สิ่งที่เชิดหน้าชูตาเกาะยอมากอีกอย่างก็คือ สถาบันทักษิณคดีศึกษา ซึ่งได้รวบรวมและจัดแสดงศิลปวัตถุและโบราณวัตถุ รวมทั้งวิถีชีวิตของชาวใต้ไว้เป็นหมวดหมู่ ทั้งหมดอยู่ภายใน พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณฯ ยังมีหอชมวิวไว้ให้ชมทิวทัศน์สวยๆ ของเกาะยอและทะเลสาบสงขลา แล้วยังมีที่พักไว้บริการอีกด้วย
บนยอดเขาเกาะยอ ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติ และทัศนียภาพอันงดงามของสองทะเล ด้วยทำเลที่ตั้งบนยอดเขา และไหล่เขา จึงทำให้การออกแบบพื้นที่ใช้สอยลดหลั่นเป็นเชิงได้ อย่างสวยงาม ผนวกกับความพิถีพิถันในการออกแบบ และตกแต่งอาคารต่างๆ ตามสถาปัตยกรรมภาคใต้
ก้าวเข้าสู่ขอบเขตพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา บ้านทรงไทยหลังคาจั่วสถานที่ ซึ่งย้อนความเป็นประเพณีเรื่องราวในอดีต พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยาของสถาบันทักษิณคดีศึกษา แสดงให้เห็นวิถีองค์รวม ในความเป็นภาคใต้ โดยใช้วัสดุและสื่อทุกชนิดอันเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน ที่ตกทอดมาหลายชั่วอายุคน และตกมาเป็นมรดกที่เทียบค่ามิได้ของแผ่นดิน ณ ที่นี้เรื่องราว ประเพณี ความเชื่อ และของสะสมต่าง ๆในสมัยเก่าก่อน ถูกถ่ายทอดผ่านสิ่งของ ทั้งยังมีตัวละครดินหรือรูปปั้น ซึ่งมีขนาดเล็กกระทัดรัด แต่ให้ความรู้สึกถึงเรื่องราวประเพณีสมัยนั้นๆที่บรรจุในตัวของสิ่งเหล่า นั้นได้อย่างลึก ซึ้งสร้างความน่าสนใจในทุกช่วงชีวิต
เส้นทางเดินผ่านแผ่นไม้บนเรือนทรงไทย นำพาไปสู่ห้องต่างๆซึ่งเก็บข้อมูลเรื่องราวต่างๆไว้อย่างดี ห้องจัดแสดงทั้งกว่าสิบห้องล้วนชวนมองทั้งสิ้น แต่ละห้องมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ทั้งห้องแสดงหุ่น ห้องประเพณี ห้องเก็บเหรียญเก่าแก่ที่หาดูไม่ได้แล้วในปัจจุบัน
ทั้งยังมีห้องที่แสดงเจ้ากระต่ายขูดมะพร้าวต่างๆนาๆของการออกแบบ ห้องวัฒนธรรมเครื่องแก้ว ห้องมีดและศาสตราวุธห้องเครื่องปั้นดินเผา และอื่นๆอีกมากมาย
ตั้งอยู่ที่บ้านอ่าวทราย หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะยอ ใกล้กับสะพานติณสูลานนท์ ช่วงที่ 2 อยู่ริมทางหลวง หมายเลข 4146 มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ 1 งาน 39.9 ตารางวา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521
สถาบันทักษิณคดีศึกษา
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521
เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบภาคใต้ แบ่ง
ออกเป็น 4 อาคาร โดยแต่ละอาคารจะแบ่งออกเป็นห้อง ๆ แสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ โบราณวัตถุที่เกิดจากภูมิปัญญา ของคนในท้องถิ่น เครื่องประดับศาตราวุธที่ใช้กันในภาคใต้ เช่น กริช มีดชายธง มีดหางไก่ แสดงผ้าทอพื้นเมือง เช่น
ผ้าทอพุมเรียง ผ้าทอปัตตานี ห้องแสดงกระต่ายขูดมะพร้าวรูปทรงต่าง ๆ ที่มีรูปแบบหาชมได้ยากห้องแสดงการละเล่นพื้นเมือง
เช่น หนังตะลุง โนรา ลิเกป่า ห้องแสดงวิถีชีวิตชาวใต้ เช่น การแสดงการละเล่นและของเล่นเด็กเช่น การเล่นซัดราว การเล่นว่าว
ลูกข่าง ห้องแสดงประเพณีการบวช ห้องแสดงการรักษาพยาบาลแบบโบราณ
สถาบันมีห้องพักไว้บริการนักท่องเที่ยว ห้องสัมมนา และร้านขายสินค้าพื้นเมือง เช่น หัตถกรรมกระจูด หัตถกรรมปาหนัน
หัตถกรรมย่านลิเพา ผ้าทอเกาะยอ ผลิตภัณฑ์จากเปลือกหอย ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว เครื่องเงิน เป็นต้น
สถาบันได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประเภทแหล่งท่องเที่ยวดีเด่นทางวัฒนธรรม
และโบราณสถาน ปี 2543 จากจุดชมวิวของสถาบันสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของทะเลสาบสงขลาเปิดให้ผู้สนใจ
เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 8.30-17.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท สอบถาม
รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 7433 1184-9
ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมาของสถาบันทักษิณคดีศึกษา เริ่มต้นตั้งแต่วิทยาลัยวิชาการศึกษา ได้เปิดวิทยาเขต ประจำภาคใต้ขึ้นที่จังหวัดสงขลา
