Thursday, September 13, 2012

เขาเก้าเส้ง

เก้าเส้ง
เขาเก้าเส้ง

      เขาเก้าเส้ง ห่างจากหาดสมิหลาประมาณ 3 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางไปสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งแห่งชาติ มีตำนานเล่าถึงเขาเก้าเส้ง หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นเมืองว่า “หัวนายแรง” ว่า “ครั้งนั้นทางเมืองนครศรีธรรมราชกำหนดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเจดีย์ และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต บรรดา 12 หัวเมืองปักษ์ใต้ต่างก็นำเงินทองไปบรรจุในพระบรมธาตุ เมืองที่นายแรงเป็นเจ้าเมืองก็เป็นเมืองขึ้นนครศรีธรรมราชด้วย ประกอบกับนายแรงมีความศรัทธาในพุทธศาสนา จึงขนเงินทองเป็นจำนวนมากถึงเก้าแสนบรรทุกเรือสำเภา พร้อมด้วยไพร่พลออกเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราช ขณะกำลังเดินทางเรือสำเภาถูกคลื่นลมชำรุด จึงเข้าจอดเรือที่ชายฝั่งหาดทรายแห่งหนึ่ง เพื่อซ่อมแซมเรือ พอได้ทราบข่าวว่าทางเมืองนครศรีธรรมราชได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว นายแรงเสียใจมาก จึงให้ไพร่พลขนเงินทองบรรจุไว้บนยอดเขาลูกหนึ่ง สั่งให้ลูกเรือตัดหัวของตนไปวางไว้ที่ยอดเขา นายแรงกลั้นใจตาย ลูกเรือต้องจำใจตัดหัวเจ้านายไปวางไว้บนยอดเขาตามคำสั่ง เขาลูกนี้ภายหลังเรียกว่า “เขาเก้าแสน” เรียกเพี้ยนไปเป็น “เก้าเส้ง”ก้อนหินที่ปิดทับบนยอดเขาเรียกว่า“หัวนายแรง” ชาวบ้านเชื่อว่าดวงวิญญานของนายแรงยังเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์มาจนทุกวันนี้”

ขอบคุณภาพสวยๆจาก http://www.danpranipparn.com/
และ http://www.travel-is.com/
ภูมิทัศน์ของเขาเก้าเส้ง เป็นเขาหินมีต้นไม้เล็กน้อยก็แตกต่างจากภูเขาริมทะเลอื่นๆ ของสงขลา มีพื้นที่ติดกับทะเลอ่าวไทย โดยมีก้อนหินใหญ่ที่ตั้งเด่นอยู่ที่ปลายสุดเป็นลักษณะสำคัญ ทิวทัศน์จากบริเวณหัวนายแรงนี้มองไปเห็นเกาะหนูเกาะแมวอยู่ลิบๆ


     ด้วยเก้าเส้งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ ”สำนักสงฆ์เก้าเส้ง” การไปเที่ยวหรือเยี่ยมชมก็น่าจะต้องประพฤติตัวให้เหมาะสม อย่าให้พระท่านต้องลำบากใจ

     การเดินทางไปเก้าเส้งนี้ง่ายมาก จากหาดใหญ่ไปสงขลา เมื่อผ่านสถาบันราชภัฏสงขลาและสามแยกสำโรงมาแล้ว (เป็นทางโค้งไปทางซ้าย) ก็ให้เลี้ยวขวาที่แยกไฟแดงถัดไป (แยกโรงพยาบาลประสาท) ซึ่งเป็นทางไปถนนชลาทัศน์หรือถนนเลียบชายทะเล (มีป้ายบอกทางบริเวณแยกไฟแดง) ตรงไปจะผ่านตลาดซึ่งอยู่ทางขวามือ

     ก่อนจะเป็นทางโค้งเลี้ยวไปทางซ้าย ตรงโค้งนี้แหละจะมีทางเข้าอยู่ทางด้านขวามือ เป็นซอยเล็กๆ เข้าไปในซอยนี้จนสุดทางที่สถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งแห่งชาติสงขลา ทางขึ้นไปเขาเก้าเส้งอยู่ทางด้านซ้ายมือ

ตำนานเขาเก้าเส้ง

     มีตำนานเล่าถึงเขาเก้าเส้ง หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นเมืองว่า “หัวนายแรง” ว่า “ครั้งนั้นทางเมืองนครศรีธรรมราชกำหนดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเจดีย์ และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต บรรดา 12 หัวเมืองปักษ์ใต้ต่างก็นำเงินทองไปบรรจุในพระบรมธาตุ

     เมืองที่นายแรงเป็นเจ้าเมืองก็เป็นเมืองขึ้นนครศรีธรรมราชด้วย ประกอบกับนายแรงมีความศรัทธาในพุทธศาสนา จึงขนเงินทองเป็นจำนวนมากถึงเก้าแสนบรรทุกเรือสำเภา พร้อมด้วยไพร่พลออกเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราช ขณะกำลังเดินทางเรือสำเภาถูกคลื่นลมชำรุด จึงเข้าจอดเรือที่ชายฝั่งหาดทรายแห่งหนึ่ง เพื่อซ่อมแซมเรือ

     พอได้ทราบข่าวว่าทางเมืองนครศรีธรรมราชได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว นายแรงเสียใจมาก จึงให้ไพร่พลขนเงินทองบรรจุไว้บนยอดเขาลูกหนึ่ง สั่งให้ลูกเรือตัดหัวของตนไปวางไว้ที่ยอดเขา นายแรงกลั้นใจตาย ลูกเรือต้องจำใจตัดหัวเจ้านายไปวางไว้บนยอดเขาตามคำสั่ง

     เขาลูกนี้ภายหลังเรียกว่า “เขาเก้าแสน” เรียกเพี้ยนไปเป็น “เก้าเส้ง”ก้อนหินที่ปิดทับบนยอดเขาเรียกว่า“หัวนายแรง” ชาวบ้านเชื่อว่าดวงวิญญานของนายแรงยังเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์มาจนทุกวันนี้
       
การเดินทาง
อยู่ทางทิศใต้ของหาดสมิหลาประมาณ 3 กิโลเมตร มีถนนแยกจากถนนไทรบุรี ตรงสามแยกสำโรง (โรงพยาบาลประสาท)   

0 comments:

Post a Comment