนทำไร่และ อาศัยอยู่ใกล้ๆวัดทำให้พื้นที่ของวัดถูกโอบ
ล้อมไปด้วยที่ดินของชาวบ้าน
ชื่อ วัด" ถ้าเสือ "  ในอดีตนั้นน่าจะมีเสืออาศัยอยู่ตามถ้ำต่างๆภายในวัด นึกไปแล้วก็น่าเป็นจริง เพราะสภาพทั่วไปเหมาะที่จะ เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า มีถ้ำอยู่หลายแห่ง มีต้นไม้ใหญ่ และห่างไกลจากผู้คน
แรกเริ่มเดิมทีของวัดนี้น่าจะมาจากพระป่าหรือพระธุดงค์มาอาศัยอยู่ตามถ้ำ และมีชาวบ้านที่ศรัทธาตามมากราบไหว้ จนกลาย เป็นวัดในเวลาต่อมา ซึ่งวัดถ้ำต่างๆในต่างจังหวัด ส่วนใหญ่แล้วจุดเริ่มต้นจนเป็นที่รู้จัก ก็ล้วนมาจากพระธุดงค์ที่จาริกไปเพื่อหา สถานที่วิเวกในการปฏิบัติธรรม จนมีผู้เลื่อมใสเดินทางมากราบไหว้กันเป็นจำนวนมาก
จะว่าไปแล้วการค้นพบถ้ำต่างๆที่มีชื่อและเป็นแหล่งท่อง เที่ยวที่สำคัญในเวลาต่อมา ก็มาจากพระธุดงค์นี้แหละที่เป็นนักสำรวจ และเป็นผู้ค้นพบที่แท้จริง ต่ก็อาจมีบางส่วนที่เข้าไปอาศัยและสร้างศาสนวัตถุต่างๆขึ้นจนเป็นการทำลาย สภาพแวดล้อมไปอย่าง
น่าเสียดายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
...ทั้งหมดนั้นเป็นความทรงจำที่ผมเคยมาเที่ยววัดนี้ถึง 2 ครั้งเมื่อหลายปีก่อน แต่ก็ยังไม่มีโอกาสไต่บันได 1,200 ขั้นแม้แต่ครั้ง
เดียว ทั้งนี้เป็นเพราะมีเวลาค่อนข้างจำกัดและยังต้องเดินทางต่อไปยังที่อื่นอีก ถึงกระนั้นก็ตั้งความหวังไว้ในใจว่าคงต้องหา โอกาสมาพิชิตให้ได้

9 เมษายน 2542

ผมมีโอกาสมาเยือนวัดนี้อีกครั้งหนึ่งตามที่ตั้งใจไว้ เกือบสี่โมงเย็นผมก็ขับรถมาถึงวัดหลังจากแวะเที่ยวจังหวัดตรังและทะเลตรัง กับครอบครัวมาแล้วสองวัน ครั้งนี้ตั้งใจเต็มที่ ที่จะต้องพิชิตให้ได้ หากพลาดครั้งนี้ไปแล้วก็ไม่ทราบว่าจะมีโอกาสมาอีกหรือไม่ เพราะการจัดโปรแกรมเดินทางไกล มันไม่ง่ายนักที่จะจัดเวลาและสถานที่ได้อย่างลงตัวตามแผนที่วางไว้
ผมเตรียมกล้องและอุปกรณ์เพื่อนำติดตัวขึ้นเขาไปไม่มากนัก นำไปเท่าที่จำเป็นและให้มีน้ำหนักเบาที่สุด จะได้ไม่เป็นภาระต่อ การขึ้นบันไดที่ดูออกจะโหดพอสมควร
 " 1,200 ขั้น" คิดไปก็หวั่นใจไม่น้อย  กลัวขึ้นไปแล้วจะลิ้นห้อยหอบแฮกๆ จนหมดรูปเสียฟอร์มกันเลยทีเดียว ที่ผ่านมาก็เคย ไปเที่ยวอยู่หลายวัด แต่ยังไม่เห็นวัดไหนที่มีบันไดสูงและชันมากขนาดนี้ เทียบไม่ได้เลยกับบันใดนาคทีวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีขั้นบันใดเพียงไม่กี่ร้อยขั้นเท่านั้นเอง
“เป็นไงเป็นกัน มาแล้วก็ต้องลุย”

่แต่ก็พออุ่นใจได้บ้าง ที่ไม่กี่วันนี้ก็ได้ทดสอบตัวเองมาแล้วจากการปีนเขาขึ้นไปชมหมู่เกาะอ่างทอง ที่เกาะสมุย ซึ่งเรียกเหงื่อได้ไม่ น้อยทีเดียว 1,200 ขั้นที่วัดนี้ ไม่น่าจะหนักหนาเกินกว่าปีนเขาที่หมู่เกาะอ่างทองเป็นแน่

จากนั้นก็ทำการรีดน้ำหนักตามธรรมเนียมแล้วก็มุ่งสู่ประตูทางเดินขึ้นเขาทันที
เมื่อมาถึงบันไดทางขึ้นก็รู้สึกแปลกตาอยู่บ้างเพราะเห็นธงทิวประดับกันเป็นแถว ตรงราวบันไดทางขึ้นก็มีผ้าแพรสีเหลืองสีแดง แต่งประดับจนสวยงามเหมือนกับจะมีงานอะไรสักอย่าง ใกล้ๆกันนั้นก็มีตำรวจนั่งอยู่ในเต้นปรำพิธีกันหลายคน ดูผิดสังเกตกว่าทุก ครั้งที่เคยมา
" มีงานอะไรหรือ…หรือมีใครเสด็จมา" ผมสอบถามเจ้าหน้าที่คนหนึ่งเพื่อให้หายสงสัย เพราะเกรงว่าจะถูกห้ามขึ้นไปข้างบน
" ข้างบนโน้นเค้ากำลังทำพิธีบวงสรวงพระพุทธบาทจำลอง….ขึ้นไปได้ครับ..." เจ้าหน้าที่คนหนึ่งอธิบายให้ฟัง
หลังจากเดินขึ้นบันใดไปได้ไม่นานก็สวนทางกับนักท่องเที่ยวที่เดินลงมา จึงได้ทราบว่า นาย อาคม เอ่งฉ้วน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่า การกระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้น) และเป็น ส.ส.ของจังหวัดกระบี่ อยู่ข้างบนนั้นด้วย
มิน่าละวันนี้ทางวัดจึงดูคึกคัก ผู้หลักผู้ใหญ่ระดับรัฐมนตรีไปที่ไหนก็มักจะเห็นผู้ติดตามผู้ดูแลความ ปลอดภัยมากันมากมาย ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เห็นกันเป็นประจำในต่างจังหวัด
ทุก 100 ขั้นของบันไดจะเขียนตัวเลขบอกไว้ ทำให้ทราบว่าผ่านมาแล้วกี่ขั้นและยังเหลือข้างหน้าอีกเท่าได  ยิ่งสูงก็ยิ่งเหนื่อย และเรียกเหงื่อเต็มใบหน้าจนต้องปาดเช็ดกันอยู่บ่อยๆ ทั้งเหนื่อย ทั้งเมื่อยขา จนต้องหยุดตามจุดพักกันบ่อยครั้ง ต่น่าแปลกใจที่
เมื่ออยู่ข้างล่างแหงนมองขึ้นมาแล้วมันดูสูงชันจนน่าหวาดเสียว ต่พอขึ้นมาข้างบนแล้วกลับไม่เห็นว่ามันจะน่าหวาดเสียวตรงไหน
เมื่อขึ้นมาแล้วจึงรู้คำตอบว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น .....
เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าทางขึ้นเขา จะเป็นทางเดินที่วนเลาะไปหลืบเขา ซ้ายที ขวาที จนมองไม่ค่อยเห็นความชันของขั้นบัน ใด นอกจากนี้ต้นไม้กิ่งไม้ที่ขึ้นตามซอกเขาช่วยบดบังและลดความเสียวใส้จากมุมมองไปได้แยะทีเดียว
" เผลอแพลบเดียวขึ้นมาสูงถึงขนาดนี้แล้วหรือ " กล้ามเนื้อขาเริ่มตึงจนออกอาการสั่น ไม่ว่าจะนั่งหรือยืนดูมันเกร็งไปหมด เห็นสภาพตนเองขณะนั้นแล้วอดก็ขำไม่ได้ ขาสั่นกระตุกเป็นจังหวะๆโดยอัตโนมัติ  ยังแปลกใจว่าทำไมจึงต้องสั่นด้วย ดูเหมือนว่าอาการสั่นนี้มันอยู่นอกเหนือการควบคุมของสมองด้วยซ้ำไป

