Thursday, September 13, 2012

เกาะยอ สงขลา

เกาะยอ

คิดถึงเกาะยอ...สวรรค์กลางทะเล

         ได้นอนฟังเสียงคลื่นเบา ๆ นับดาวเกลื่อนฟ้า แล้วตื่นเช้าเฝ้าดูพระอาทิตย์ เรียนรู้ชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน ความสุขแบบนี้เกิดขึ้นบนเกาะเล็ก ๆ กลางทะเลสงขลา...
         ไปจังหวัดสงขลาก็หลายครั้ง แต่ยังไม่มีโอกาสได้พักค้างแรมบน "เกาะยอ" กลางทะเลสาบสงขลาเลยสักที กระทั่งกลางปีที่ผ่านมานับเป็นโชคดีอย่างมากหลักประสานงานกับเจ้าหน้าที่การ ท่องเที่ยวฯ สำนักงานเขตภาคใต้ทำให้เราได้พบกับ ลุงเดชา มีสุวรรณ และคุณป้าผู้เป็นภรรยาแห่งเกาะยอโฮมสเตย์ ซึ่งที่นั่นทำให้เราได้ซึมซับธรรมชาติและสัมผัสประสบการณ์ชีวิตชาวเลเยี่ยงท่านทั้งสอง

เกาะยอ

เกาะยอ
 ข้ามสะพานติณฯ สู่ถิ่นปลากะพงขาว
         แม้วันนี้ สะพานติณสูลานนท์ ได้เสียแชมป์การเป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไปแล้ว แต่วิวสวย ๆ ของสะพานที่ทอดยาวขนานเหนือผืนทะเลสีครามนั้น เป็นภาพตรึงตาประทับใจไม่เคยเปลี่ยนยิ่งยามเย็นแล้วละก็ คุณเอ๋ย...ใครที่มีกล้องต้องจอดแวะถ่ายรูปกันแน่น ๆ

          โดยสะพานนี้เชื่อมต่อเกาะยอกับฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลาและบ้านเขาเขียว อำเภอสิงหนคร ตรงเชิงสะพานฝั่งเกาะยอมีพระนอนองค์ใหญ่ของวัดแหลมพ้อที่มองเห็นได้แต่ไกล และ เมื่อลงสะพานจะเข้าสู่ย่านตลาดเกาะยอ เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวแวะจอดรถซื้อของฝากอย่างกะปิ อาหารทะเลแห้ง ผ้าทอเกาะยอ ผลไม้จากสวนบนเกาะ และอร่อยกับอาหารทะเลสด โดยเฉพาะ ปลา กะพงขาว เนื่องจากที่นี่เป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงในกระชังกลางทะเลสองน้ำนั่นคือ น้ำกร่อยในทะเลสาบสงขลา และน้ำเค็มจากทะเลอ่าวไทย ด้วยเหตุนี้เองจึงได้เนื้อปลาที่สดและรสชาติดีกว่าปลากะพงในถิ่นอื่น

เกาะยอ

เกาะยอ
 กลางคืนนับดาว ตื่นเช้าเก็บกุ้ง

         เกาะยอโฮมสเตย์ ของลุงเดชาจะมีป้ายบอกทางเป็นระยะ ไม่ต้องกลัวหลง แต่ถ้าหลงก็ถามทางจากคนเกาะยอใจดีได้ตลอด ขับรถเลี้ยวไปมาไม่นานก็ได้นั่งพักคุยกับลุงเดชา ซึ่งเป็นต้นแบบการทำโฮมสเตย์แห่งแรกบนเกาะยอ และรับรู้ถึงเจตนารมณ์อันดี ที่ท่านอยากให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสเรียนรู้วิถีชาวประมงพื้นบ้านซึ่ง ผสมผสานกับการเป็นชาวสวนแบบชาวเกาะยอ

