ประวัติจังหวัดสงขลา
" สงขลา.. "
ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยมาแต่สมัยโบราณ
มีชุมชนโบราณและเมืองเก่าแก่ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณี
และการละเล่นพื้นเมือง ศิลปพื้นบ้านเป็นมรดกทางวัฒนธรรม
สงขลาเพิ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในบันทึกของพ่อ
ค้าและนักเดินเรือชาวอาหรับ-เปอร์เซีย ระหว่าง ปี พ.ศ.1993-2093
ในนามของเมืองซิงกูร์ หรือซิงกอร่า
แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม
ของนายกิโลลาส แซร์แวส เรียกชื่อเมืองสงขลา ว่า "เมืองสิงขร"
จึงมีการสันนิษฐานว่า คำว่า สงขลา เพี้ยนมาจากชื่อ "สิงหลา" (อ่าน
สิง-หะ-ลา) หรือสิงขร เหตุผลที่สงขลามีชื่อว่า สิงหลา แปลว่าเมืองสิงห์
โดยได้ชื่อนี้มาจากพ่อค้าชาวเปอร์เซีย อินเดีย แล่นเรือมาค้าขาย
ได้เห็นเกาะหนู เกาะแมว เมื่อมองแต่ไกล
จะเห็นเป็นรูปสิงห์สองตัวหมอบเฝ้าปากทางเข้าเมืองสงขลา
ชาวอินเดียจึงเรียกเมืองนี้ว่า สิงหลา ส่วนไทยเรียกว่า เมืองสทิง
เมื่อมลายูเข้ามาติดต่อค้าขายกับเมืองสทิง ก็เรียกว่า เมืองสิงหลา
แต่ออกเสียงเพี้ยนเป็นสำเนียงฝรั่งคือ เป็นซิงกอร่า (Singora)
ไทยเรียกตามเสียงมลายูและฝรั่งเสียงเพี้ยนเป็นสงขลา อีกเหตุผลหนึ่งอ้างว่า
สงขลาเพี้ยนมาจาก "สิงขร" แปลว่า ภูเขา
โดยอ้างว่าเมืองสงขลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาแดง
ต่อมาได้มีการพระราชทานนามเจ้าเมืองสงขลาว่า "วิเชียรคีรี"
ซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยไว้ว่า "สงขลา" เดิมชื่อสิงหนคร (อ่านว่า
สิง-หะ-นะ-คะ-ระ) เสียงสระอะอยู่ท้าย มลายูไม่ชอบ จึงเปลี่ยนเป็นอา
และชาวมลายูพูดลิ้นรัวเร็ว ตัดหะ และ นะ ออก คงเหลือ สิง-คะ-รา
แต่ออกเสียงเป็น ซิงคะรา หรือ สิงโครา จนมีการเรียกเป็น ซิงกอรา
สงขลา เป็นเมืองประวัติศาสตร์
มีเรื่องราวสืบต่อกันตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการค้นพบหลักฐาน
ได้แก่ ขวานหิน ซึ่งเป็นเครื่องมือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่อำเภอสทิงพระ
ประวัติ ความเป็นมา และวัฒนธรรมสมัยที่เมืองสทิงพระเจริญ เค บูรล์เบท
ได้ให้ทัศนะว่า สทิงพระ คือศูนย์กลางของอาณาจักรเซี้ยะโท้หรือเซ็กโท
เป็นแหล่งหนึ่งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียโดยตรงในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า
7 ศตวรรษ เพราะมีร่อยรอยทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม
ที่แสดงให้เห็นว่าเมืองสทิงพระเป็นศูนย์กลางการปกครองดินแดน รอบ ๆ
ทะเลสาบสงขลาในสมัยนั้น
ในพุทธศตวรรษที่ 19
ชื่อเมืองสทิงพระเริ่มเลือนหายไป และเกิดชุมชนแห่งใหม่ใกล้เคียงขึ้นแทน
เรียกว่า "เมืองพัทลุงที่พะโคะ"
ได้เจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์
ต่อมาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 พวกโจรสลัดมลายูได้เข้าคุกคามบ่อย ๆ
ทำให้เมืองพัทลุงที่พะโค๊ะค่อย ๆ เสื่อม หลังจากนั้นเกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น 2
แห่ง บริเวณรอบทะเลสาบสงขลา คือ บริเวณเขาแดงปากทะเลสาบสงขลา
และได้กลายเป็นเมืองสงขลาริมเขาแดง และอีกแห่งที่บางแก้ว อำเภอเขาชัยสน
จังหวัดพัทลุง และกลายเป็นเมืองพัทลุง
ระหว่างปี พ.ศ.2162-2223