                                       
ระหว่างทางขณะกำลังเดินขึ้นบันใดมานั้น ได้พบกับพระภิกษุรูปหนึ่งเดินลงบันไดมาอย่างคล่องแคล่ว จึงได้สอบถามพิธีข้างบน ทำให้ทราบว่าวันนี้เป็นวันแรกที่ทำพิธีบวงสรวงพระพุทธบาทจำลองที่พึ่งสร้างเสร็จใหม่ๆโดยพิธีนี้จะมีไปจนครบ 7 วัน ปกติในช่วงเวลานี้ทางวัดจะจัดพิธีบนเขาและถือเป็นงานประจำปีของวัดถ้ำเสือ แต่ปีนี้พิเศษที่มีการสร้างพระพุทธบาทจำลอง ไว้บนยอดเขา  เพื่อให้ประชาชนขึ้นมากราบไหว้
ก่อนที่พระรูปนั้นจะเดินลงบันไดไปยังบอกกับผมว่ารีบๆขึ้นไป ข้างบนนั้นกำลังทำพิธีและมีคนเป็นร้อยๆเลย
ผมต้องเร่งตัวเองให้เร็วขึ้นเพราะเกรงว่าไม่ทันพิธี
ขณะที่เดินขึ้นไปนั้นก็พยายามนึกภาพงานพิธีไปด้วยว่าคนมากมายบนนั้นบรรยากาศจะเป็นอย่างไร มีพื้นที่กว้างขวางพอที่จะรอง รับคนเป็นร้อยๆได้หรือ ขึ้นไปแล้วจะเห็นอะไร ที่จะคับแคบเกินไปพอจะถ่ายภาพได้หรือไม่
ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นมากทีเดียว เห็นแสงแดดอ่อนๆพอประมาณ จนหวั่นใจว่าเมื่อขึ้นไปแล้วจะมีแสงพอที่จะถ่ายภาพด้วยแสง ธรรมชาติได้หรือไม่ เมฆขาวบางๆยังเต็มท้องฟ้า ดูแล้วน่าจะเป็นอุปสรรคไม่น้อยเลยทีเดียว
  " ถ้าหากไม่สามารถถ่ายภาพได้ดีนักก็ถือว่าขึ้นมาเที่ยวก็แล้วกัน "

มันเป็นสิ่งปลอบใจทุกครั้งที่ไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เพราะคิดว่าสิ่งที่ตั้งใจ บางครั้งอาจไม่เป็นไปตามคาด การถ่ายภาพจากการเดินทางท่องเที่ยว คงไม่สามารถไปจัดวางหรือเลือกเวลาได้ตามใจนึก  ต้องปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติของมันถ่ายได้ก็ถือว่า “เฮง” ถ่ายไม่ได้ก็ถือว่า ได้มาเที่ยว โดยไม่มีคำว่า “ซวย” อยู่ในใจ
แสงเริ่มอ่อนตัวลงมากขึ้นแม้จะเป็นเวลาแค่ 5 โมงเศษๆเท่านั้น

" อ้า...เหลืออีกไม่ถึง 100 ขั้นก็จะถึงยอดแล้ว......"  ความรู้สึกดีใจ ที่ใกล้จะถึงเส้นชัยมาถึงแล้ว แต่แปลก....ทำไมไม่ได้ยินเสียงพระสวดเลย ไหนว่าคนเยอะแยะแต่ดูเงียบๆพิกล พิธีการแบบนี้น่าจะมีเสียงผ่านเครื่องกระจาย เสียงดังทั่วทั้งเขาแล้ว
ผมคงไม่ได้สนใจอะไรมากนักได้แต่ก้มหน้าก้มตารีบขึ้นไปให้เร็วที่สุด ทั้งๆที่เมื่อยล้าทั้งตัว เสื้อผ้าที่สวมใส่ชุ่มฉ่ำไปด้วยเหงื่อ ที่สำคัญ " หิวน้ำแทบตาย "

                                                                  
ในที่สุดผมก็ขึ้นมาถึงยอดเขาซึ่งเป็นจุดสูงสุดที่กำลังทำพิธีกันอยู่ ข้างบนนี้มีลานซีเมนต์ค่อนข้างกว้างขวาง มีสายสิญจน์ ระโยงระยางเต็มไปหมดและมีผู้คนเป็นร้อยร่วมในพิธี
เมื่อขึ้นมาถึงบนนี้แล้วก็ต้องล้มเลิกความตั้งใจที่จะนั่งพักให้หายเหนื่อยกันเลย เพราะบรรยากาศของพิธีที่เห็นขณะนั้น มีอะไรดีๆ น่าสนใจไม่น้อยจนต้องรีบเอากล้องออกจากกระเป๋าโดยไม่รอช้า แสงแดดที่คิดว่าจะมีปัญหาก็ยังเห็นจางๆ พอที่จะเก็บภาพ สวยๆได้บ้าง ขืนชักช้ากว่านี้อาจพลาดโอกาสดีๆก็เป็นได้

                                  
พิธียังดำเนินอยู่ ผู้คนที่อยู่ตามจุดต่างๆนั่งพนมมือฟังเสียงสวดอย่างสงบจากต้นเสียงที่ผ่าน เครื่องกระจายเสียงที่ไม่ดังนัก ผมจึง ต้องระมัดระวังในการถ่ายภาพไม่ให้การเคลื่อนไหวของตนเองไปรบกวนสมาธิของคน อื่น  ซึ่งขณะนั้นมีแต่ผมคนเดียวที่เป็นตากล้อง อยู่กลางงานและเป็นจุดสนใจของคนที่ร่วมพิธี   ยังแปลกใจเหมือนกันว่าไม่เห็นมีช่างภาพคนอื่นบ้างเลยทั้งๆที่ดูเป็นงานสำคัญ ที่มีผู้ หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองและพระเกจิหลายองค์มาร่วมพิธี
" เค้าคงคิดว่าเป็นช่างภาพหนังสือพิมพ์ เพื่อถ่ายภาพไปทำข่าว...."  ผมนึกในใจ และต่างก็มองมาที่ผมเป็นจุดเดียว
สาระรูปผมขณะนั้นก็อาจดูคล้ายช่างภาพหนังสือพิมพ์   ที่มีทั้งกล้องและกระเป๋าสัมภาระ  แถมยังดูหน้าเก๋าออกแก่ๆอีกต่างหาก

                                   
บนยอดเขานี้มีลมกรรโชกมาเป็นระยะๆกระทบใบหน้าตลอดเวลา ทำให้หน้าตาที่ชุ่มไปด้วยเหงื่อเหือดแห้งไปได้ ความเหนื่อยล้า ที่สะสมมาแต่แรกก็หายไปเกือบหมด แถมได้น้ำได้ท่าจากผู้มาร่วมงานหยิบยื่นให้ด้วยน้ำใจไมตรี ทำให้มีเรี่ยวมีแรงถ่ายภาพต่อได้อย่างไม่ย่อท้อ
ผมเก็บภาพไปเรื่อยๆ โดยเดินตามต้นเสียงที่เป็นจุดศูนย์กลางของพิธั้ตั้งอยู่บนแท่งหินสูง มีประชาชนรายล้อมนั่งอยู่ข้างล่างเป็นจุดๆตามลานซีเมนต์และตามโขดหิน
พิธีดำเนินไปนานพอสมควรทำให้ผมมีเวลาถ่ายภาพบริเวณงานอย่างเต็มที่