         ลุงเดชาสร้างโฮมสเตย์หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ขนำ" กลางทะเลด้วยตัวเอง และจัดกิจกรรมดี ๆ ไว้รองรับนักท่องเที่ยวด้วย เช่น พาไปชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร หากไปถึงช่วงบ่ายแก่ ๆ ก็จะพายเรือออกไปดักไซกุ้งกลางทะเล ตอนเช้าจึงพาไปกู้ไซที่ดักไว้ ระหว่างทางก็จะเล่าให้เราฟังถึงวิถีทำประมงของคนที่นี่ ส่วนกุ้งหัวแข็งที่ดักได้ขายกิโลละ 40 กว่าบาท วันหนึ่งได้ไม่มากเท่าไหร่แต่ครอบครัวลุงเดชาก็อยู่ได้อย่างมีความสุข

เกาะยอ

         จากนั้น นั่งเรือไปชมป่าโกงกาง ดูการเลี้ยงปลาในกระชัง หรือจะตกปลาเล่นบนขนำ แล้วโชว์ฝีมือทำกับข้าวกินกันก็มีอุปกรณ์ทำควรให้เสร็จสรรพถึงกลางคืนก็หา หมอนคนละใบมานอนชมทะเลดาว ว้าว!...สุดจะบรรยาย ที่แน่ ๆ ผล็อยหลับไปไม่รู้ตัว แต่ก็ตื่นทันรอดูพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบเขานี่ล่ะวันพักผ่อนที่สุดยอดจริง ๆ
 ขับรถชมวิวรอบเกาะ 

เกาะยอ

เกาะยอ

         ถ้าระหว่างวันไม่อยากนอนเล่นบนขนำ จะขับรถชมวิวรอบเกาะก็มีสถานที่สำคัญ ๆ ที่น่าไป เช่น ที่ วัดเขากุฎ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูงสุดบนเกาะ มีโบราณสถานที่สำคัญอย่าง เจดีย์สมเด็จเจ้าเกาะยอ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเกาะยอ ส่วนที่วัดเก่าแก่อย่าง วัดท้ายยอ มีกุฎิเรือนไทยปั้นหยาอายุกว่า 200 ปี มีลักษณะเฉพาะที่ใช้กระเบื้องดินเผาเกาะยอและที่เสาเรือนไม่ฝังลงดินแต่ตั้ง อยู่บนตีนเสา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของบ้านชาวไทยภาคใต้

เกาะยอ

เกาะยอ

         และถ้าอยากชมวิวเกาะยอแบบเต็มตาต้อง ไปที่พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยาสถาบันทักษิณคดีศึกษา นอกจากจะได้ชมเรื่องราวชีวิตของชาวใต้ที่จัดแสดงเป็นห้องต่าง ๆ ถึง 30 ห้องยังมีหอชมวิวที่เราจะได้เห็นสะพานติณฯ ในจุดที่ว่ากันว่าสวยที่สุด เป็นสะพานที่เชื่อมโยงชาวเกาะยอกับฝั่งแผ่นดินให้ใกล้ชิดกัน ...หรือที่จริงแล้วความสงบดุจสวรรค์ของเกาะยอและวิถีชีวิตอันเรียบง่าย แต่เปี่ยมสุขของชาวประมงพื้นบ้านไม่ได้อยู่ไกลเกินที่เราจะมาสัมผัสเรียนรู้ ด้วยตัวเองเลย


         นอกจากข้าวยำและขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้แล้ว คุณคงบอกใคร ๆ ได้ไม่เต็มปากว่าเคยมาเกาะยอ หากไม่ได้ลิ้มรสเมนูเด็ดของที่นี่คือ แกงส้มปลากะพง และยำสายหรือยำสาหร่ายผมนาง โดยเฉพาะเมนูหลังนี้มีเฉพาะที่นี่เท่านั้น จุดขายอยู่ที่ตลาดเกาะยอ และอย่าแปลกใจที่เส้นสาหร่ายคล้ายเส้นหมี่ นั่นเพราะได้ผ่านกรรมวิธีปรุงมาแล้ว ทานคู่กับใบชะพลูและพริกขี้หนูสด อร่อยและได้ประโยชน์ด้วยค่ะ...


