Thursday, September 13, 2012

เมืองสงขลา : เรื่องเล่าจากภาพมุมสูงถ่ายจากเฮลิคอปเตอร์

         ผู้เขียนได้รับ FW เมล์ จากเพื่อนร่วมงาน หลายต่อหลายฉบับ มีประโยชน์และคุณค่ามากมาย
หากเกรงใจ และละอายใจที่จะก๊อปมาเผยแพร่ในเวปบล๊อก ด้วยเชื่อว่า บรรดาสมาชิกใน
เวปบล๊อกโอเคเนชั่น คงได้อ่านเมล์ดีๆหลายฉบับเช่นกัน

      ทว่า ในเมล์ฉบับนี้ ไม่เผยแพร่ไม่ได้แล้ว เพราะถือว่าเป็นภาระหน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบต่อ
แผ่นดินที่เติบโตมา หวังจะให้ผู้คนได้รับรู้ถึงความงดงามของเมืองแห่งนี้    เมล์ฉบับนี้ ได้บอก
จุดประสงค์อย่างชัดเจนว่า

"เก็บไว้ดูสงขลาของเรา หาดูยากม๊าก....
  ภาพจากมุมสูงบนเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกองทัพเรือ สงขลาไปเก็บภาพวีดีโอ
และ ภาพนิ่ง เพื่อใช้ในงานเมือง "สงขลาแต่แรก"
ผู้เขียนจึงใคร่ขออนุญาตเผยแพร่ภาพ และอธิบายเรื่องราวเพื่อให้ภาพสมบูรณ์ขึ้น
โดยเรียงลำดับคล้ายอนุทินเล่าเหตุการณ์จากภาพที่ปรากฏ  

สงขลา เมืองสองทะเลมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์มายาวนาน ด้วยความเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปทั้งอาหาร  ความสะดวกในการติดต่อค้าขาย การเป็นเมืองท่า ฯลฯ

ชุมชนเมืองเก่าฝั่งหัวเขาแดง เป็นชุมชนเมืองสงขลาสมัยกรุงศรีอยุธยา  “ดาโต๊ะโมกอลล์”
เป็นผู้สร้างเมือง  ชาวบ้านแถบนี้โดยมากจึงนับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพประมง

ชุมชนเมืองเก่าฝั่งหัวเขาแดง  บริเวณแพขนานยนต์ข้ามฟาก เคยเป็นเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อ
ระหว่างเมืองสงขลาบ่อยางกับพื้นที่สะทิงพระ ระโนด นครศรีธรรมราช  ต่อมาเมื่อสร้างสะพานติณสู
ลานนท์ขึ้นทำให้การคมนาคมสะดวกกว่า ความสำคัญของแพขนานยนต์ข้ามฟากจึงถูกลดลงตามลำดับ

ชุมชนสงขลาหัวเขาแดง ปัจจุบันตั้งขึ้นเป็นอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

เจดีย์บนยอดหัวเขาแดง สร้างเมื่อคราวกองทัพจากบางกอกยกมาปราบกบฎแขกเจ็ดหัวเมือง
สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้( พ.ศ. 2379) ได้ย้ายเมืองสงขลาจากฝั่งแหลม
สนมาตั้งเมืองใหม่ยังฝั่งบ่อยาง คือเมืองสงขลาปัจจุบัน

ภาพผังเมืองสงขลา   จากwww.gimyong.com

นับจากฝั่งทะเลสาบสงขลา  คือ ถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม ตามลำดับ 
เป็นทัศนียภาพบริเวณถนนโบราณย่านบ้านเก่าเมืองสงขลาสร้างสมัยรัชกาลที่ 3เป็นอย่างน้อย
แต่เดิมบ้านเรือนแถบนี้ ชาวสงขลาจะเรียกว่าในแพง คือตั้งอยู่ในกำแพงเมือง
ต่อมา ตัวเมืองได้ขยายออกมาทางฝั่งตะวันออกสร้างถนนรามวิถีซึ่งเป็นถนนสายหลักของเมือง
สงขลาปัจจุบัน เรียกกันว่า นอกแพง ปัจจุบันกำแพงเมืองจะเหลือให้เห็นเพียงแถบเดียว
คือบริเวณถนนจะนะ ซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดงาน"สงขลาแต่แรก"
 (ภาพชุดวัด-เมือง จะนำชมภายหลังนะคะ)


รูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสาน ทั้งที่มีลักษณะแบบเรือนแถวแบบจีน ชิโนโปตุกีส และตึกอย่างฝรั่ง





หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

สภาพหลังคาบ้านใช้กระเบื้องดินเผาแบบจีน
 
เขาตังกวนตั้งอยู่กลางใจเมือง บนยอดเขามีศาสนสถานสำคัญสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระ
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือเจดีย์เขาตังกวน
(เขา ตังกวน น่าจะมาจากเสียงฮกเกี้ยน หรือ ตง กวง ของแต้จิ๋วแปลว่า เขาเฝ้าระวัง(ด่าน)ที่อยู่ตรง
กลาง : Bg chailasalle  กรุณาอธิบาย ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมาก เนื่องจากการตั้งเมืองสงขลาบ่อ
ยาง ตั้งโดยชาวจีนฮกเกี้ยน ต้นตระกูล ณ สงขลา) http://www.oknation.net/blog/chailasalle


เจดีย์เขาตังกวน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จราชดำเนินมายังเมือง
สงขลา และได้พระราชทานเงินบางส่วนเพื่อสร้างเจดีย์องค์นี้ประดิษฐานไว้เพื่อเป็นที่เคารพบูชาของ
ชาวเมือง

ประภาคารบนยอดเขาสำหรับชาวประมงในอดีต

เรือประมงท่าเทียบเรือทะเลสาบสงขลา

บางส่วนเป็นเรือขนถ่ายสินค้า ภาพหลังคาสีแดง คือภาพโรงสีเก่า หับ โห้ หิ้น หรือที่เรียกโรงสีแดง

ท่าเรือริมทะเลสาบสงขลา มองเห็นภาพเมืองเก่าสงขลาบ่อยางและเมืองสงขลาที่ขยายตัวออกไป
จรดชายฝั่งอ่าวไทย

เมืองสงขลาบ่อยางขยายตัวตามแนวถนน

ย่านการค้าที่สำคัญของสงขลา  ที่เรียกว่าย่านวชิรา   แต่เดิมเรียกย่านนี้ว่า โคกเสม็ด เมื่อสร้างถนน
ทะเลหลวง ตัวเมืองจึงขยายออก นอกแพง  วัดที่เห็นในระยะใกล้คือวัดเพชรมงคล 
สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คือวัด
เมืองสงขลาที่ขยายตัวเต็มพื้นที่  ความเป็นเมืองค่อยๆคืบคลานสู่พื้นที่เกษตรกรรมในชนบทของ
สงขลา เช่น ฝั่งหัวเขาแดง สิงหนคร หรือ ย่านเก้าเส้ง ถึงเกาะแต้ว เป็นต้น

ชุมชนเก้าเส้ง ชุมชนชาวประมงในเมืองสงขลา  ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม เดิมคนกลุ่มนี้ตั้ง
บ้านเรือนอยู่บริเวณแหลมสนอ่อนฝั่งเมืองสงขลาบ่อยาง ฟากตรงข้ามชุมชนมุสลิมหัวเขาแดง ต่อมา
เมื่อทางเทศบาลสงขลาต้องการพัฒนาบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งท่องเที่ยวจึงได้อพยพคนกลุ่มนี้
มาตั้งบ้านอยู่บริเวณเขาเก้าเส้ง ประมาณ 50ปี เป็นอย่างน้อย  (สัมภาษณ์ผู้รู้ท้องถิ่น: เคียงดิน)




ชุมชนเก้าเส้ง หาดชลาทัศน์ ยาวไปจนถึงบ้านเกาะแต้ว
ภูมิทัศน์กำลังเปลี่ยนแปลงปัญหาจากภาวะโลกร้อนได้ส่งผลกระทบต่อชายหาดเมืองสงขลา
คลื่นเซาะชายฝั่งทะเล ทางเทศบาลจึงนำกระสอบทราย เป็นแนวกั้นการพังทลายของชายหาด


ชายหาดชลาทัศน์ในระยะที่เห็นการพังทลายของชายหาด สีดำๆที่เห็นคือหิน
ซึ่งนำมาเป็นแนวกั้นการเซาะตลิ่ง แนวต้นสนช่วยกำบังลมได้ในระดับหนึ่ง

ท่าเรือน้ำลึกสงขลา

เดินเล่นชายหาดสมิหลายามเย็น หากว่างเชิญแวะเที่ยวนะคะ ชาวสงขลายินดีต้อนรับค่ะ

0 comments:

Post a Comment