                                  
ผมเล็งที่จะขึ้นไปอยู่บนศาลาเล็กๆหลังหนึ่งซึ่งสร้างบน โขดหินสูงใกล้ๆกับพิธี เพื่อเก็บภาพในมุมสูง จะได้เห็นบรรยากาศบริเวณงานนี้ได้ทั้งหมด แต่บันไดทางขึ้นมีคนนั่งอยู่เต็มและไม่สามารถขึ้นไปได้ จึงต้องเลี่ยงไปขึ้นทางด้านข้างโดยปีนขึ้นจากโขดหินก้อนใหญ่ใกล้ๆกับบันได แต่กว่าจะขึ้นไปได้ก็ทุลักทุเล เพราะบนบ่าก็มีกระเป๋ากล้องสะพายอยู่ ที่คอก็มีกล้องห้อยกระเตงอยู่ด้วย ดีที่คนที่นั่งอยู่แถวนั้นก็ช่วยกันดึงมือผมขึ้นไปได้ ไม่งั้นคงตะเกียกตะกายกันลำบากแน่          
           ขึ้นมาข้างบนนี้แล้วก็ได้มุมที่ดีๆหลายภาพ มองเห็นทิวทัศน์ได้รอบทิศ เห็นพิธีการกำลังดำเนินอยู่ซึ่งไม่ห่างจากที่ผมยืนเท่าใดนัก พระพุทธบาทจำลองที่เป็นศูนย์กลางของงานกำลังทำพิธีพุทธาภิเษก โดยมีเจ้าอาวาสวัดถ้ำเสือและพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ของจังหวัดอีกหลายรูปร่วมทำพิธี ส่วนฝ่ายฆราวาสมีนายอาคม เอ่งฉ่วน เป็นประธาน นอกจากนี้ก็มีผู้หลักผู้ใหญ่อีกหลายคนของจังหวัดมาร่วมในพิธีครั้งนี้ด้วย (นายอาคม เอ่งฉ่วน ในฐานะที่ดูแลกรมศาสนาในขณะนั้น และเป็นข่าวให้สัมภาษณ์อยู่บ่อยๆในกรณี ”วัดธรรมกาย “ )
ไม่นานนักพิธีเสร็จสิ้น ผู้คนที่อยู่ข้างล่างตรงบันไดเริ่มขยับตัวและยืนขึ้น ครั้นพระสงฆ์ทยอยลงมาจากพิธีข้างบน ผู้คนที่มาร่วม งานต่างก็กรูมาที่บันใดทางลง ยื่นมือยื่นไม้เบียดเสียดกันรับแจกพระเครื่องซึ่งเข้าใจว่าพึ่งผ่านพิธีปลุก เสกมาใหม่ๆ ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ที่อยู่ข้างบนก็โปรยเงินเหรียญซึ่งคงผ่านพิธีปลุกเสกมาแล้วเช่น กัน ความชุลมุนจึงเกิดขึ้นต่างคนก็ยื้อแย่งไล่ตะครุบ เหรียญจนเป็นที่สนุกสนาน

                                  
ผมเดินลงมาจากศาลาเพื่อมาถ่ายภาพข้างล่างเมื่อเห็นรัฐมนตรี อาคม กำลังเดินลงบันไดมา คิดว่าจะถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกเพื่อ ประกอบเรื่องราวที่มาเยือนวัดถ้ำเสือในครั้งนี้
ขณะที่รอถ่ายภาพรัฐมนตรี อาคม อยู่นั้นก็เห็นพระรูปหนึ่งถือไม้เท้าค่อยๆก้าวลงบันไดมา ที่น่าสนใจก็คือมีพระเครื่องแขวนห้อย ตามจีวรเต็มไปหมด ซึ่งไม่เคยเห็นพระรูปไหนทำแบบนี้มาก่อน ดูๆก็แปลกดี

                                                         
เมื่อพระท่านลงมาใกล้จะถึงข้างล่างผมก็เบียดคนเข้าไปยืน ตรงหน้าได้ บอกว่าขอถ่ายภาพท่านด้วย ท่านก็ยิ้มและหยุดให้ถ่าย ภาพ ผมได้ถ่ายไปได้แค่รูปเดียวเท่านั้นเพราะโดนเบียดจากคนใกล้ๆที่มารับแจกพระจน กดชัตเตอร์ไม่ได้ จากนั้นไม่นาน รัฐมนตรี อาคม ก็เดินลงมา พร้อมกับแจกพระเครื่องไปตลอดทาง ผู้คนก็เข้ามาใกล้ๆยื่นมือยื้อแย่งกันจนเป็นที่สนุกสนานเฮฮา คนที่ได้ก็ดีใจ  คนที่ไม่ได้ก็ต้องรอรับจากคนอื่นที่กำลังทยอยเดินลง มา                                                                 
หลังจากที่ผู้คนทยอยกันกลับ ผมก็ยืนชมวิวข้างบนนั้นอีกสักพักเพราะยังไม่อยากเบียดเสียดกันลงบันได   คนเป็นร้อยลงเขาพร้อม กันในทางลงแคบๆที่สูงชันมันคงยุ่งยากไม่น้อย รอสักพักฆ่าเวลาด้วยการหามุมถ่ายภาพไปพลางๆก่อน น่าจะดี

                                    
ระหว่างที่ลงบันใดมาเห็นคุณลุงคนหนึ่งค่อยๆเกาะราวบันไดลงมาที่ละก้าวๆอย่างช้าๆ ความสูงของภูเขา และจำนวนขั้นบันใด 1,200 ขั้น ดูเป็นเรื่องน่าแปลกไม่น้อย ที่ผู้สูงวัยเช่นคุณลุงนี้จะทำได้สำเร็จถ้าไม่แข็งแรงพอ
ผมเห็นคุณลุงเดินลงมาช้าๆอย่างยากลำบาก มือทั้งสองเกาะราวบันไดแน่นและยังมีขวดน้ำมนต์ในมือด้วย ดูท่าทางแล้วกลัว จะไม่ค่อยไหว เพราะมือที่ถือขวดน้ำมนต์นั้นอาจจะพลาดได้ จึงขันอาสาช่วยถือให้ คุณลุงขอบอกขอบใจด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ เหมือนจะเหนื่อยมาก จากนั้นก็เดินลงมาพร้อมๆกัน แต่ก็พยายามเหลือบตามองเพราะเกรงว่าจะช่วยตัวเองไม่ได้
ทุกก้าวที่ค่อยๆย่างเท้าลงมาดูกวัดแกว่งไม่ค่อยมั่นคงนัก ตามใบหน้าก็เต็มไปด้วยเม็ดเหงื่อ แรกๆผมเดินไปคุยไปด้วย  คุณลุง บอกว่าขึ้นมาข้างบนนี้ทุกปีแหละ มาเอาน้ำมนต์ไปบูชาและฝากลูกฝากหลานด้วย และบอกผมไม่ต้องคอยหรอก ไปถึงข้างล่างก็
เอาขวดนี้ไปฝากไว้ที่ศาลาร้านขายของข้างเจ้าแม่กวนอิมให้ด้วย ลุงจะตามไปเอาเอง ผมเดินล้ำหน้าคุณลุงลงมาเพราะเห็นว่าไม่ น่ามีปัญหาอะไร

                                                     
                                                       
และเมื่อใกล้จะถึงข้างล่างก็เห็นแม่ชีหลังค่อมคนหนึ่งค่อยๆก้าวลงมาช้าๆเช่นกัน

" คุณยายอายุมากแล้วแต่ก็เก่งและยังแข็งแรงอยู่นะ……." ผมทักทายแม่ชี ขณะเดินตามลงมาได้ทัน