         • การติดต่อที่พัก : เกาะยอโฮมสเตย์ โทร. 08-7633-5476, 074-450-390 ส่วนโฮมสเตย์ที่อื่น ๆ สอบรายละเอียดได้ที่ ททท. สำนักงานหาดใหญ่ โทร. 074-243-747, 074-238-8515

เกาะยอ

ประวัติความเป็นมา :
เกาะยอเป็นเกาะที่ตั้งอยู่กลางทะเลสาบสงขลาตอนล่าง มีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสงขลาไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้โดยทางบกประมาณ 20 กิโลเมตร และโดยทางน้ำหรือทางทะเล
ประมาณ 6 กิโลเมตร ที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์ เกาะยอตั้งอยู่บริเวณเส้นรุ้งที่ 6 องศา 17 ลิปดา ถึง 7 องศา 56 ลิปดาเหนือ
และเส้นแวงที่ 100 องศา 1 ลิปดา ถึงเส้นแวงที่ 101 องศา 6 ลิปดา ตะวันออก

ข้อมูลทั่วไป
เกาะยอ เป็นเกาะเพียงเกาะเดียวในทะเลสาบสงขลาตอนล่าง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองสงขลา
มีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
มีพื้นที่ 15 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 4,000 คน แบ่งเป็น 9 หมู่บ้าน มีองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ
เป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ในการพัฒนาตำบลในด้านต่าง ๆ การเดินทางมายังเกาะยอมีสะพานติณสูลานนท์ 2 ช่วง
เชื่อมเกาะยอกับฝั่ง อ. เมืองสงขลา และ อ.สิงหนครภายในเกาะยอมีถนนราดยางรอบเกาะยอ พื้นที่ส่วนใหญ่ในเกาะยอเป็นภูเขาไม่สูงนัก มีที่ราบเชิงเขาติดทะเล และมีที่ราบกว้างทางตอนใต้ของเกาะยอ

เกาะยอมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,275 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไหล่เขาและที่ราบตามเชิงเขา เหมาะแก่การเกษตรกรรม บนเกาะยอ
มีการทำสวนผลไม้แบบสุมรุม หมายถึงผลไม้จะผลัดกันให้ผลผลิตตลอดปี เช่น ส้มโอ มะพร้าว ขนุน ผลไม้ที่มีชื่อของเกาะยอคือ จำปาดะ ลักษณะคล้ายขนุนแต่ลูกเล็กกว่า สามารถนำไปทอดเหมือนกล้วยแขก หรือจะกินสดก็ได้ และผ้าทอเกาะยอ เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้นิยมสวมใส่ผ้าไทย มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายราชวัตถ์ ดอกพิกุล ดอกพะยอม
เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย นอกจากนั้นเกาะยอยังเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในทะเลสาบสงขลาอีกด้วย

ชาวเกาะยอส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำสวนผลไม้ อาชีพประมงและอาชีพทอผ้าพื้นเมือง

เกาะยอมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งชุมชนเกาะยอยังมีประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่สืบทอดกันมานาน เช่น ประเพณีแห่หมรับเรือนสิบและประเพณีขึ้นเขากุฏซึ่งถือเป็นทุนทางสังที่ทำให้ชุมชนเกาะยอเป็นชุมชนที่เข้มแข็งน่าอยู่

แนวทางในการพัฒนาตำบลของชาวเกาะยอดำเนินไปตามวิสัยทัศน์ในการพัฒนาตำบลที่ชาวเกาะยอช่วยกันกำหนดในปี 1540 ซึ่งคลี่คลายกลายเป็นกิจกรรมการดำเนินการพัฒนาตำบลในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่ เช่น ประเพณีลอยแพโดยสภาพวัฒนธรรมตำบลเกาะยอ การสืบสารหัตถกรรมผ้าทอเกาะยอ โดยกลุ่มราชวัตถ์ฯ การสร้างสวนสมุนไพรและการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยวัดท้ายยอ และที่สำคัญคือการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อชุมชนเกาะยอได้ทดลองในเส้นทางสายวัฒนธรรม
และพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวเกษตรเกาะยอในปัจจุบัน ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ถือเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบลให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนตลอด



ขอบคุณภาพสวยๆจาก http://www.oknation.net/blog/bizthee/2007/07/07/entry-1
       
การเดินทาง

    จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 407 และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง 4083 ทางไปอำเภอสิงหนคร

0 comments:

Post a Comment