เมืองสงขลาริมเขาแดงมีความเจริญด้านการค้าขายกับต่างประเทศ
โดยมีเจ้าเมืองเชื้อสายมลายูอพยพมาจากอินโดนีเซีย
พวกมลายูเหล่านี้ได้หลบหนีการค้าแบบผูกขาด
ของพวกดัทช์มาเป็นการค้าแบบเสรีที่สงขลา
โดยมีอังกฤษ์เป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ในระยะแรกระหว่าง ปี
พงศ.2162-2185 เจ้าเมืองสงขลาเป็นมุสลิม หลังจากนั้นในช่วงปี
พ.ศ.2185-2223 เจ้าเมืองสงขลาเป็นกบฎไม่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา
ในที่สุดจึงถูกสมด็จพระนารายณ์มหาราชปราบปรามจนราบคาบ
และถูกปล่อยให้ทรุดโทรม และตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองพัทลุง จนถึงช่วงปี
พ.ศ.2242-2319 เมืองสงขลาไปตั้งขึ้นใหม่ที่บริเวณบ้านแหลมสน เรียกว่า
เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ตั้งอยู่ตรงข้ามกับที่ตั้งตัวเมืองสงขลาปัจจุบัน
เมืองสงขลาได้พัฒนาเป็นหัวเมืองขนาดใหญ่
ในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อ พ.ศ.2310
ประเทศสยามเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ได้เกิดก๊กต่าง ๆ ขึ้น เจ้าพระยานคร
ซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ ได้ตั้ง นายวิเถีย ญาติมาเป็นเจ้าเมือง
เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบก๊กเจ้านครได้แต่งตั้งให้ จีนเหยี่ยง แซ่เฮ่า
ซึ่งเป็นนายอากรรังนก เป็นเจ้าเมืองในปี 2318 ได้รับพระราชทินนามเป็น
"หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ" (ต้นตระกูล ณ สงขลา)
เชื้อสายของตระกูลนี้ได้ปกครองเมืองสงขลาติดต่อกันมาไม่ขาดสายถึง 8 คน
(พ.ศ.2318-2444)
จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2379
สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
(สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) โปรดเกล้าให้พระยาวิเชียรคีรี
(เถี้ยนเส้ง) ก่อสร้างป้อมกำแพงเมือง ระหว่างที่ก่อสร้าง ตวนกู
อาหมัดสะอัด ชักชวนหัวเมืองไทรบุรี ปัตตานี และหัวเมืองทั้ง 7
ยกมาตีสงขลา เมื่อปราบปรามขบถเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างป้อม
และกำแพงเมืองสงขลาจนเสร็จ
และได้จัดให้มีการฝังหลักเมืองและได้ย้ายเมืองสงขลามายังฝั่งตะวันออกของ
แหลมสน "ตำบลบ่อยาง" คือ ในเขตเทศบาลนครสงขลา ปัจจุบัน
ครั้นถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุล
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครอง
ได้ทรงจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และได้ส่งพระวิจิตรวรสาสน์ (ปั้น สุขุม)
ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ในปี พ.ศ.2438 เป็นแห่งแรก
และในปี พ.ศ.2439 จึงได้จัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2439-2458)
และเป็นที่ตั้งศาลาว่าการภาคใต้ (พ.ศ.2458-2468)
นอกจากนี้เมืองสงขลาเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงลพบุรีรา
เมศวร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลและอุปราชภาคใต้
จนสิ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงปี พ.ศ.2475
ได้มีการยุบมณฑลและภาค เปลี่ยนเป็นจังหวัด
สงขลาจึงเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้จนถึงปัจจุบัน
|
0 comments:
Post a Comment