"  ยายอายุ หกสิบกว่าแล้ว แก่แล้วต้องค่อยๆเดิน " คุณยายพูดคุยกับผมด้วยท่าทางที่ไม่สู้เหน็ดเหนื่อยนัก

" คุณยายขึ้นไปถึงข้างบนเขาไม่เหนื่อยหรือครับ" ผมถาม เพราะท่าทางแล้วไม่น่าจะขึ้นไปถึงข้างบนนั้นได้

" ก่อนขึ้นก็อธิษฐานขอให้หลวงพ่อ (จำเนียร)ท่านช่วย และเดินตามหลวงพ่อมาขึ้นมาพร้อมกับอีกหลายๆคน"
คุณยายนิ่งไปสักพักก่อนที่จะพูดประโยคนี้ว่า

" หลวงพ่อท่านช่วยยาย ยายจึงขึ้นมาทำบุญกะเค้าได้แหละหลาน"

คำพูดที่คุณยายบอกผม ออกจะเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ และมีความภูมิใจที่ปีนี้ได้มีโอกาสขึ้นมาทำบุญอีกครั้งหนึ่ง
คงจะเป็นเพราะศรัทธาอันแรงกล้าที่มีต่อหลวงพ่อจำเนียร ที่ทำให้คุณลุงและแม่ชี ต่างก็ฝ่าความสูงขึ้นมาทำบุญบนยอดเขาแห่งนี้
ได้ตามที่ตั้งใจไว้ อานิสสงฆ์แห่งศรัทธาคงจะทำให้ผู้สูงวัยทั้งสองต่างอิ่มบุญไปไม่ไช่น้อย
ผมลงมาถึงข้างล่างก็เกือบจะมืดเอาพอดี หลังจากที่ดื่มน้ำและพักผ่อนกันไม่นานนัก ก็ต้องออกเดินทางต่อไปยังจังหวัดพังงา   ซึ่งไม่ไกลจากจังหวัดกระบี่นี้เท่าใดนัก และเป็นจุดหมายปลายทางของการเดินทางในวันนี้
 " วัดถ้าเสือ"  วันนี้เป็นวันที่ผมได้ทำตามที่ตั้งใจไว้ด้วยการพิชิตบันใด 1,200 ขั้น แม้อาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนบางคน แต่สำหรับผมและครอบครัวที่มีโอกาสขึ้นไปถึงยอดเขาแล้ว ดูเป็นสิ่งที่มีคุณค่าแก่การมาเยือน และสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง ได้ไม่น้อย หากผมมีโอกาสมาวัดนี้อีกก็คงแหงนมองขึ้นไปบนเขาอย่างไม่รู้สึกเสียวใส้และหวั่นไหวอีกต่อไป

วันนี้ผมได้มาถึงวัดถ้ำเสืออย่างภาคภูมิใจ และคำกล่าวที่ว่า" ใครที่มาเที่ยววัดถ้ำเสือแล้วยังไม่ได้ขึ้นเขาพิชิตบันได 1,200 ขั้น ถือว่ายังมาไม่ถึงวัด " ก็ยังเป็นจริงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

สิ่งที่อดดีใจไม่ได้ในการมาเยือนวัดครั้งนี้ก็คือ การได้มีโอกาสถ่ายภาพเหตุการณ์สำคัญแห่งปีของวัด “ ถ้ำเสือ “ บนยอดเขาสูง โดยบังเอิญ ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ดูน่าแปลกสำหรับนักท่องเที่ยวต่างถิ่น
ผมโชคดีได้ถ่ายภาพในช่วงเวลาที่เห็นว่าเหมาะสมและลงตัวสำหรับงานพิธีครั้งนี้ ฟิล์มสีโกดัก PRN 100 ที่เตรียมมาก็มากพอที่ จะบันทึกเหตุการณ์อย่างเหลือเฟือ ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงชัตเตอร์ทำงาน มันเป็นทั้งความสุข ความดีใจ ระคนเคล้ากันไป เพราะนั่น
หมายความว่าผมได้ภาพดีๆนั้นแล้วอย่างมั่นใจ โอกาสดีๆแบบนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนักในการถ่ายภาพ
กล้องคู่ใจกับเลนส์อีกสองตัวรับใช้ผมอย่างซื่อสัตย์ตลอดทั้งงาน ทำให้การมาเยือนวัดถ้ำเสือครั้งนี้ถูกบันทึกภาพไว้บนแผ่นฟิล์ม และคิดว่าเหตุการณ์ที่พบเห็นในวันนี้ยังคงอยู่ในความทรงจำอีกนานแสนนาน

เที่ยว วัดถ้ำเสือ น้ำตกร้อน วัดคลองท่อม จังหวัดกระบี่ วันที่ 24 มีนาคม - 25 มีนาคม 2555

เที่ยว วัดถ้ำเสือ น้ำตกร้อน วัดคลองท่อม จังหวัดกระบี่ วันที่ 24 มีนาคม - 25 มีนาคม 2555

          วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่ ปีนบันใด 1200 ขั้น

 บันได 1,200 ขั้น ที่ลัดเลาะผ่านซอกเขาไปตามหน้าผาจนถึงยอด มันคงสูงและเหนื่อยไม่ใช่เล่น เพียงแค่แหงนหน้าขึ้นไปมองคนที่กำลังไต่บันใดอยู่ข้างบนอันสูงลิบก็ดูน่า หวาดเสียว   ขึ้นไปแล้วจะสูงแค่ไหน ข้างบนนั้นมีอะไร จะขึ้นไปไหวหรือไม่ ดูเป็นสิ่งที่ท้าทายและชวนหาคำตอบยิ่งนัก ที่ยิ่งไปกว่านั้นมันเป็นการพิสูจน์ร่างกายและจิตใจได้เป็นอย่างดี 
นอนแช่น้ำตกร้อน ..น้ำตกร้อน คลองท่อม จ.กระบี่ นับเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยว unseen ของเมืองไทยอีกแห่งหนึ่ง หลายคนอาจจะเคยไป หรืออาจจะเคยผ่านไปบ้าง เพราะทางไปน้ำตกร้อนคลองท่อม เป็นทางเดียวกับสระมรกต Unseen เมืองไทยอีกแห่งหนึ่ง

               ก่อนจะได้ชมความสวยงามของน้ำตกร้อน ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามระเบียบค่ะ (ค่าเข้าชม เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท) และต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 200 เมตร ก็จะถึงตัวน้ำตก ทางเดินเป็นคอนกรีตสะดวกสบาย คล้าย ๆการเดินชมธรรมชาติ ในระหว่างทางจะเป็นลำธารและน้ำตกเล็ก ๆ และป่าไม้ขนาบข้าง ชมพืชพรรณธรรมชาติ เห็นความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้,,

               น้ำตกร้อน คลองท่อม จ.กระบี่ เป็นน้ำพุร้อนแห่งหนึ่ง ในบรรดาน้ำพุร้อนอีกหลายแห่งที่กระจัดกระจายอยู่ในบริเวณนี้ น้ำจะไม่ร้อนมาก มีอุณหภูมิประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส เป็นน้ำร้อนที่ซึมขึ้นมาจากผิวดิน ซึ่งมีป่าละเมาะปกคลุมร่มรื่น สายน้ำไหลไปรวมกันตามความลาดเอียงของพื้นที่ บางช่วงมีควันกรุ่นและคราบหินปูนธรรมชาติพอกอยู่เป็นชั้นหนา ทำให้เกิดทัศนียภาพสวยงามแปลกตา โดยเฉพาะบริเวณที่ธารน้ำร้อนไหลลงสู่คลองท่อมลดระดับเกิดเป็นลักษณะคล้าย ชั้นน้ำตกเล็ก ๆ