เมื่อ พ.ศ. 2511 เนื่องจากนิสิต ที่เรียนวิชาโทภาษาไทย ต้องเรียน รายวิชาคติชนวิทยา นิสิตรุ่นแรกได้ออกปฏิบัติภาคสนามระหว่างวันที่ 16 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ณ อำเภอสทิงพระและอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ผลจากการเก็บข้อมูลครั้งนั้นทำให้ได้ ้ข้อมูลวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นวัตถุของจริง สมุดข่อย และข้อมูลที่เป็นมุขปาฐะ ข้อมูลเหล่านั้นนับเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่ายิ่ง นอกจากเป็นแรงบันดาลใจให้มีการจัดเก็บอย่าง เป็นระบบและมีเป้าหมาย จนเกิดเป็น “ห้องวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้” แล้ว ยังก่อให้เกิดเป็น โครงการ “ศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรม ภาคใต้” ขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2518 และในปลายปีเดียวกันนี้ได้รับงบประมาณแผ่นดินเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนไทยคดีศึกษา และศูนย์ ส่งเสริม ภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้ 1 หลัง เป็นเงิน 4,589,200 บาท โดยสร้างขึ้นในบริเวณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ได้เสด็จฯ เปิดอาคารนี้เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2522 ต่อมาทบวงมหาวิทยาลัย ได้ให้ ความเห็นชอบยกฐานะศูนย์ส่งเสริมฯ ขึ้นเป็น “สถาบันทักษิณคดีศึกษา” ในคราวประชุมกรรมการ ทบวงฯ ครั้งที่ 5/2523 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2523
ต่อมาได้มีการเตรียมขยายงานของสถาบันทักษิณคดีศึกษา โดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้นำเข้าบรรจุไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529) และ การขยายงานได้กำหนดให้ดำเนินการในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา แต่ในระหว่างที่โครงการเข้าสู่การพิจารณา สะพานติณสูลานนท์ ซึ่งเป็นสะพานเชื่อม ระหว่าง เกาะยอกับแผ่นดินใหญ่ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2529 สถาบันทักษิณคดีศึกษา ซึ่งขณะนั้น ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันฯ ได้พิจารณาเห็นว่า ทรัพยากรทางด้านวัฒนธรรมของภาคใต้ มีนัยสำคัญยิ่งต่อการที่จะนำมาใช้ ประโยชน์ใน การพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการปกครอง แต่จะต้อง ขยายงานด้าน พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยาและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวโยงกันให้ครบวงจรและมีศักยภาพสูงพอ ซึ่งขณะนั้น สถาบันฯ ได้เตรียมาการไว้มากพอที่จะเป็นฐานไปสู่ศักยภาพอันสมบูรณ์ได้ แต่จะต้อง ย้ายสถานที่ ตั้งสถาบันฯ ไปยังที่แห่งใหม่ที่สามารถดำเนินการธุรกิจทางวัฒนธรรมได้สมบูรณ์ โดยเฉพาะการ มีพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยาซึ่งจะต้องใช้พื้นที่ในการดำเนินการมาก จากการศึกษา จัดหาสถานที่ ได้พบว่าบริเวณเกาะยอเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุด คือบริเวณบ้านอ่าวทราย หมู่ที่ 1 โดยในระยะ แรกสามารถจัดหาที่ดินสำหรับก่อสร้างได้ประมาณ 22ไร่
สำนักงบประมาณได้อนุมัติงบประมาณแผ่นดินให้ก่อสร้างสถาบันทักษิณคดีศึกษาแห่งใหม่ ที่บ้านอ่าวทราย หมู่ที่1 ตำบลเกาะยอ โดยจัดสรรงบประมาณให้ จำนวน 21,374,097 บาท โดยผูกพันเป็นระยะเวลา 3 ปี (งบประมาณปี 2530 – 2532) การก่อสร้างได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2530 โดย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานประกอบพิธี เมื่อการก่อสร้าง แล้วเสร็จสถาบันฯ ได้ ย้ายที่ทำการจาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ มาอยู่ที่เกาะยอในปี พ.ศ. 2533 และได้ทำพิธีอย่างเป็น ทางการเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2534 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ ได้ทรงพระกรุณาเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธี
ขอบคุณภาพสวยๆจาก http://gidigi.diaryclub.com/
การเดินทาง
อยู่ห่างจากตัวเมืองสงขลาประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายลพบุรีราเมศวร์ และเลี้ยวซ้ายที่สี่แยกบ้านน้ำกระจาย ไปตามทางหลวงสาย 4146 ทางไปเกาะยอ ใกล้สะพานติณสูลานนท์ ช่วง 2 หรือนั่งรถโดยสารประจำทางจากหอนาฬิกาในตัวเมือง ลงที่สี่แยกบ้านน้ำกระจาย และต่อรถมอเตอร์ไซค์
0 comments:
Post a Comment