ร่วมกัน ปิ้งย่าง ปลา สดๆ


         ก่อนกลับสงขลา แวะเที่ยว ชม  พิพิธภัณฑสถานวัดคลองท่อม
อยู่บริเวณวัดคลองท่อม บนนถนนเพชรเกษม หลัก กม.ที่ 69-70 ห่างจากที่ว่าการอำเภอคลองท่อมประมาณ 1 กม. นับเป็นสถานที่หนึ่งที่น่าสนใจแก่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักสะสมของเก่า วัตถุโบราณ เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้เก็บสะสมสิ่งของวัตถุโบราณจำนวนมากมายที่ขุดพบได้ ในบริเวณที่เรียกว่า "ควนลูกปัด" อันเป็นเนินดินหลังวัดคลองท่อม อาทิเช่น เครื่องมือหิน เครืองประดับซึ่งทำจากหิน และดินเผา รูปสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกปัดอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ของมนุษย์สมัย เมื่อ 5,000 ปีเศษมาแล้ว
ประวัติความเป็นมาและการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ คลองท่อมเป็นชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และสมัยประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งในคาบสมุทรภาคใต้ฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 มีการขุดขโมยโบราณวัตถุจากควนลูกปัด ในอำเภอคลองท่อมกันมาก พระครูอาทรสังวรกิจ(สวาท กนตสงโธ)เจ้าอาวาสวัดคลองท่อมเกรงว่าสมบัติของชาติจะสูญหาย จึงพยายามเก็บรวบรวมโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่พบจากควนลูกปัดไว้ตั้งแต่บัดนั้น และนำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ภายในวัดคลองท่อม โดยเปิดให้ประชาชนชมเพื่อศึกษาหาความรู้และเกิดความภาคภูมิใจในประวัติ ศาสตร์ของท้องถิ่น ต่อมาในปี พ.ศ. 2535สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯได้เสด็จเป็นประธานในการเปิดพิพิธภัณฑ์อย่าง เป็นทางการ
การจัดแสดง ตัวพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่าง จัดแสดงโบราณวัตถุบนชั้นเหล็ก ของส่วนใหญ่เป็นเศษโบราณวัตถุ เช่น เศษแก้ว เศษถ้วยชาม ครกหิน หินบดยา หินลับ และเครื่องมือเครื่องใช้สมัยก่อนชั้นบน แบ่งเป็นปีกขวาและซ้าย แสดงของจำพวกกำไล แหวน ขวานหินขนาดและรูปร่างต่าง ๆ ของแสดงอยู่ในตู้กระจกมีป้ายเล็ก ๆ บอกชื่อสิ่งของ ปีกซ้ายเป็นส่วนที่จัดแสดงได้น่าสนใจและเป็นระบบกว่าส่วนอื่น โบราณวัตถุชั้นสำคัญ เช่น ลูกปัดหน้าคน สันนิษฐานว่าเป็นรูป “พระสุริยเทพ” แก้วหลอมและเศษแก้วหลายสี บางก้อนมีเศษลูกปัดติดอยู่ในเนื้อแก้ว จึงสันนิษฐานว่าควนลูกปัดเคยเป็นแหล่งผลิตแก้วและลูกปัด ตราประทับที่จารึกด้วยอักษรปัลลวะ อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10–12ทั้งนี้มีพระภิกษุเป็นผู้นำชมทั้งภายในตัวอาคารพิพิธภัณฑ์เอง และนำชมบริเวณสถานที่จริงที่ขุดพบลูกปัด หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ควนลูกปัด นอกเหนือจากการจัดแสดงโบราณวัตถุแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ยังจัดนิทรรศการนอกสถานที่และทำกิจกรรมต่าง ๆเพื่อให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัตถุโบราณในชุมชน

Wednesday, May 15, 2013

นั่งเรือคายัก..ลอดถ้ำเจ็ดคต

 นั่งเรือคายัก..ลอดถ้ำเจ็ดคต


• ถ้ำเจ็ดคต เป็นถ้ำที่มีความคดเคี้ยวและทะลุผ่านภูเขา มีลำธารคดเคี้ยวแต่สามารถพายเรือลัดเลาะผ่านได้ตลอด ระหว่างทางจะต้องใช้ไฟฉายส่องเพื่อชมเพชรที่โปรยปรายบนหินงอกหินย้อยรูปร่างละม้ายคล้ายคลึงดอกบัว บางจุดมีหาดทรายขาวโปรยด้วยเพชรแปลกพิสดารสวยงาม

• ถ้ำเจ็ดคตหรือ “ถ้ำสัตคูหา” ถ้ำเจ็ดคตมีความกว้าง 70 – 80 เมตร ยาวประมาณ 600 เมตร แบ่งออกเป็น 7 ช่วงหรือคูหา บางช่วงมีความสูงของเพดานถ้ำ 100 – 200 เมตร มีลำคลองไหลผ่านในถ้ำ คือ คลองมะนัง ต้นน้ำเกิดจากถ้ำโตน อยู่ทางเหนือของถ้ำป่าพน อำเภอมะนัง คลองมะนังไหลออกปากถ้ำไปบรรจบกับคลองละงู ซึ่งมีต้นน้ำเกิดจากภูเขาในจังหวัดตรัง ภายในถ้ำซึ่งแบ่งเป็น 7 ช่วง มีบรรยากาศแตกต่างกัน ลำคลองไหลไปตามความคดเคี้ยวของตัวถ้ำ สายน้ำจึงมีความตื้นลึกไม่เท่ากัน ในช่วงหน้าแล้ง น้ำลึกแค่ท่วมข้อเท้า เดินลุยไปได้อย่างสบาย บางตอนอาจลึกเกิน 5 เมตร ช่วงหน้าฝน น้ำหลาก จะเดินทางเข้าไปได้ค่อนข้างยาก นักท่องเที่ยวต้องเดินลัดเลาะไปตามริมผนังถ้ำ เดินลุยน้ำ บางตอนเป็นหาดทรายผสมกรวดบ้าง บางคูหามีพื้นที่เป็นโคลนเลน ต้องระมัดระวังในการเดินเป็นพิเศษควรมีไฟฉายติดตัวไปด้วย บรรยากาศในถ้ำเงียบสงัด แทรกด้วยเสียงน้ำไหลสลับกับเสียงลุยน้ำและเสียงสนทนาจากผู้มาเยือนเป็นระยะ ๆ สิ่งที่เรียกเสียงอุทานด้วยความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยวทั่วหน้าก็คือ ดวงตาวาววับล้อแสงไฟที่ส่องไปกระทบของกลุ่มค้างคาวที่เกาะตัวอยู่บนเพดานถ้ำ ดูราวกับกลุ่มดาวเคราะห์บนฟากฟ้าอันไกลโพ้น มีหินงอกหินย้อยอยู่ทั่วไป ก่อเกิดจินตนาการที่กว้างไกลแก่ผู้พบเห็น เมื่อเดินทางถึงคดสุดท้ายหรือคดที่เจ็ด มีลำแสงส่องจากปากถ้ำ เหมือนแสงแห่งชัยชนะมอบให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางถึงคูหาสุดท้ายใช้เวลาในการลัดเลาะไปตามผนังถ้ำลุยน้ำ ชมธรรมชาติประมาณ 30 นาที


• ถ้ำเจ็ดคต หมู่ที่ 6 ต.ปาล์มพัฒนา กิ่งอ.มะนัง

• ถ้ำเจ็ดคตมีลักษณะพิเศษ แตกต่างจากถ้ำอื่น ๆ มีลำคลองลอดถ้ำ คดเคี้ยวไปตามลักษณะธรรมชาติของตัวถ้ำมีถึง 7 คูหา เป็นที่มาของชื่อถ้ำแห่งนี้ มีผู้ตั้งชื่อใหม่ว่า “ถ้ำสัตคูหา” พร้อมตั้งชื่อของแต่ละคูหา

คูหาที่ 1 เรียกว่า “สาวยิ้ม” ผนังถ้ำมีสีเขียวมรกตมีหินงอกหินย้อยอยู่หน้าถ้ำ
คูหาที่ 2 เรียกว่า “นางคอย” มีหินงอก หินย้อย สวยงาม และฝูงค้างคาวจำนวนมาก
คูหาที่ 3 เรียกว่า “เพชรร่วง” ส่วนบนของผนังถ้ำมีช่อง ให้แสงอาทิตย์ส่องลอดลงมาได้ เมื่อแสงอาทิตย์กระทบกับผนังถ้ำจึงเกิดประกายแวววาวเหมือนเพชร
คูหาที่ 4 เรียกว่า “เจดีย์สามยอด” พื้นทางเดินเป็นหิน ลักษณะคล้ายดอกกุหลาบ
คูหาที่ 5 เรียกว่า “ น้ำทิพย์” ตามผนังถ้ำเป็นหินย้อยสีขาว และน้ำตาล เป็นหลืบซ้อนกันมองดูคล้ายผ้าม่าน
คูหาที่ 6 เรียกว่า “ ฉัตรทอง” มีหินงอก หินย้อยซ้อนเหลื่อมกันเป็นชั้นเสมือนฉัตร
คูหาที่ 7 เรียกว่า “ ส่องนภา” ภายในมีหินงอก หินย้อย รูปทรงคล้ายดอกบัวคว่ำ


• กิจกรรม : ล่องเรือคายัคลอดถ้ำ ล่องหินงอกหินย้อยประดับดับเพชร

• การเดินทาง : ใช้เส้นทางเดียวกับการเดินทางไปถ้ำภูผาเพชร เมื่อถึงแยกบ้านป่าพนเลี้ยวซ้าย ไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงจุดเริ่มต้นของการล่องแก่ง หรือใช้วิธีการติดต่อบริษัทนำเที่ยว ในพื้นที่อำเภอมะนัง ที่สำคัญ ควรเลือกใช้บริการของบริษัทที่ได้รับการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย

• สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อที่ ททท.สำนักงานตรัง โทร. 075 211 085

"ถ้ำภูผาเพชร" ถ้ำที่ใหญ่ติดอันดับ 4 ของโลก



"ถ้ำภูผาเพชร"
"ถ้ำ ภูผาเพชร" คืออีกหนึ่งถ้ำที่มีชื่อเสียงและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ของ บ้านป่าพน ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล เป็นถ้ำขนาดใหญ่ติดอันดับ 4 ของโลก

     ถ้ำภูผาเพชร เป็น ถ้ำที่นับว่ามีความสวยงาม เพดานถ้ำสูงโปร่ง ภายในถ้ำมีลักษณะแปลกตาและอัศจรรย์ เต็มไปด้วยหินงอกหินย้อย เปล่งประกายระยิบระยับคล้ายเกล็ดเพชร

     โดยลักษณะภายในแบ่งเป็นห้อง ๆ ไม่ต่ำกว่า 20 ห้อง และมีการตั้งชื่อลักษณะที่ปรากฎ เช่น ห้องผ้าม่าน ห้องปะการัง ห้องเห็ด ห้องเจดีย์ ห้องโดมศิลาเพชร เป็นต้น

     และมีการค้นพบหลักฐานร่องรอยประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย กระดูกมนุษย์ส่วนกะโหลกศีรษะ เศษภาชนะดินเผาเคลือบลายเชือกทาบและกระดูกสัตว์เปลือกหอยบรรจุในภาชนะดินเผา สันนิษฐานว่าเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ ซึ่งมนุษย์สมัยก่อนใช้ประกอบพิธีทางศาสนา เมือประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว

ถ้ำภูผาเพชร

ถ้ำภูผาเพชร...อลังการถ้ำใหญ่กลางขุนเขา
• ถ้ำใหญ่กลางขุนเขาติดอันดับโลกแห่งนี้ ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางขุนเขามากกว่า 3,000 ปี อยู่ในพื้นที่อำเภอมะนัง เป็นถ้ำที่อลังการมีขนาดกว้างขวางใหญ่โตขนาดเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ หรือ 20,000 ตารางเมตร เดิมทีเรียกว่า ถ้ำลอด หรือ ถ้ำเพชร ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นภูผาเพชร เพราะความวิจิตรตระการตาไปด้วยหินงอกหินย้อยที่ส่องแสงระยิบระยับยามต้องแสง ซึ่งห้องในโถงใหญ่แห่งนี้มีมากกว่า 20 ห้อง แต่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมแค่เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ทุกห้องโถงมีความแตกต่างกัน เช่น หินงอกที่เป็นเสาค้ำสุริยัน เสาหินปูนขนาดมหึมาค้ำเพดานถ้ำรอบทิศ ส่วนที่โคนเสาหินงอกนี้จะเป็นเกล็ดหินคล้ายแผ่นปะการังใต้ท้องทะเล รวมทั้งมีผ้าม่านเป็นริ้ว ๆ แปลกตา บางจุด จะมีหยดน้ำทิพย์จากเพดานถ้ำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสความบริสุทธิ์ บางคนนำมาดื่มหรือชโลมร่างกาย ถือว่าเป็นสิริมงคลและเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์



•ไฮไลต์ของถ้ำภูผาเพชรแห่งนี้คือ ห้องแสงมรกต ซึ่งเมื่อเดินลึกเข้าไปด้านในสุดจะเห็นเพดานถ้ำโหว่มีแสงส่องลงมากระทบกับ หินสีเขียวก้อนใหญ่ตรงใจกลางห้อง กลายเป็นลานแสงมรกตแปลกตา และสุดท้ายปลายทางเป็นห้องที่มีความมืด 100 เปอร์เซ็นต์ที่ห้องพญานาค สาเหตุที่เรียกว่าห้องพญานาคก็ด้วยเหตุผลที่ว่า กว่า 3,000 ปีมาแล้ว ที่ห้องแห่งนี้ถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้เกิดตะกอนหินปูนจับตัวกันเป็น สันนูนโดยรอบ ลักษณะคล้ายหลังพญานาคจึงตั้งชื่อว่า “ถ้ำพญานาค”



• ถ้ำภูผาเพชร ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 9 บ้านควนดินดำ ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 27 กิโลเมตร ไปตามถนนที่ลาดยางตลอดสายจนถึงบริเวณถ้ำตั้งอยู่บนเทือกเขาหินปูน ในเขตของทิวเขานครศรีธรรมราช ซึ่งนิยมเรียกว่า เขาบรรทัด ปากถ้ำหันไปทางทิศตะวันออก ทางขึ้นไม่ค่อยลาดชันนัก ความสูงจากพื้นราบถึงปากถ้ำประมาณ 50 เมตร ใช้เวลาในการเดินทางจากพื้นราบถึงจุดเข้าถ้ำราว 30 นาที

• ชื่อเดิมของถ้ำภูผาเพชร คือ “ถ้ำลอด ถ้ำยาว หรือถ้ำเพชร” เนื่องจากถ้ำมีความยาว ลักษณะคดเคี้ยว แบ่งเป็นหลายตอน ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย เมื่อกระทบกับแสงไฟ ผนังถ้ำมีประกายแวววาวเหมือนเพชร จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำเพชรก่อน ภายหลังชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า ถ้ำภูผาเพชร
• ตามประวัติมีว่า เมื่อปี พ.ศ. 2517 ครอบครัวของนายช่วงและนางแดง รักทองจันทร์ ได้ย้ายเข้ามาอาศัยบริเวณถ้ำยาวเป็นครอบครัวแรก ล่วงมาปีพ.ศ. 2535 มีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาตั้งสำนักบริเวณถ้ำยาว อยู่ได้หนึ่งปีก็จากไป ก่อนจากไปท่านได้บอกชาวบ้านว่าได้เห็นทางเข้าไปในถ้ำยาว มีถ้ำน้อยใหญ่อีกหลายถ้ำ บางถ้ำมีพื้นที่กว้างขวางสวยงาม กระทั่งปี พ.ศ.2540 นายศักดิ์ชัย บุญคง สมาชิก อบต. ตำบลปาล์มพัฒนาได้ทำการสำรวจร่วมกับทางราชการและราษฏรถ้ำภูผาเพชรจึงได้เปิด โฉมหน้าให้คนทั่วไปได้รู้จักกันทุกวันนี้
• พ.ศ. 2541 นักโบราณคดีของสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 10 จังหวัดสงขลา ได้สำรวจบริเวณถ้ำภูผาเพชร โดยความร่วมมือของสภาตำบลปาล์มพัฒนา พบร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดี ประกอบด้วยกระดูกมนุษย์ยุคโบราณ พบเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบร่องรอยส่วนก้นภาชนะดินเผา ถูกหินปูนและเปลือกหอยยึดเกาะอยู่ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า บริเวณถ้ำภูผาเพชรเคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว
• ถ้ำภูผาเพชรมีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ หรือ 20,000 ตารางวา แบ่งเป็นห้องเล็กห้องน้อยประมาณ 20 ห้อง ชื่อเรียกต่างกันออกไป เช่น ห้องปะการัง มีหินงอกหินย้อยคล้ายปะการังในทะเล ห้องเห็ด เต็มไปด้วยรูปดอกเห็ดขนาดต่าง ๆ ห้องม่านเพชร ลักษณะคล้ายผ้าม่านแขวนเป็นหลืบซ้อนกัน ห้องพญานาคเห็นหินงอกต่อตัวกันคล้ายงูใหญ่หรือพญานาค ส่วนห้องสวนมรกตจะมีสีเขียว ส่องแสงระยิบระยับคล้ายสีของมรกต ล้วนเป็นการรังสรรค์ของธรรมชาติโดยแท้
• ถ้ำภูผาเพชรจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวบนบกแห่งใหม่ของจังหวัดสตูล การไปมาก็สะดวก มีถนนลาดยางถึงบริเวณปากถ้ำ สภาตำบลปาล์มพัฒนาดำเนินการเร่งรัดปรับปรุงสถานที่แห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่อง เที่ยวที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัดสตูลขณะนี้
• การเดินทางสู่ภูผาเพชร : สามารถไปได้ 2 เส้นทาง คือ จากจังหวัดสตูลเข้าทางแยกควนกาหลง เข้าสู่อำเภอมะนัง หากเริ่มต้นจากจังหวัดตรังเมื่อเข้าสู่เขตสตูลให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่มะนังเช่นกัน ทั้งนี้จะมีป้ายบอกเป็นระยะๆ และต้องเดินขึ้นบันไดประมาณ 300 ขั้น (เท่านั้นเอง) ส่วนภายในถ้ำมีบันไดไม้เดินได้สะดวก
• เตรียมตัวเดินทาง : นักท่องเที่ยวควรนำไฟฉายติดตัวไปเพื่อส่องดูความงามภายในถ้ำ หรือสามารถเช่าจากชาวบ้านบริเวณทางเข้าถ้ำ และควรสวมใส่รองเท้าที่เดินสบาย

Tuesday, May 14, 2013

หลบร้อน ผ่อนคลาย เที่ยวจังหวัดสตูล ที่วังสายทอง รื่นรมชมธรรมชาติ เที่ยวชมถ้ำภูผาเพชร วันที่ 11 พฤษภาคม -12 พฤษภาคม 2556

วันที่ 11 พฤษภาคม -12 พฤษภาคม 2556


    คณะเรา รอบ นี้ ไป กัน ทั้ง หมด 24 คน ใช้ รถตู้ 2 ค้น เพื่อนเรา บางคน บน ใว้ ที่ ถ้ำภูผาเพชร จำเป็น ต้องไป แก้บนเพราะ เรื่องที่ บน ใว้ ได้ผล  ได้ เป็น สารวัตร สมหวัง ..


           หลบร้อน ผ่อนคลาย ที่วังสายทอง รื่นรมชมธรรมชาติ เที่ยวชมถ้ำภูผาเพชร ที่เป็นธรรมชาติแห่งใหม่ในสตูล สนุก..ล่องแก่งวังสายธาร-คลองลำโลน แม่น้ำสายหลักของป่าต้นน้ำปากบารา เล่นน้ำตกวังสายทองซึ่งไหลผ่านช่องหิน เป็นน้ำตกหินปูนสีทองหนึ่งเดียวในจังหวัดสตูล พัก 1 คืน กับบรรยากาศยามค่ำคืน ที่นี่ วังสายทอง   


วันแรก


07.00 น.     เดินทางออกจากสงขลา ไป สู่จังหวัดสตูล มุ่งหน้าสู่อำเภอมะนัง เราจะนำท่านสู่ความอลังการของธรรมชาติ ที่หาชมได้อยากมีที่นี่ที่เดียว ที่ ถ้ำภูผาเพชร ชมความสวยงามของถ้ำ ซึ่งแต่ละห้องจะมีความแตกต่างกันไป เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ประกอบด้วยชั้นหินปูนที่แวววาวโดยแบ่งเป็นห้องๆ ประมาณ 20 ห้อง เนื้อที่ภายในถ้ำประมาณ 50 ไร่ โดยมีทางขึ้นเป็นบันได ประมาณ 335 ขั้นระหว่างทางที่เดินขึ้นมีศาลาพักให้ท่านชมธรรมชาติของป่าใช้เวลาในการเที่ยวชมประมาณ 2 ชั่วโมง






11.30.น     เดินทางสู่วังสายทอง เข้าที่พัก เรือนไม่ไผ่ริมน้ำ บ้านริมน้ำในบรรยากาศง่ายๆที่ วังสายทอง เรามีให้ท่านเลือกพักผ่อนกับบรรยากาศริมน้ำที่ท่านเลือกได้ผ่อนคลายกับ ธรรมชาติ


12.00.น     รับประทานอาหารเที่ยง กับข้าว 3 อย่าง รายการอาหารมี แกงเขียวหวานไก่ แกงจืดเต้าหู้อ่อนกุ้งสับ ผัดผักรวมไข่เจียว น้ำพริก ผักสด ผลไม้


   
14.00.น     ล่องแก่งวังสายธาร คลองลำโลน สายน้ำหลักของป่าต้นน้ำปากบารา ที่มีน้ำใส หินสวย ธรรมชาติสมบูรณ์ สองฝั่งคลองตลอดการล่องแก่งสายน้ำที่ใสและเย็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ผ่านแก่งต่างๆ ประมาณ 16 แก่ง ตลอดการล่องแก่ง จะมีสตาฟดูแลความปลอดภัยของท่านเป็นอย่างดี
เสียดายตอนล่องแก่ง ไม่ได้เอากล้องถ่ายรูปไปด้วย ..

15.30.น     เข้าที่พักทำกิจกรรมตามอัธยาศัย รับประทานอาหารว่าง พักผ่อนกับบรรยากาศตอนเย็นที่รีสอร์ท


18.30.น     รับประทานอาหารเย็น รายการอาหารมีแกงส้มปลากะพงยอดมะพร้าว   ไก่ต้มขมิ้น ปลาทอด น้ำพริก ผักสด ผลไม้


20.00.น     พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันที่สอง

07.30.น     รับประทานอาหารเช้า รายการอาหารเช้ามี ข้าวต้ม ขนม กาแฟ ข้าวผัด


09.00.น     เก็บสัมภาระและความประทับใจที่ท่านได้จากเราเดินทางเที่ยวชมน้ำตกวังสายทองเป็นน้ำตกหิน ปูนสีทองที่หาชมได้ยากหนึ่งเดียวในจังหวัดสตูลสนุกกับการเล่นน้ำตก

10.00.น     เก็บความประทับใจ เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ


ที่พัก 1 คืน /  เรือนไม้ไผ่ริมน้ำ / บ้านริมน้ำ /
อาหาร 3 มื้อ
ชุดอุปกร ล่องแก่ง เรือคะยัค
ค่าทำเนียมต่างๆ
มัคคุเทศก์นำเที่ยว
สตาฟดูแลความปลอดภัย
กิจกรรมยามค่ำคืน

Saturday, May 11, 2013

ไปทำบุญไหว้พระที่ “วัดถ้ำเสือ” บ้านถ้ำเสือ ตำบลกระบี่น้อย อ.เมือง จ.กระบี่

"วัดถ้ำเสือ" 

แห่ง นี้เป็นวัดที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีในจังหวัดกระบี่และจังหวัด ใกล้เคียง อยู่ห่างจากตัวเมืองกระบี่ประมาณ 9 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ บ้านถ้ำเสือ ตำบลกระบี่น้อย อ.เมือง จ.กระบี่ พื้นที่บริเวณวัดประมาณ 200 ไร่ ประกอบไปด้วยพื้นที่ราบ หุบเขาและยอดเขา ชื่อวัดนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าเนื่องจากในอดีตเคยมีเสืออาศัยอยู่ และภายในถ้ำยังปรากฏหินธรรมชาติ เป็นรูปแบบของอุ้งเท้าเสือ ส่วนที่มาของวัดนี้น่าจะมาจากพระธุดงค์ที่เดินทางจาริกไปเพื่อหาสถานที่ วิเวกในการปฏิบัติธรรม มาอาศัยอยู่ตามถ้ำ และมีชาวบ้านที่ศรัทธาตามมากราบไหว้เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นวัดในเวลาต่อมา




ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2518 หลวงพ่อจำเนียรมีความประสงค์จะหาสถานที่ปฏิบัติธรรมใหม่ ก็เกิดนิมิตในมโนภาพว่าเป็นสถานที่มีภูเขาล้อมรอบ และถ้ำชื่อ “ถ้ำเสือ” ตลอดถึงถ้ำต่างๆ หลายถ้ำ และอยู่ในเขตจังหวัดกระบี่ด้วย ทันทีที่เกิดนิมิตเห็นก็เกิดความรู้สึกนึกรักสถานที่นั้นขึ้นมาจับใจ เหมือนรู้สึกคุ้นเคยกับสถานที่นี้มาก่อน หลวงพ่อได้ให้พระอาจารย์หีด ไปเสาะแสวงหาสถานที่จะตั้งสำนัก จนในที่สุดพระอาจารย์หีดได้พบสถานที่หลายๆแห่งรวมถึงถ้ำเสือด้วย


หลวงพ่อได้มีโอกาสไปดูสถานที่ ถ้ำตามที่พระอาจารย์หีดบอก ก็ตรงกับนิมิตที่หลวงพ่อเห็นจริงๆ หลวงพ่อจำเนียร ได้นำคณะพระภิกษุ สามเณร 53 แม่ชี 56ท่าน จากวัดสุคนธาวาส มาอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้อันมีนามว่าถ้ำเสือ หรือในอดีตวัดมี ชื่อว่า “สำนักสงฆ์หน้าชิง” ตามชื่อหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 25  มีนาคม  พ.ศ. 2518  
และได้เปลี่ยนเป็น “วัดถ้ำเสือ” เมื่อวันที่ 2  สิงหาคม  พ.ศ. 2533 มาบุกเบิกเปิดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานจนถึงปัจจุบัน  ที่ได้ชื่อว่า วัดถ้ำเสือนั้น จากการสอบถามชาวบ้านได้ความว่า ในอดีตเคยมีเสือโคร่งจำนวนมากอาศัยอยู่บริเวณของถ้ำที่ตั้งอยู่หน้าเขาแก้ว ภายในถ้ำยังปรากฏหินธรรมชาติเป็นรูปแบบอุ้งเท้าเสืออีกด้วย


วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งชาวต่างประเทศ ทั้งความโดดเด่นของวัดและชื่อเสียงของ "หลวงพ่อจำเนียร" ประธานสงฆ์วัดถ้ำเสือที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามาช้านาน สภาพโดยทั่วไปของ วัดถ้ำเสือมีลักษณะ เป็นสวนป่า เป็นโพรงถ้ำ มีเพิงผาและแหล่งถ้ำธรรมชาติ เช่น ถ้ำคนธรรพ์ ถ้ำลอด ถ้ำช้างแก้ว ถ้ำลูกธนู ถ้ำงู ถ้ำเต่า ถ้ำมือเสือ สิ่งสำคัญใน"วัดถ้ำเสือ"นั้นที่ดูเหมือนจะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์มากที่สุดและ เป็นที่นิยมชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
การเดินทาง
จากตัวเมืองกระบี่ เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกตลาดเก่า ใช้เส้นทางถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) เส้นทางอำเภอเหนือคลอง
เลี้ยวซ้ายที่สามแยกถ้ำเสือไปตามถนนราษฎรพัฒนา (ทางหลวงหมายเลข 4037) ไปประมาณ 2 กิโลเมตร


เนื่องจากมีเขาล้อมรอบ ภายในบริเวณวัดจึงมีบรรยากาศร่มรื่น เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ อายุนับร้อยนับพันปี

มาถึงแล้วมาไหว้พระกันก่อนค่ะ ที่ศาลาหลวงปู่ทวด




วัดถ้ำเสือมีลักษณะ เป็นสวนป่า เป็นโพรงถ้ำ มีเพิงผาและแหล่งถ้ำธรรมชาติ เช่น ถ้ำคนธรรพ์ ถ้ำลอด ถ้ำช้างแก้ว ถ้ำลูกธนู ถ้ำพระ เป็นต้น
ถ้ำบางแห่งที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณวัดยังสามารถใช้เป็นศูนย์กลางการนั่งฌานของพระภิกษุและเหล่าอุบาสก อุบาสิกาได้อีกด้วย

เราขึ้นมาไหว้พระด้านบนนี้กันค่ะ





ด้านในมี "เจ้าแม่กวนอิม" ซึ่งมีความสูงใหญ่กว่า 5 เมตร ตั้งประดิษฐานอยู่ เดี๋ยวเราจะเข้าไปไหว้ขอพรกัน ตามมาเลยค่ะมาอิ่มบุญไปด้วยกัน

พี่ ที่พามาจัดแจงเตรียมธูปเทียนให้เรา เค้าบอกว่าใช้ธูปเทียนสีตามวันที่เราเกิดมาไหว้ ทางวัดเค้ามีเตรียมไว้ให้ แต่ไม่ได้ถามหรอกค่ะว่าทำไม หรือใช้ตามความเชื่อเรื่องอะไร







เวลาปักในกระถางธูปแล้วดูสีสวยดี



ได้ยินมาว่าที่วัดถ้ำเสือนี้มีความท้าทาย อยู่อย่างหนึ่งคือ การเดินขึ้นเขาพิชิตบันได 1,237 ขั้น เพื่อขึ้นไปสักการะ "พระธาตุเจดีย์ระฆังใหญ่" และรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาและที่ด้านบนนั้นมีจุดชมวิวที่สวยงามมากๆ ซึ่งจากข้างบนนี้จะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองกระบี่ได้รอบทิศทีเดียวค่ะ

พี่ที่พามาบอกว่า “ใช้เวลาซัก 2 ช.ม. ขึ้นและลงมา  ถ้าเราขึ้นไปผมขอรออยู่ข้างล่างแล้วกัน” เราเลยเก็บไว้โอกาสหน้าคงได้มาอีก  8)

บันไดขั้นแรกนับจากตรงนี้แหละค่ะ (ภาพขวามือ)